“สังศิต” เดินหน้าบูรณาการทุกภาคส่วน ขับเคลื่อน”ฝายแกนซอยซิเมนต์ แก้แล้งภาคเหนือ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อ วันที่ 16 ตุลาคม 2563 เวลา 13.30 -16.30 น. ณ.ห้องประชุมไกรลาศอุทิศ โรงเรียนชุมชนไกรลาศวิทยาคม อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมการธิการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภาพร้อมด้วยคณะ ได้เข้าร่วมประชุมหารือ การแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งต่อเนื่องอย่างยั่งยืน ลุ่มน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมี นายชลิต ธนวัฒน์ รอง.นายก.อบจ.อุตรดิตถ์ นายพยงค์ ยาเภา หน.สำนักงานจังหวัดอุตรดิตถ์ มณฑลทหารบกที่ 35 นายศุภชัย บุญทิพย์ นายอำเภอน้ำปาด นายจักรพรรณ สุวรรณภักดี นายอำเภอท่าปลา เรือตรีวิทยา เกล้าวิกรณ์ นายอำเภอบ้านโคกและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพร้อมด้วยผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการธิการ แก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำในครั้งนี้
แม่น้ำปาดเป็นลำน้ำสาขาหลักของลุ่มน้ำน่านมีความยาวกว่าร้อยกิโลเมตรไหลผ่าน 3 อำเภอคือ บ้านโคก ฟากท่า น้ำปาด ซึ่งในหลายปีที่ผ่านมาประสบปัญหาน้ำท่วมไหลหลากในฤดูฝนและภัยแล้งรุนแรงในฤดูแล้ง โดยสภาพภูมิประเทศ แม่น้ำปาดไหลผ่านเทือกเขามีลำห้วยสาขาจำนวนมาก แต่เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรเปลี่ยนไปและความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าลดลงทำให้การไหลของน้ำในฤดูฝนรวดเร็วรุนแรงและน้ำซึมน้ำซับธรรมชาติที่เคยหล่อเลี้ยงลำห้วยในฤดูแล้งเหือดแห้ง
อนึ่งเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2563 คณะกรรมาธิการฯได้เคยเดินทางมาร่วมประชุมแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งต่อเนื่อง ในพื้นจังหวัดอุตรดิตถ์ ณ. อบต.บ้านด่านนาขาม อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ โดยในที่ประชุมได้เสนอแนวทางพัฒนาเพื่อท้องถิ่นพึ่งพาตัวเอง ของศูนย์ปฏิบัติการบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ กรมชลประทาน คือ การทำฝายแกนซอยซิเมนต์ /การเติมระบบน้ำใต้ดิน/ ชุดสูบน้ำโซล่าเซลล์อย่างประหยัด ซึ่งขณะนี้ได้มีหลายตำบลได้เริ่มขับเคลื่อนตามแนวทางดังกล่าว เช่น ตำบลนายาง อำเภพิชัย ตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล ตำบลด่านนาขาม อำเภอเมือง เป็นต้น
สำหรับการจัดเวทีที่อำเภอน้ำปาดเพื่อเป็นการพูดคุยกันถึงสาเหตุของปัญหาและแลกเปลี่ยน ข้อมูล ข้อเท็จจริงระหว่าง คณะกรรมาธิการ ฯกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเป็นการนำเสนอองค์ความรู้ แนวทางแก้ไขปัญหาต่อเนื่องอย่างยั่งยืนด้วยการฝายแกนซอยซีเมนต์/การเติมระบบน้ำใต้ดิน/ชุดสูบน้ำโซล่าเซลล์อย่างประหยัด ซึ่งจำเป็นต้องขับเคลื่อนยกระดับการเรียนรู้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานจริงในภาคสนาม
เอนก ธรรมใจ
รายงาน