มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในมิติวัฒนธรรม
บูรณาการวิถีไทยสื่อสร้างสรรค์ศิลป์สร้างปัญญาเล่าขานตำนานวิถีไทย
เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 ณ หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ดร.ชูวิทย์ นาเพีย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้เป็นประธานเปิดกิจกรรมสื่อสร้างสรรค์ ศิลปะสร้างปัญญา เล่าขานตำนานวิถีไทย พื้นที่สร้างสรรค์กิจกรรมเรียนรู้ในมิติวัฒนธรรม โดยมี ผศ.อธิชาติ บุญญยศยิ่ง รอง ผอ.สำนักส่งเสริมบริการวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชิดศักดิ์ ฉายถวิล รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ นำคณะอาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ สาขาคุรุศาสตร์ 6 สาขา ได้แก่สาขาคณิตศาสตร์ สาขาภาษาไทย สาขาภาษาอังกฤษ สาขาสังคมศึกษา สาขาปฐมวัย สาขาประถมศึกษา และกลุ่มเยาวชนจากอำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้จำนวน 300 คน
ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้เรียนรู้ ได้เรียนรู้ และสร้างสรรค์กิจกรรมด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น วัฒนธรรมของชาติโดยใช้มิติด้านศิลปะการแสดงและสื่อสร้างสรรค์ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการคิดการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้แนวคิดแบบ entertain Education หรือการใช้ความบันเทิงและกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ เป็นฐานในการจัดการเรียนการสอน และส่งเสริมกระบวนการสร้างแรงบันดาลใจพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้สอนและผู้เรียน เพื่อเป็นพลังที่เข้มแข็งในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงการศึกษาต่อไป
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชิดศักดิ์ ฉายถวิล รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กล่าวว่า ในปัจจุบันหลักสูตรการเรียนการสอน มักจะส่งเสริมให้เยาวชน เรียนรู้ความเข้าใจ ความรู้ใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆแต่กลับไม่รู้คุณค่าและความภาคภูมิใจต่อแผ่นดินเกิดและภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งผลให้ผู้เรียนส่วนใหญ่มุ่งแข่งขัน เพื่อหวังเพียงคะแนน สร้างพฤติกรรมการชิงดีชิงเด่น ขาดทักษะชีวิต ยิ่งเรียนยิ่งหลงลืมรากเหง้าทางวัฒนธรรมมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาบรรพบุรุษของตนเองว่าล้าหลัง หันไปยกย่องเชิดชูปัญญาและวัฒนธรรมต่างชาติ จนลืมรากเหง้าทางวัฒนธรรม ดังนั้น งานศิลปะและวัฒนธรรม จึงได้เล็งเห็นความสำคัญ ด้านการทำนุบำรุงมรดกศิลปะและวัฒนธรรม ได้บูรณาการร่วมกับกิจกรรมเรียนการสอน รายวิชาวิถีไทย เพื่อให้ผู้เรียนรู้ได้เรียนรู้ และสร้างสรรค์กิจกรรมด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น วัฒนธรรมของชาติโดยใช้มิติด้านศิลปะการแสดงและสื่อสร้างสรรค์ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการคิดการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้แนวคิดแบบ entertain Education หรือการใช้ความบันเทิงและกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ เป็นฐานในการจัดการเรียนการสอน และส่งเสริมกระบวนการสร้างแรงบันดาลใจพัฒนาทักษะให้กับผู้สอนและผู้เรียน เพื่อเป็นพลังที่เข้มแข็งในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงการศึกษา
ข่าว/ภาพ …. บุญทัน ธุศรีวรรณ