กยท.​ ระดมเครื่อง​จักร​กลการเกษตร​ควบคุม​โรค​ใบร่วงหลังพบการ​ระบาด​ของ​โรคใบร่วงชนิดใหม่ยางพาราใน​ 6 จังหวัด​ภาคใต้​ เร่งแก้ปัญหา

กยท.​ ระดมเครื่อง​จักร​กลการเกษตร​ควบคุม​โรค​ใบร่วง

หลังพบการ​ระบาด​ของ​โรคใบร่วงชนิดใหม่ยางพาราใน​ 6 จังหวัด​ภาคใต้​ เร่งแก้ปัญหา

 

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์เกิดการแพร่ระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราเมื่อปีที่ผ่าน ส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดในสวนยางพาราของเกษตรกรชาวสวนยางอย่างรวดเร็วเกือบ 800,000 ไร่ใน 10 จังหวัดภาคใต้ ซึ่ง กยท. ได้เร่งควบคุมการแพร่ระบาดได้แล้วในระดับหนึ่ง ปัจจุบันยังคงพบการระบาดอยู่ประมาณ 23,269 ไร่ ใน 6 จังหวัดได้แก่ นราธิวาส ยะลา ปัตตานี สงขลา ตรังและสุราษฎร์ธานี ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ลดลงอย่างมาก

ทั้ง​นี้ กยท. มอบนโยบายและงบประมาณในแต่ละพื้นที่ เพื่อเร่งแก้ไขปัญหา โดนจัดอบรมและแจกจ่ายเอกสารความรู้ด้านโรคและแนวทางการป้องกันกำจัดแก่พนักงาน เกษตรกรชาวสวนยาง​ และผู้เกี่ยวข้องครอบคลุมแทบทุกพื้นที่ในภาคใต้ นอกจากนี้ยังได้สั่งการให้ กยท. ในพื้นที่ที่พบการระบาดของโรคนี้ดำเนินการประสานเกษตร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง หรือเจ้าของสวนยาง จัดทำโครงการของบประมาณจาก กยท. ตามมาตรา 49 (3) ในการสนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์ฉีดพ่น รวมถึงยาป้องกันกำจัดเชื้อรา
ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วใน 6 พื้นที่​คือ จังหวัดนราธิวาส พังงา กระบี่ ตรัง และสุราษฎร์ธานี ล่าสุดได้ดำเนินการฉีดพ่นสารในแปลงที่พบโรคระบาดอีกครั้งที่แปลงเกษตรกร อ. ย่านตาขาว จ. ตรัง ด้วยเครื่องพ่นสารแบบใช้แรงลมขนาดใหญ่ (แอร์บล๊าส) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ได้ใช้เครื่องมือชนิดนี้ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคในสภาพแปลงยางจริง

 

ขณะที่ นายกฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กล่าวว่า หลังจากได้นำตัวอย่างไปวิเคราะห์พิสูจน์เชื้อหาสาเหตุแล้ว พบว่าโรคใบร่วงชนิดนี้เป็นเชื้อ Colletotrichum sp. สำหรับสารเคมีในการป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดนี้ทดสอบได้ผลแล้วในห้องปฏิบัติการ เช่นคาร์เบนดาซิม โพรพิโคนาโซล เฮกซะโคนาโซล โพรพิโคนาโซลผสมกับไดฟีโนโคนาโซล เป็นต้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการขยายผลไปทดสอบในสภาพแปลงจริงร่วมกับ
กรมวิชาการเกษตร ดำเนินการที่ อ. ระแงะ ยี่งอ และสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส โดยใช้ทั้งอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) และ เครื่องยนต์พ่นสารแบบแรงดันน้ำสูงชนิดลากสายในการฉีดพ่น ซึ่ง กยท. จะติดตามผลต่อไป ในส่วนของงบประมาณปี 2464 ยังมีโครงการศึกษากลไกการเข้าทำลาย สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค หรือการเตือนภัยเพื่อนำมาใช้บริหารจัดการโรคได้ถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น

สำหรับ​แผนการวิจัยด้านพัฒนาพันธุ์ต้านทานโรคนี้มีความสำคัญเช่นกัน กยท. กำลังดำเนินการควบคู่ไปด้วย และที่สำคัญการสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ระหว่างประเทศผู้ผลิตยางที่ได้รับผลกระทบจากโรคนี้ ได้แก่อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย และศรีลังกา ซึ่งจะจัดขึ้นกลางเดือนพฤศจิกายนนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลนำมาบริหารจัดการโรคต่อไป ไม่ให้มีการแพร่กระจายมากไปกว่านี้

 

You May Have Missed!

0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
สาวผวาหนัก ถูกโจรซุ่มชิงทรัพย์ในลานจอดรถห้างดังย่านแคราย พบคนร้ายเป็นหนี้กว่า 5 แสนบาท
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ขยี้ตารัวๆ! Ar-Lek Home ทาวน์โฮมหลังใหญ่ สไตล์มินิมอล ย่านนครปฐม ราคาเริ่มต้น 1.99 ล้านบาท
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ร่วมสร้างกรุงเทพในฝันประชาธิปัตย์ก้าวใหม่ กรุงเทพเผชิญวิกฤติทุกมิติ ฝุ่นพิษ PM 2.5  จราจร คนว่างงาน อาชญากรรมเมืองจม น้ำเน่า น้ำท่วม ฯลฯ
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สภท.) จับมือกูรูด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม จัดสัมมนาสื่อมวลชน ชู “ไฟฟ้า” คู่ “การลดคาร์บอน” หัวใจสำคัญของการพัฒนาในพื้นที่ EEC