‘รมช.ประภัตร’ หนุนเกษตรกรปลูกพืชแหนแดง ลดต้นทุนผลิตอาหารสัตว์

‘รมช.ประภัตร’ หนุนเกษตรกรปลูกพืชแหนแดง ลดต้นทุนผลิตอาหารสัตว์

 

นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรไทยยังคงประสบปัญหาด้านราคาวัตถุดิบอาหารที่มีราคาสูง ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อย ดังนั้น นโยบายการส่งเสริมอาชีพเลี้ยงสัตว์ ในโครงการภายใต้บันทึกความเข้าใจ (MOU) โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ และกิจการที่เกี่ยวเนื่องฯ จึงมุ่งหาอาชีพให้กับเกษตรกรได้สร้างรายได้ ซึ่งการปลูกพืชอาหารสัตว์ อาทิ แหนแดง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หญ้าเนเปียร์ ถือเป็นอาชีพทางเลือกที่เป็นทางออกให้กับเกษตรกร

ทั้งนี้แหนแดง เป็นพืชที่ใช้เวลาปลูกระยะสั้นเติบโตเร็ว 15-30 วัน สามารถขายได้ เป็นที่ต้องการของตลาด โปรตีนสูง และมีไนโตรเจนสูงถึง 5 % ในขณะที่ปุ๋ยพืชสดตระกูลถั่วมีธาตุอาหารไนโตรเจนประมาณ 2.5 – 3 % ขณะที่ราคาอาหารสัตว์ท้องตลาดราคา 12 บาท/กก. แต่หากเป็นอาหารที่ผสมเองราคา 4 บาท/กก. เป็นการลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกร

สำหรับแหนแดง เป็นเฟิร์นชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก พบอยู่ตามบริเวณน้ำนิ่ง เช่น บ่อ หรือคูน้ำ สำหรับแหนแดงพันธุ์กรมวิชาการเกษตรให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองถึง 10 เท่า เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่บนผิวน้ำในนาข้าว 1 ไร่ จะให้ผลผลิตสดถึง 3 ตัน (150 กิโลกรัมแห้ง) ซึ่งเป็นปริมาณไนโตเจนได้ประมาณ 6 – 7 กิโลกรัม ประโยชน์คือ ทดแทนหรือลดการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน เพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน ใช้เป็นปุ๋นอินทรีย์สำหรับพืชผัก และไม้ผล ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี ใช้เป็นแหล่งโปรตีนสำหรับเลี้ยงสัตว์ และมีต้นทุนต่ำ

 

 

 

You May Have Missed!

0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
สาวผวาหนัก ถูกโจรซุ่มชิงทรัพย์ในลานจอดรถห้างดังย่านแคราย พบคนร้ายเป็นหนี้กว่า 5 แสนบาท
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ขยี้ตารัวๆ! Ar-Lek Home ทาวน์โฮมหลังใหญ่ สไตล์มินิมอล ย่านนครปฐม ราคาเริ่มต้น 1.99 ล้านบาท
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ร่วมสร้างกรุงเทพในฝันประชาธิปัตย์ก้าวใหม่ กรุงเทพเผชิญวิกฤติทุกมิติ ฝุ่นพิษ PM 2.5  จราจร คนว่างงาน อาชญากรรมเมืองจม น้ำเน่า น้ำท่วม ฯลฯ
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สภท.) จับมือกูรูด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม จัดสัมมนาสื่อมวลชน ชู “ไฟฟ้า” คู่ “การลดคาร์บอน” หัวใจสำคัญของการพัฒนาในพื้นที่ EEC