จ. ศรีสะเกษ !! ปิดและมอบประกาศนิยบ้ตรโครงการพระราชทาน โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง รุ่นที่ 2 เรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ

จ. ศรีสะเกษ !! ปิดและมอบประกาศนิยบ้ตรโครงการพระราชทาน โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง รุ่นที่ 2 เรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ

 

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2563 เวลา 09.00 น หอประชุมมูลนิธิหลวงปู่สรวง เรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้เป็นประธานปิดและมอบประกาศนิยบ้ตรโครงการพระราชทานโคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวังรุ่นที่ 2 เรือนจำจังหวัดศรีสะเกษกรมราชทัณฑ์ โดยมีนายเริงศักดิ์ เกตุจันทึก ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ และลูกจ้าง ร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

ในโอกาสนี้ นายวัฒนา พุฒิชาติ ได้มอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม เป็นผู้ต้องขังที่เป็นคนไทยจำนวน 55 คน และคนต่างชาติจำนวน 2 คนรวมทั้งสิ้น 51 คน 57 คน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ต้องขัง ได้นำไปประยุกต์ใช้ทฤษฎีใหม่ แบบชาวบ้าน ปั้นโคก ขุดดินหนองทำนา เพื่อสร้างต้นแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ขนาดเล็ก ให้สามารถดำเนินการได้ในทุกเรื่อง และมุ่งเน้นการปรับพื้นฐานความคิด การฝึกวินัย การลงมือปฏิบัติตลอดจนการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์จริง เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นที่ได้รับความเดือดร้อนเมื่อพ้นโทษออกไป ภายนอก

นายเริงศักดิ์ เกตุจันทึก ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า เรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดทำโครงการพระราชทาน โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง รุ่นที่ 2 ใช่เวลาการฝึกอบรม 14 วัน ในระหว่างวันที่ 8 กันยายน ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2556 3 แบ่งขั้นการฝึกตอนออกเป็น 3 ขั้นตอนได้แก่ การฝึกอบรมพึ่งพาตนเองด้วยทฤษฎีใหม่เศรษฐกิจพอเพียง การแปลงทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติประกอบด้วย การออกแบบแนวความคิดการบริหารการจัดการพื้นที่ขนาดเล็กการประยุกต์ทฤษฎีแบบชาวบ้าน ปั่นโคก ขุดหนองทำนา ตามภูมิสังคมบนกระดาษ การสร้างต้นแบบพื้นที่จำลองการวางแผนการปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง เพื่อพ่ออยู่ พอกิน พอใช้ และพอร่มเย็น การปฏิบัติในพื้นที่จริง ขนาด 180 ตารางเมตร ตามทฤษฎีใหม่แบบชาวบ้านโคก ปั่นโคก ขุดหนองทำนายตามภูมิสังคม และการสรุป ประเมินผล การฝึกอบรมได้ดำเนินการเสร็จสิ้นครบถ้วน ตามหลักสูตรการฝึกแล้วผลการฝึกในเกณฑ์ดีมาก มีผู้สำเร็จการฝึกอบรมทั้งสิ้น 57 คน

จากผลการดำเนินการที่ผ่านมาผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถพึ่งพาตนเอง ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรกรรมและเกษตรทฤษฎีใหม่ทั้งสามารถช่วยเหลือประชาชนให้ทำประโยชน์ เพื่อส่วนรวมได้หลังจากที่ผู้ต้องขังที่จะรับการพ้นโทษในโอกาสต่อไป จะต้องดำเนินการในพื้นที่ตามภูมิลำเนาของตนเอง อันเป็นการสืบสานปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ในการสืบสานรักษาต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจให้แก่ประชาชน เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นและช่วยกันพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

 

ข่าว/ภาพ บุรทัศน์ ศรีสะเกษ