คมนาคม จับมือ กษ. kick off นำยางพารามาใช้ปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนนนำร่องภาคอีสานที่นครพนม

คมนาคม จับมือ กษ. kick off นำยางพารามาใช้ปรับปรุง เพิ่มความปลอดภัยทางถนนนำร่องภาคอีสานที่นครพนม

 

 

 

วันที่ 25 กันยายน 2563 ที่จังหวัดนครพนม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ร่วมเปิดโครงการการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน ( kick off ) ที่บริเวณทางหลวงหมายเลข 2033 ตอนคำพอก- หนองญาติ กิโลเมตรที่ 55+425 – 55+575 ตำบลหนองญาติ อำเภอเมืองนครพนม โดยมีปลัดกรทรวง คณะหัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนจังหวัดนครพนมร่วมเป็นสักขีพยาน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ภายหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา รับทราบแนวทางการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน และมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนของพี่น้องประชาชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยใช้แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีตครอบกำแพงคอนกรีต (Rubber Fender Barrier: RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post RGP) เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็นการดูดซับปริมาณยางพาราออกจากระบบ สร้างเสถียรภาพราคายางอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต และได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องอุปกรณ์ทางด้านการจราจรและอำนวยความปลอดภัยทางถนนที่ผลิตจากยางพารา เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคม จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของโครงการนี้

นอกจากนี้ยังได้รับความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ศึกษาและวิจัยพบว่าแผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต และการหลักนำทางยางธรรมชาติมาใช้ สามารถที่จะช่วยลดแรงปะทะที่เกิดจากการชนซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนนได้เป็นอย่างดี มีความเหมาะสม โดยที่ผ่านมาประเทศของเรามีปริมาณการใช้ยางพาราในปี 2561 ประมาณแปดหมื่นกว่าตัน ปี 2562 ใช้ยางพาราประมาณ 2 แสนกว่าตัน แต่โครงการนี้จะใช้ยางพารามากถึง 1,007,951 ตัน คิดเป็นผลประโยชน์ที่เกษตรกรชาวสวนยางจะได้รับประมาณ 30,108 ล้านบาท และจะมีการสำรวจตรวจสอบเพื่อเปลี่ยนทดแทนของเดิมที่เสื่อมสภาพหรือที่เสียหายในทุก ๆ ปีอย่างน้อยปีละประมาณ 336,000 ตัน ซึ่งในตอนเริ่มเปิดตัวโครงการในเดือนสิงหาคมราคายางอยู่ที่ประมาณ 43 บาทต่อกิโลกรัม ผ่านมา 1 เดือนพบว่าราคาสูงขึ้นเป็นประมาณ 62 บาทต่อกิโลกรัม

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ จะทำหน้าที่ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและคัดเลือกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ที่กระทรวงรับรองให้เข้าร่วมโครงการ มีการจัดเตรียมเงินทุนเพื่อสนับสนุน รวมถึงมีการกำกับ ควบคุมคุณภาพการผลิตให้เป็นไปตามรูปแบบ มาตรฐาน และราคาตามที่กระทรวงคมนาคมกำหนด สำหรับการ Kick Off โครงการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น มี 3 จังหวัด ประกอบไปด้วยจังหวัดนครพนม บึงกาฬ และจังหวัดเลย ด้วยทั้ง 3 จังหวัด เป็นจังหวัดที่มีการปลูกยางพารามากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

 

เทพพนม รายงาน

You May Have Missed!

1 Minute
โรงพยาบาล
สำนักอนามัยจัดกิจกรรมรณรงค์วันส้วมโลก ประจำปี 2567 ณ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
1 Minute
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จัดพิธีทำบุญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำโรงพยาบาล
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ทรู แจกใหญ่ จัดหนัก กับ แคมเปญ “รวยคูณสอง แจกทอง แจกรถ” ร่วมกับ 8 พาร์ทเนอร์ชั้นนำ มอบโชคใหญ่ให้ลูกค้าทรู ดีแทค รวมมูลค่ากว่า 5 ล้านบาท เพียงสมัครบริการเสริม ก็มีสิทธิ์ลุ้นรับของรางวัลทันที ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 พ.ค. 68
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
คณะกรรมการบริหารโรงเรียนปลูกปัญญา แต่งตั้ง “บิ๊กทิน” ผจก.ฟุตซอลทีมชาติไทย  เป็นประธานที่ปรึกษาโรงเรียน