การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และติดตามการดำเนินงานโครงการสร้าง​ความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา”หมู่บ้านรักษาศีล 5″ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี) ประจำปี 2563​

การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และติดตามการดำเนินงานโครงการสร้าง​ความปรองดองสมานฉันท์

โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา”หมู่บ้านรักษาศีล 5″ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี) ประจำปี 2563

วันจันทร์ที่(21 กันยายน2563)​ เมื่อเวลา 09.30 น.พระเทพศาสนาภิบาล ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา หมู่บ้านรักษาศีล 5 ส่วนกลาง พระเทพวรมุนี ประธานคณะกรรมการประจำหนตะวันออก พระราชพรหมจริยคุณ เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ดฝ่ายมหายาน, พระราชปริยัติวิมล เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ดฝ่ายธรรมยุต เรียนนาย เจนเจตน์ เจนนาวิน ปลัดจังหวัด ผมนายถาวร ผู้ใหญ่บ้านบ้านสุขสำราญหมู่ 9 หมู่บ้านขอรายงานข้อมูลหมู่บ้านและการดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหมู่บ้านรักษาศีล 5 โดยสังเขปดังนี้.เดิมชุมชนบ้านสุขสำราญ บ้านชื่อบ้านเชียงใหม่ ซึ่ง​เดิมมี2หมู่บ้าน หมู่ 9 และหมู่ มีนายสิงห์ ทิพประมวล เป็นกำนันตำบล นายแก้วและนายบุญเพ็ง ต่อมา ทางการมีการ ขอแยกพื้นที่ปกครอง จึงมีการตั้งชื่อ หมู่บ้านเชียงใหม่ แต่ละชุมชน
ให้เหมาะสม กับภูมิประทศ ของแต่ละชุมชน ดังนั้นพี่น้องในชุมชน พร้อมกับผู้นำชุมชน ได้มีการจัดประชุมประชาคม เพื่อจัด​การเลือกตั้งชื่อของชุมชน ซึ่งพื้นที่ภูมิประเทศ ของชุมชนเป็นพื้นที่ อุดมไปด้วย​พืชพันธุ์ธัญญาหาร ทรัพยากรรรมชาติ อุดมสมบูรณ์ และพื้นที่ทำมาหากิน ของพี่น้องในชุมชน

 

จึงได้ตั้งชื่อของชุมชน ว่าชุมชนบ้านสุขสำราญ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ปัจจุบันมีกระผม นายถาวร.ปัญจมาตย์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน นายสมชาย จรบุรมย์ เป็นกำนัน ประจำคำบลเชียงใหม่ ภายใต้การปกครอง ส่วนภูมิภค อำภอโพธิ์ชัย​ และมีนายชินกร แก่นคง ดำรงตำแหน่งนายอำเภอโพธิ์ชัยชุมชนบนสุขสำราญ มีจำนวนประชากร 1,190 คน 385 ครัวเรือนการประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่ชาวบ้าน จะประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และอาชีพเสริม ที่สร้างรายได้ เป็นเศรษฐกิจสำคัญ ของหมู่บ้านคือ การจัดตั้งกลุ่มสัมมาชีพในปัจุบันมี กลุ่มดังนี้ 1. กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงใหม 2 ร้านค้าประชารัฐ3.การทำไม้กวาด4.การเลี้ยงปลาในบ่อ กลุ่มแจ่วบอง ไอโอดีน​ จึงสนองตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งผลให้หมู่บ้าน มีความอยู่ดี กินดี มีรายได้​ภูมิศาสตร์​มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ มีการ สืบสานบุญประเพณี ฮีต 12 ครอง 14 ตามวิถีชีวิตทางภาคอีสาน และมีบุญข้าวจี่ ที่เลื่องชื่อเป็นข้าวจี่ยักษ์เป็นที่กล่าวขาน ถึงเอกลักษณ์ ของชาวอำเภอโพธิ์ชัย มีรำวงกองถ้ำ ชมรมผู้สูงอายุ การขับร้องสระภัญญะ เป็นศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่น ที่สืบสานรักษาไว้ ชาวบ้านนับถือศาสนาพุทธ มาแต่ครั้งบรรพบุรุษ เป็นศาสนาหลักและเป็นที่ยืดเหนี่ยวจิตใจ ของคนในหมู่บ้าน มีวัดป่า เป็นศูนย์กลางของชุมชนประกอบพีธีทางพุทธศาสนา และสถานที่อบรม คุณธรรม จริยธรรม ให้มีพระภิกษุ จำนวน 10 รูป เป็นชุมชนที่มีหลักศีล5ถือประจำเป็นหลักประกัน ในการดำรงชีวิต

 

 

ชาวบ้านมักจะทำบุญ ในทุกวันเป็นปกติและในทุกๆวัน และวันสำคัญทางศาสนา อยู่เป็นประจำส่งผลให้ ชุมชน หมู่บ้านไม่มีโจรผู้ร้าย ครอบครัวอบอุ่น ชาวบ้าน​มีศีล5 เป็นเครื่องยืดเหนี่ยวจิตใจสังคมมีความสงบสุข สันติสุขการดำเนินกิจกรรม การส่งเสริมรักษาศีล5 ของหมู่บ้าน มีดังนี้
-การตั้งคณะกรรมการ ส่งเสริมความสามัคคีและคุ้มครองสิทธิชุมชน
-การกำหนด เขตอภัยทาน ของหมู่บ้าน
กิจกรรมการปล่อยนก ปล่อยปลา ไถ่ชีวิต โค กระบือ
การตั้งคณะกรมการ / ชุดรักษาความปลอคภัย หมู่บน (ชรบ)
– การตั้งกองทุนการเงิน / สวัสดิการเพื่อช่วยหลือ ประชาชน
กิจกรรมส่งเสริม สัมมาชีพ / กลุ่มเศรมฐกิจพอเพียง
การจัดกิจกรรมการป้องกัน ความรุนแรงครอบครัวการจัดอบรมขาวชน ให้มีความรับผิดชอบ พฤติกรรมทางเพศ
การตั้งคณะกรรมการไกลเกลี่ยความขัดแย้ง ในหมู่บ้าน
การจัดกิจกรรมป้องกัน การทะลาะวิวท และความแตกแยก
การตั้งคณะกรรมการ ป้องกันยาเสพติด ในหมู่บ้านกิจกรรมส่งเสริม การลด ละ เลิก อบายมุข และยาเสพติดกิจรรมลดปัจจัยสี่ยง ยาเสพติด มีลานกีฬาชุมชน ส่งเสริมเยาวชนได้เล่นกีฬา

ทั้งหมดนี้ เป็นรายงานกิจกรรม การคำเนินงาน ตามโครงการ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรม ทางพระพุทธศาสนา” หมู่บ้านรักษาศีล 5″ ประจำปี 2563

คณิต ไชยจันทร์ ภาพข่าว