ม.บูรพาปลุกกระแส Startup คลอดหลักสูตรภูมิสารสนเทศอัจฉริยะดันบัณฑิตก้าวสู่ผู้ประกอบการธุรกิจเกิดใหม่

ม.บูรพาปลุกกระแส Startup 

คลอดหลักสูตรภูมิสารสนเทศอัจฉริยะดันบัณฑิตก้าวสู่ผู้ประกอบการธุรกิจเกิดใหม่ 

 

 

ม.บูรพาปลุกกระแสStartup   คลอดหลักสูตรภูมิสารสนเทศอัจฉริยะเสริมเขี้ยวบัณฑิตก้าวสู่ผู้ประกอบการธุรกิจเกิดใหม่  รองรับความเปลี่ยนแปลงของตลาดสมัยใหม่และเสริมแกร่งเศรษฐกิจของประเทศสู่ความยั่งยืน   พร้อมผลักดันให้เกิดการประยุกต์ใช้งานในระดับอาเซียนในอนาคต 

ดร.กฤษนัยน์    เจริญจิตร    คณบดีคณะภูมิสารสนเทศศาสตร์   มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดเผยว่า    ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับทุกอาชีพอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยในวงการธุรกิจทั้งในและต่างประเทศล้วนต้องพึ่งพาเทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดในยุคปัจจุบันให้ได้มากที่สุด    ดังนั้น   คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ในฐานะสถาบันการศึกษาด้าน Geospatial แห่งเดียวในประเทศไทยที่ต้องการให้นิสิตมีความเป็นเลิศแข่งขันกับนานาชาติ โดยยกวิทยาฐานะจากภาควิชาภูมิศาสตร์ขึ้นเป็นคณะภูมิสารสนเทศ เพื่อผลิตบัณฑิตในทุกๆ มิติ เชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ของโลกและอวกาศ ไปสู่การอธิบายและคาดการณ์ด้วยเทคโนโลยีข้อมูลแบบ Geospatial Intelligence ซึ่งข้อมูลนี้ถูกสร้างขึ้นเป็นจำนวนมหาศาลในแต่ละวัน ทั้งจากโทรศัพท์มือถือ IoT หรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ (Internet of Things)  โดรน (Drone) ภาพถ่ายดาวเทียม (Satellite age) ซึ่งได้จากการบันทึกข้อมูลของดาวเทียมด้วยกระบวนการสำรวจระยะไกล หรือ รีโมตเซ็นซิ่ง (Remote Sensing) ซึ่งคณะฯ มีการพัฒนาองค์ความรู้ที่ตอบสนองต่อตลาดอาชีพ ในปัจจุบัน พร้อมกับเชื่อมโยงแนวทางการเรียนการสอนให้ตอบโจทย์การทำงานทั้งในภาครัฐและเอกชน อีกทั้งยังมีความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาโท-เอก กับสถาบันสารสนเทศวิศวกรรมการสำรวจ การทำแผนที่และภูมิสารสนเทศ (LIESMARS : ลิสมาร์) ซึ่งเป็นสถาบันของมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น (Wuhan University)  ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก และสถาบัน LIESMARS ได้รับการยอมรับทางด้านการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศของประเทศจีน เพื่อให้นิสิตไปเสริมสร้างประสบการณ์ตรงและพัฒนาธุรกิจ โดยการค้นคว้าและวิจัยเป็นหลัก R & D for Enterprise”

 

อย่างไรก็ตามเพื่อให้การเรียนการสอนสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน บัณฑิตของคณะฯ ที่จบไปแล้วสามารถนำไปต่อยอดสร้างอาชีพใหม่ หรือทำงานในองค์กรที่เน้นการพัฒนาด้วยระบบเทคโนโลยีได้หลากหลายมากขึ้นในธุรกิจประเภท Startup เป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ที่รองรับธุรกิจด้านไอที เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการและแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน เช่น แอพพลิเคชั่น ต่าง ๆ และที่สำคัญไปกว่านั้นการสร้างบัณฑิตให้เป็น Startup ยังมีแนวโน้มการเติบโตแบบก้าวกระโดด รวมไปถึงสามารถสร้างรายได้ในอนาคต

 

คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงได้ร่วมมือกับ  EEC   สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA  มูลนิธิปิดทองหลังพระ เมืองพัทยา  การจัดทำ Application เฝ้าติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยใช้ Geospatial Intelligence และอีกหลากหลายเครือข่ายความร่วมมือ จึงทำให้บัณฑิตที่จบจากคณะฯ สามารถเข้าทำงานได้ในหลาย ๆ หน่วยงานของภาครัฐ   อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม หรือ บริษัทสำรวจ บริษัทที่ปรึกษาวางแผน เป็นต้น ซึ่งการศึกษาในหลักสูตรภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา สามารถนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดเป็นวิทยากรภูมิสารสนเทศเชิงประยุกต์ที่พร้อมใช้งานในระดับอาเซียนอีกด้วย”     ดร.กฤษนัยน์    กล่าว

 

 

You May Have Missed!

1 Minute
โรงพยาบาล
สำนักอนามัยจัดกิจกรรมรณรงค์วันส้วมโลก ประจำปี 2567 ณ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
1 Minute
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จัดพิธีทำบุญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำโรงพยาบาล
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ทรู แจกใหญ่ จัดหนัก กับ แคมเปญ “รวยคูณสอง แจกทอง แจกรถ” ร่วมกับ 8 พาร์ทเนอร์ชั้นนำ มอบโชคใหญ่ให้ลูกค้าทรู ดีแทค รวมมูลค่ากว่า 5 ล้านบาท เพียงสมัครบริการเสริม ก็มีสิทธิ์ลุ้นรับของรางวัลทันที ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 พ.ค. 68
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
คณะกรรมการบริหารโรงเรียนปลูกปัญญา แต่งตั้ง “บิ๊กทิน” ผจก.ฟุตซอลทีมชาติไทย  เป็นประธานที่ปรึกษาโรงเรียน