ฝนหลวงฯ ปรับแผนปฏิบัติการทำฝนหลวงในภาวะฝนทิ้งช่วง และการเพิ่มปริมาณน้ำให้ลุ่มรับน้ำเขื่อนต่าง ทั่วประเทศ

ฝนหลวงฯ ปรับแผนปฏิบัติการทำฝนหลวงในภาวะฝนทิ้งช่วง และการเพิ่มปริมาณน้ำให้ลุ่มรับน้ำเขื่อนต่าง ทั่วประเทศ

 

 

 

 

นายปนิธิ เสมอวงษ์ รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ด้านปฏิบัติการ เปิดเผยว่า ในขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่ช่วง 1 เดือนสุดท้ายของฤดูฝนจากการตรวจสอบพบว่าในหลายพื้นที่ยังคงขาดแคลนน้ำด้านการเกษตรและพื้นที่ลุ่มรับน้ำยังมีน้ำใช้การไม่เพียงพอ โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทานที่ยังคงมีพี่น้องประชาชนร้องขอรับบริการฝนหลวงเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทางกรมฝนหลวงและการบินเกษตรจึงได้มีการเตรียมพร้อมรับมือโดยการปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานและติดตามสภาพอากาศ เพื่อวางแผนปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรและประชาชนที่ประสบปัญหาภัยแล้ง มีความต้องการน้ำ และพื้นที่ลุ่มรับน้ำที่มีปริมาณน้ำใช้การไม่เพียงพอโดยให้เร่งปฏิบัติการฝนหลวงตามข้อมูลที่มีการติดตามสถานการณ์เป็นประจำทุกวัน จากข้อมูลการขอรับบริการฝนหลวง ตลอดจนการเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง

โดยในส่วนของการปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งแต่ 3 กุมภาพันธ์ – 23 สิงหาคม 2563 กรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้มีหน่วยปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือประชาชนทั้งหมด 12 หน่วย กระจายอยู่ทั่วภูมิภาคของประเทศ ได้แก่ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ ตาก พิษณุโลก ภาคกลาง จ.ลพบุรี และกาญจนบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น อุดรธานี สุรินทร์ นครราชสีมา และอุบลราชธานี ด้านภาคตะวันออก จ.ระยอง และภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี และได้รับการสนับสนุนจากเหล่าทัพต่างๆ ทั้งกองทัพบกและกองทัพอากาศ โดยสนับสนุนด้านกำลังพลและอากาศยาน เพื่อร่วมปฏิบัติการฝนหลวงช่วยคลี่คลายสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงและภัยแล้ง สำหรับกรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้มีการขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งแต่เดือน ก.พ. ที่ผ่านมารวมเป็นจำนวน ๑86 วัน 4,756 เที่ยวบิน (7,094:17 ชั่วโมงบิน) มีฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวงรวม ๑84 วัน คิดเป็นร้อยละ 98.92 แบ่งเป็น ดังนี้
ภาคเหนือตอนบน ขึ้นปฏิบัติการรวม 113 วัน 423 เที่ยวบิน ฝนตกจากการปฏิบัติการคิดเป็นร้อยละ ๙6.46 นอกจากนี้ยังมีภารกิจป้องกันและแก้ไขภัยแล้ง มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 21.44 ล้านไร่ ภารกิจบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่าช่วยเหลือทั้งสิ้น 7 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง ลำพูน พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ น่าน ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 3 ก.พ.–31 พ.ค. 2563 จำนวน 13 เขื่อน แผน 21 ล้าน ลบ.ม.  ผล 5.06 ล้าน ลบ.ม. ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.–23 ส.ค.2563 จำนวน 19 เขื่อน แผน 471 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลเข้าสะสม 214.719 ล้าน ลบ.ม.

ภาคเหนือตอนล่าง ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง รวม 134 วัน ฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวงคิดเป็นร้อยละ 92.54 ขึ้นปฏิบัติการ รวม 392 เที่ยวบิน (715:23 ชั่วโมงบิน) ปฏิบัติภารกิจป้องกันและแก้ไขภัยแล้งมีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 29.50 ล้านไร่ ภารกิจยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บช่วยเหลือทั้งสิ้น 21 จังหวัด ได้แก่ แพร่ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ น่าน พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร ลำปาง เลย ขอนแก่น นครราชสีมา ยโสธร ชัยภูมิ  มุกดาหาร ลพบุรี ตาก หนองบัวลำภู นครสวรรค์ พะเยา อุดรธานี กาฬสินธุ์ ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ จำนวน 11 เขื่อน แผน 60 ล้าน ลบ.ม. ผล 38.657 ล้าน ลบ.ม. ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.–23 ส.ค.2563 จำนวน 12 เขื่อน แผน 245 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลเข้าสะสม 225.932 ล้าน ลบ.ม.

ภาคกลาง ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวงรวม 157 วัน ฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวงคิดเป็นร้อยละ 98.72 ขึ้นปฏิบัติการรวม 1,408 เที่ยวบิน (1,967:50 ชั่วโมงบิน) ภารกิจป้องกันและแก้ไขภัยแล้ง มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวงจำนวน 30.44 ล้านไร่ ภารกิจบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่าช่วยเหลือทั้งสิ้น 1 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 3 ก.พ.–31 พ.ค. 2563 จำนวน 23 เขื่อน แผน 105.50 ล้าน ลบ.ม. ผล 131.225 ล้าน ลบ.ม. ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.–23 ส.ค.2563 จำนวน 27 เขื่อน แผน 669.540 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลเข้าสะสม 487.927 ล้าน ลบ.ม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน วันขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง รวม 142 วัน มีวันฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวงคิดเป็นร้อยละ 97.18 ขึ้นปฏิบัติการ รวม 682 เที่ยวบิน (1,000:35 ชั่วโมงบิน) ภารกิจป้องกันและแก้ไขภัยแล้ง มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวงจำนวน 17.88 ล้านไร่ ภารกิจยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บช่วยเหลือทั้งสิ้น 7 จังหวัด ได้แก่ เลย สกลนคร อุดรธานี กาฬสินธุ์ บึงกาฬ นครพนม ชัยภูมิ ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 3 ก.พ.–31 พ.ค. 2563 จำนวน 6 เขื่อน แผน 42.80 ล้าน ลบ.ม.  ผล 51.495 ล้าน ลบ.ม. ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.–23 ส.ค.2563 จำนวน 5 เขื่อน แผน 79.50 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลเข้าสะสม 1283120 ล้าน ลบ.ม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง รวม 151 วัน มีวันฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวงคิดเป็นร้อยละ 93.38 ขึ้นปฏิบัติการรวม 873 เที่ยวบิน (1,224:27 ชั่วโมงบิน)ภารกิจป้องกันและแก้ไขภัยแล้งมีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวงจำนวน 43.44 ล้านไร่ ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 3 ก.พ.–31 พ.ค. 2563 จำนวน 62 เขื่อน แผน 8.70 ล้าน ลบ.ม.  ผล 8.321 ล้าน ลบ.ม. ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.–23 ส.ค.2563 จำนวน 52 เขื่อน แผน 147.75 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลเข้าสะสม 70.514 ล้าน ลบ.ม.
ภาคตะวันออก ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง รวม 134 วัน มีฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวงคิดเป็นร้อยละ 96.24 ขึ้นปฏิบัติการ รวม 570 เที่ยวบิน (935:35 ชั่วโมงบิน)ภารกิจป้องกันและแก้ไขภัยแล้ง มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวงจำนวน 18.81 ล้านไร่ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 3 ก.พ.–31 พ.ค. 2563 จำนวน 28 เขื่อน แผน 16.00 ล้าน ลบ.ม.  ผล 17.134 ล้าน ลบ.ม. ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.–23 ส.ค.2563 จำนวน 17 เขื่อน แผน 52.75 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลเข้าสะสม 36.157 ล้าน ลบ.ม.

ภาคใต้ ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง รวม 146 วัน มีวันฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวงคิดเป็นร้อยละ 94.41 ขึ้นปฏิบัติการ รวม 408 เที่ยวบิน (593:33 ชั่วโมงบิน) ภารกิจป้องกันและแก้ไขภัยแล้ง มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวงจำนวน 32.81 ล้านไร่ภารกิจบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่าช่วยเหลือทั้งสิ้น 4 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี ราชบุรี นครศรีธรรมราช นราธิวาส ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 3 ก.พ.–31 พ.ค. 2563 จำนวน 14 เขื่อน แผน 197.50 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลเข้าสะสม 76.054 ล้าน ลบ.ม. ภารกิจเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.–23 ส.ค.2563 จำนวน 11 เขื่อน แผน 197.50 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลเข้าสะสม 91.868 ล้าน ลบ.ม.

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังมีหายพื้นที่ที่ยังเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำอุปโภคและบริโภค ทางกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้มีการติดตามสถานการณ์และปฏิบัติการฝนหลวงทุกวันเมื่อสภาพอากาศเหมาะสม เพื่อเร่งช่วยแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกรและประชาชนให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดยผลรวมการปฏิบัติการฝนหลวงตั้งแต่วันที่ 3กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2563มีการตั้งหน่วยปฏิบัติการรวม 12หน่วย ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง รวม 186วัน มีฝนตกจากการปฏิบัติการรวม 184วัน คิดเป็นร้อยละ 98.92 จำนวนเที่ยวบินที่ทำการปฏิบัติการฝนหลวง รวม”4,756 เที่ยวบิน คิดเป็น 7,094 ชั่วโมงบิน มีรายงานฝนตกรวม 67จังหวัด ทำให้มีพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวง 194.32 ล้านไร่ พื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ รวม 205แห่ง ประกอบด้วยเขื่อนขนาดใหญ่ 34แห่ง และขนาดกลาง 171แห่ง สามารถเติมน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ รวม 1,583.183ล้านลูกบาศก์เมตร