“มกอช.”หนุนเกษตรกรเลี้ยง “จิ้งหรีด” สร้างรายได้ช่วงวิกฤติโควิด-19

“มกอช.”หนุนเกษตรกรเลี้ยง “จิ้งหรีด” 

สร้างรายได้ช่วงวิกฤติโควิด-19 

 

“มกอช.”ลงพื้นที่แปลงใหญ่จิ้งหรีดจ.สุโขทัย     จัดสัมมนาเตรียมพร้อมเกษตรกรเข้าสู่มาตรฐานGAP-เสริมเขี้ยวเล็บระเบียบส่งออกผู้ประกอบการ    พุ่งเป้าหนุนเกษตรกรสร้างรายได้ช่วงโควิด-19 ชี้เลี้ยงง่าย  รายได้งาม-ตลาดส่งออกโต  เล็งเจาะตลาดใหม่ในเม็กซิโก 

หลังจากที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(FAO) ได้ส่งเสริมให้คนหันมาบริโภคจิ้งหรีด  เนื่องจากเป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกใหม่ที่มีราคาถูก และสามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น   ปัจจุบันมีการค้าขายจิ้งหรีดในรูปแบบสด แช่แข็ง รวมถึงทำการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ทอด คั่ว หรือบรรจุกระป๋อง รวมทั้งทำเป็นผงบด เพื่อแปรรูปเป็นแป้งที่นำไปเป็นส่วนผสมในการผลิตผลิตภัณฑ์เบเกอรี่และอาหารแปรรูปหลากหลาย

ในเรื่องดังกล่าว   นางสาวจูอะดี    พงศ์มณีรัตน์  เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.)  มีนโยบายส่งเสริมการสร้างรายได้ของเกษตรกรด้วยการเลี้ยงจิ้งหรีดในรูปแบบแปลงใหญ่ อย่าง กว้าง ขวางมากขึ้น เนื่องจากมองว่าจิ้งหรีดเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่มีอนาคตที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ    ที่สำคัญจิ้งหรีดเป็นสัตว์ที่เลี้ยงใช้น้ำน้อย ต้นทุนการผลิตต่ำ  เลี้ยงง่ายใช้เวลาแค่ 45วันก็สามารถเก็บเกี่ยวรายได้ได้   เหมาะกับการส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเป็นเป็นอาชีพที่สร้างสร้างรายได้ให้เกษตรกรในช่วงวิกฤติโควิด-19ได้      นอจากนี้  มกอช. ยังเล็งเห็นถึงศักยภาพ และความเป็นไปได้ของตลาดแมลงเพื่อการบริโภค    จึงเร่งส่งเสริม ผลักดันการเปิดและขยายตลาด การส่งออกสินค้าแมลงจิ้งหรีดและผลิตภัณฑ์ โดยมุ่งเป้าการเปิดตลาดไปยังสหภาพยุโรป และประเทศเม็กซิโกซึ่งเป็นตลาดใหม่

ล่าสุดได้มอบหมายให้นายครรชิต    สุขเสถียร รองเลขาธิการมกอช.    ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าการส่งเสริมการยกระดับการเลี้ยงจิ้งหรีด GAP ภายใต้นโยบายการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย และได้จัดสัมมนาเรื่อง “รู้ขั้นตอนการส่งออก ยกระดับจิ้งหรีดไทย” เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการขั้นตอนการเลี้ยงภายใต้มาตรฐานGAP และความรู้เกี่ยวกับการส่งอออกในขั้นตอนการส่งออก ยกระดับจิ้งหรีดไทยแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยและใกล้เคียง   ณ ฟาร์มจิ้งหรีดชุติกาญจน์ จังหวัดสุโขทัย  ตั้งแต่ขั้นตอนการเข้าสู่กระบวนการตามมาตรฐาน มกษ. 8202-2560 (GAP ฟาร์มจิ้งหรีด)  ประโยชน์และความสำคัญของ GAP ฟาร์มจิ้งหรีด รวมถึงการ“เตรียมความพร้อมโรงงานส่งออก”   ตั้งแต่การตรวจรับรองสถานประกอบการและผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดเพื่อการส่งออก   กฎระเบียบ ข้อกำหนดการนำเข้า และมาตรการของประเทศคู่ค้าสำคัญ   การยกระดับและผลักดันจิ้งหรีดสู่ตลาดต่างประเทศ  เรียกว่าติวเข้มทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบการควบคู่กันเพื่อเตรียมพร้อมในการผลิตและเตรียมเจาะตลาดจิ้งหรีดในตลาดโลกที่กำลังมีแนวโน้มสดใส

นายครรชิต  กล่าวว่า  ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย มกอช. ได้ประกาศมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สำหรับฟาร์มจิ้งหรีด (มกษ.8202-2560) เป็นมาตรฐานทั่วไป เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อความปลอดภัยของผลิตผลจากจิ้งหรีด โดยมีกรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการตรวจรับรองตามมาตรฐานฟาร์มจิ้งหรีด   ทั้งสายพันธุ์ทองดำ ทองแดง และสะดิ้ง ซึ่งมีกำลังการผลิตจิ้งหรีดรวมมากกว่า 7,000 ตันต่อปี และสามารถป้อนตลาดภายในและต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาทต่อปี เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรในช่วงหลังการทำนาหรือในช่วงฤดูแล้ง

 “ที่ผ่านมา มกอช. ได้ส่งเสริมความรู้ทางเทคนิคให้แก่เกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่จิ้งหรีดที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดตามมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับฟาร์มจิ้งหรีด (มกษ.8202-2560) คู่มือการตรวจประเมิน ขั้นตอนการยื่นขอการรับรอง การจัดทําคู่มือปฏิบัติงานประจำฟาร์ม และการจดบันทึกข้อมูลในแบบฟอร์มฯ เพื่อให้เกษตรกรมีความพร้อมในการยื่นขอการรับรองมาตรฐานฟาร์มจิ้งหรีดจากกรมปศุสัตว์ได้” นายครรชิต  กล่าว

 

สำหรับประเทศเม็กซิโก ถือเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ มกอช. จึงร่วมกับกรมปศุสัตว์ เร่งดำเนินการขอเปิดตลาดรายการสินค้าผงแป้งจิ้งหรีดและจิ้งหรีดแช่แข็ง (สะดิ้ง) ของไทยในเม็กซิโก กับสำนักงานแห่งชาติด้านสุขอนามัยความปลอดภัย และคุณภาพของการเกษตรและอาหารของเม็กซิโก หรือ SENASICA แล้วเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2563 ขณะนี้อยู่ในระหว่างรอการพิจารณาและการตอบกลับจากทางเม็กซิโก    ในขณะที่ตลาดส่งออกของไทยอยู่ประมาณปีละ 1,000 ล้าน   ซึ่งปัจจุบันกระทรวงเกษตรฯได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมเกษตรกรทั่วประเทศเลี้ยงจิ้งหรีดเพื่อเป็นอาชีพอย่างกว้างขวาง  และการกำกับดูแล ผ่านการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มจิ้งหรีด มกษ. 8202-2560 หรือ GAP ฟาร์มจิ้งหรีด และการกำหนดจิ้งหรีดเป็นสัตว์ชนิดอื่นภายใต้ พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558   รวมทั้งได้กำหนดนโยบายการเกษตรแบบแปลงใหญ่ขึ้น   โดยเป็นการดำเนินงานในลักษณะของการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อยในการวางระบบการผลิตและการบริหารจัดการในพื้นที่แปลงใหญ่ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการผลิตสินค้าเกษตรโดยยึดพื้นที่และสินค้าเกษตรเป็นหลัก ทำให้เกิดการประหยัดจากขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้น เป็นการเพิ่มอำนาจการต่อรองของเกษตรกร

ด้านนางสาวชุติกาญจน์   เจื้อยแจ้ว    ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงจิ้งหรีดแปลงใหญ่ชุติกาญจน์ ตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย    กล่าวว่า   ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น 36 ราย มีการเลี้ยงจิ้งหรีดในระบบโรงเรือนทั้งแบบปิด และแบบเปิด ผ่านการรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงจิ้งหรีด GAP ปัจจุบันตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก สวิสเซอร์แลนด์ ฯลฯ ส่วนลูกค้าในประเทศ จะเน้นการจำหน่ายทางออนไลน์ ทั้งปลีก-ส่ง สินค้าส่วนใหญ่เน้นการแปรรูป ได้แก่ ผงโปรตีนจากจิ้งหรีด 100% ซึ่งนำไปเป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ จิ้งหรีดอบกรอบปรุงรส ข้าวเกรียบ คุกกี้ และน้ำพริก โดยมีรายได้ต่อเดือนประมาณ 1,600,000 บาท หรือประมาณ 19,200,000 บาทต่อปี ซึ่งสมาชิกของกลุ่มจะเน้นเลี้ยงจิ้งหรีดพันธ์สะดิ้งเป็นหลัก ซึ่งแต่ละเดือนจะมีผลผลิตหลายสิบตัน แต่ปริมาณที่เลี้ยงได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด โดยเฉพาะผงโปรตีนจากจิ้งหรีด ร้อยละ 90 ของปริมาณที่ผลิตได้จะส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ มีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่จำหน่ายภายในประเทศ

 

 

 

You May Have Missed!

1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
คณะกรรมการบริหารโรงเรียนปลูกปัญญา แต่งตั้ง “บิ๊กทิน” ผจก.ฟุตซอลทีมชาติไทย  เป็นประธานที่ปรึกษาโรงเรียน
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ เตรียมจัดงานใหญ่ส่งท้ายปี งานมหกรรม ภูมิพลังแผ่นดิน
1 Minute
กิจกรรมเพื่อสังคม
ไม่สนคำ ว่าทำบุญเอาหน้า…เสี่ยเดย์ นักบุญเจ้าเดิมช่วยการศึกษาอีกกว่า 3 ล้าน
0 Minutes
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จัดงานวันสถาปนาครบรอบ 53 ปี ชูแนวคิด ทุ่มเทอย่างชาญฉลาด เพื่อสร้างประสบการณ์สุขภาพที่เหนือชั้น เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เพิ่มการยอมรับและมั่นใจกับผู้มารับบริการ