GUSSING RENEWABLE ENERGY (THAILAND)  จับมือ SCG วิจัยและพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าสะอาด ไร้มลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  โรงไฟฟ้าชีวมวลต้นแบบแห่งแรกในเอเชีย 

GUSSING RENEWABLE ENERGY (THAILAND)  จับมือ SCG วิจัยและพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าสะอาด

ไร้มลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  โรงไฟฟ้าชีวมวลต้นแบบแห่งแรกในเอเชีย

 

 

วันที่ 22 สิงหาคม 2563  GUSSING RENEWABLE ENERGY (THAILAND) ผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีแก๊สเชื้อเพลิงสังเคราะห์( Synthetic gas ) แบบเตาคู่ Dual Fluidized bed biomass gasification จากประเทศออสเตรีย เข้ามาใช้ในประเทศไทย จับมือ SCG วิจัยและพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าสะอาด ไร้มลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โรงงานไฟฟ้าชีวมวลชุมชนหนองบัว จ.นครสวรรค์ ขนาด 1 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวมวลต้นแบบแห่งแรกในเอเชีย ส่องเทรนด์ดีมานด์การใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง พร้อมเปิด 15-20 โครงการในปี 63- 65 ขยายเป็น 50 เมกะวัตต์ และเตรียมทดสอบระบบโรงไฟฟ้า ชีวมวลในประเทศญี่ปุ่นภายในปี 63

นายไมเคิล เมสเนอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กุสซิ่ง รีนิวเอเบิ้ล เอ็นเนอร์จี (ประเทศไทย) จำกัด (GUSSING RENEWABLE ENERGY (THAILAND) CO.,LTD.) ผู้ดำเนินธุรกิจวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนนำเทคโนโลยีแก๊สเชื้อเพลิงสังเคราะห์แบบ Dual Fluidized bed biomass gasification (DFB) จากประเทศออสเตรีย ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า บริษัทได้ร่วมมือกับบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)(SCG) เพื่อวิจัยและถ่ายทอดความรู้และสาธิตโรงไฟฟ้าชีวมวลในชุมชนหนองบัว เป็นต้นแบบ เพื่อสร้างพลังงานสะอาด รองรับความต้องการในการใช้พลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นภายในประเทศ โดยพัฒนาโรงงานผลิตไฟฟ้าชีวมวลชุมชนหนองบัว ให้เป็นโรงงานไฟฟ้าพลังงานสะอาดแห่งแรกในเอเชีย ที่ตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ บนเนื้อที่กว่า 6 ไร่ ด้วยงบลงทุนกว่า 100 ล้านบาท ขนาดกำลังการผลิต 1 เมกะวัตต์ เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เริ่มการดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2557

โรงงานไฟฟ้าชีวมวลชุมชนหนองบัว ถือเป็นโรงงานไฟฟ้าชุมชนต้นแบบของโรงไฟฟ้าชุมชน เพื่อเศรษฐกิจฐานรากตามนโยบายของรัฐบาล จากกระบวนการผลิตไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าที่สะอาดและทันสมัย ในรูปแบบเทคโนโลยีแก๊สเชื้อเพลิงสังเคราะห์แบบ Dual Fluidized bed biomass gasification (DFB) เป็นที่ยอมรับระดับโลก ด้วยเทคโนโลยีมีความยืดหยุ่นสูงในการใช้วัตถุดิบจากผลผลิตทางการเกษตรที่หลากหลาย ของเสียจากขยะชุมชน เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวล

“เทคโนโลยี DFB เป็นระบบปิด ใช้น้ำน้อย ไม่มีน้ำเสีย ใช้เชื้อเพลิงน้อย หลักการทำงานใช้หลักการทำงานการเผาไหม้แบบไม่สมบูรณ์ ที่ไม่ใช่การเผาวัตถุดิบเชื้อเพลิงโดยตรง แต่ใช้ทรายร้อน ประมาณ 800-850 องศาเซ็นติเกรด เป็นตัวนำความร้อนไปเผาเชื้อเพลิง โดยจะมีช่องว่างระหว่างนำท่อแก๊สเป็นสุญญากาศเพื่อลดการสูญเสียความร้อน แล้วผ่านท่อน้ำวนด้วยระบบหล่อเย็น (Cooling Tower) เกิดเป็นไอน้ำ จนกลายเป็นแก๊สมีเทนบริสุทธ์ และผลลัพธ์ที่ได้คือก๊าซที่สะอาดและให้พลังงานซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าไฮโดรเจน หรือก๊าซธรรมชาติสังเคราะห์ (SNG) ในที่สุด โดยเทคโนโลยีดังกล่าวปราศจากมลพิษและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นส่วนช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับชุมชนในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจชุมชน จากการที่ประชาชนนำเศษของผลผลิตทางการเกษตรมาขาย ให้บริษัททำเชื้อเพลิง” นายไมเคิลกล่าว

ด้านเทรนด์ความต้องการไฟฟ้าของประเทศไทยในปัจจุบัน มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (Peak) ในปี 2563 คาดว่าจะอยู่ที่ 37,437 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้น 0.3% จากปีก่อน และสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น โดยไฟฟ้าถือเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ จึงส่งผลให้บริษัทเลือกประเทศไทย เป็นฐานการผลิตพลังงานไฟฟ้าชีวมวลโครงการต้นแบบนำร่อง       สำหรับแผนการดำเนินงานและเป้าหมายของบริษัท บริษัทวางแผนสร้างห้องเย็น ( Cold storage room ) ให้กับชุมชนหนองบัวได้ใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนเหลือทิ้ง ( Waste heat) จำนวนมากนำมาเปลี่ยนเป็นความเย็นภายในปี 2564 ในการจัดหาเทคโนโลยีและได้ร่วมวิจัยและพัฒนาเสร็จสมบูรณ์แล้วบริษัทจึงมีความประสงค์ที่จะส่งเสริมด้านการพัฒนาชุมชนให้กับผู้พัฒนาโครงการสร้างความสัมพันธ์ร่วมกับ SCG เพื่อจัดหาระบบ GRETHA DFB ในราคาคงที่และกำหนดการก่อสร้างที่เชื่อถือได้ให้กับ “โครงการไฟฟ้าชุมชน” ทั่วประเทศไทย โดยต้นทุนการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 1 เมกะวัตต์ ด้วยเทคโนโลยี DFB ในประเทศไทย อยู่ที่ประมาณ 100 ล้านบาท จะมีต้นทุนต่ำกว่าเมื่อเทียบกับ Gussing Austria ที่ใช้งบลงทุนประมาณ 300 ล้านบาท

ทั้งนี้บริษัทตั้งเป้าคาดว่าจะสามารถขยายการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย 50 เมกะวัตต์ อีกจำนวน 15-20 โครงการในปี 2563-2565 พร้อมสร้างศูนย์สาธิตการผลิตไฮโดรเจนในชุมชนหนองบัวในปี 2564 ร่วมกับพันธมิตรสำนักวิจัยของไทย เพื่อฝึกอบรมผู้ประกอบการโรงงานในอาเซียนที่โรงงานไฟฟ้าชีวมวลชุมชนหนองบัว

นอกจากนี้บริษัทร่วมกับ SCG สร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ประเทศญี่ปุ่นเสร็จเป็นที่เรียบร้อย โดยเตรียมเดินระบบเพื่อเริ่มทดสอบกำลังผลิตภายในปี 2563 ผ่านสัญญาระบบบล็อกเชน ซึ่งติดตามการจัดหาวัตถุดิบและ การเปลี่ยนเป็นพลังงาน ส่งผลดีต่อเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น

อนึ่ง โรงไฟฟ้าชุมชนใน Gussing Austria เป็นบริษัทแม่ของบริษัท กุสซิ่ง รีนิวเอเบิ้ล เอ็นเนอร์จี (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินธุรกิจมานานกว่า 15 ปี ถือเป็นผู้จัดหาพลังงานสะอาดและน้ำร้อนให้กับชุมชน Gussing ซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนแรกของโลกที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่อันดับ 1 ของโลก

 

You May Have Missed!

0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
สาวผวาหนัก ถูกโจรซุ่มชิงทรัพย์ในลานจอดรถห้างดังย่านแคราย พบคนร้ายเป็นหนี้กว่า 5 แสนบาท
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ขยี้ตารัวๆ! Ar-Lek Home ทาวน์โฮมหลังใหญ่ สไตล์มินิมอล ย่านนครปฐม ราคาเริ่มต้น 1.99 ล้านบาท
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ร่วมสร้างกรุงเทพในฝันประชาธิปัตย์ก้าวใหม่ กรุงเทพเผชิญวิกฤติทุกมิติ ฝุ่นพิษ PM 2.5  จราจร คนว่างงาน อาชญากรรมเมืองจม น้ำเน่า น้ำท่วม ฯลฯ
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สภท.) จับมือกูรูด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม จัดสัมมนาสื่อมวลชน ชู “ไฟฟ้า” คู่ “การลดคาร์บอน” หัวใจสำคัญของการพัฒนาในพื้นที่ EEC