อพท.พื้นที่พิเศษ ๔ ขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ ด้วยการสร้างนักสื่อความหมายเชิงสร้างสรรค์ ทั่วจังหวัดสุโขทัย ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๓
สำนักงานพื้นที่พิเศษ ๔ (อพท.๔ )ร่วมสถานวิจัยความเป็นเลิศทางวิชาการ ด้านการท่องเที่ยวมหาวิทยาลัยนเรศวร ขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ด้วยการสร้างนักสื่อความหมายเชิงสร้างสรรค์ ยกระดับทางความสามารถของพื้นที่ ฝึกการเป็นนักเล่าเรื่อง หรือนักสื่อความหมายเชิงสร้างสรรค์ที่ดี เชื่อมโยงนำเสนอเรื่องราวในท้องถิ่นเข้าถึงทุนทางวัฒนธรรมชุมชน ตามแผนงานโครงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทุนทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน โดยดร.ประครอง สายจันทร์ ผจก.อพท.๔ มอบหมายนโยบายการขับเคลื่อนเมืองสรา้งสรรค์ทุกกิจกรรมเเบบมีส่วนร่วมบูรณาการทุกหน่วยงาน พัฒนาตามเกณฑ์GSTC ด้าน C05 เรื่องการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง วัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรม ได้แก่ ๑.เพื่อสร้างนักสื่อความหมายพัฒนาศักยภาพชุมชนเมืองสร้างสรรค์ จังหวัดสุโขทัย ,๒. เพิ่มศักยภาพ GSTC C05 การให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว ,๓.เพื่อเยียวยาและฟื้นฟู มาตราการช่วยเหลือมัคคุเทศก์ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย ภายหลังสถานการณ์ COVID ๑๙ คลี่คลาย ,๔. เพื่อสร้างมูลค่าให้กับกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีอยู่ในจังหวัดสุโขทัย ,๕. เพื่อสร้างการออกแบบเล่าเรื่องเส้นทางเมืองสร้างสรรค์จังหวัดสุโขทัย วิทยากรโดย ๑) ดร.จารุวรรณ แดงบุบผาผู้อำนวยการสถานวิจัยความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการท่องเที่ยวมหาวิทยาลัยนเรศวร
๒) นายธนพงษ์ บุญญะฤทธิ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยนเรศวร ,๓) นางสาวนพรัตน์ รามสูต มัคคุเทศก์เชี่ยวชาญมรดกโลก หลักสูตรการพัฒนา INTERPRETATION FOR CREATIVE CITY
กิจกรรมในครั้งนี้ อพท.๔ หวังเป็นอย่างยิ่ง ว่าเยาวชนชุมชนกลุ่มนี้จะช่วยพัฒนาการเล่าเรื่องสุโขทัยเมืองสรา้งสรรค์ เพิ่มศักยภาพ GSTC C05 การให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว เพิ่มความสรา้งสรรค์เพิ่มมูลค่ากิจกรรมทางการท่องเที่ยวเกิดรายได้ลงเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน ดำเนินงานโดย ชวมล เเพจุ้ย จนท.อพท.๔, นางสาวอภิญญา พันธุ์ศรี,นายอารีฟาน โต๊ะหมัดและ ,นายอนุศิษฏ์ พุ่มชะบา เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ อพท.๔
ภาพข่าวโดย ชวมล แพจุ้ย จนท.อพท.๔