กรมชลฯ กางแผนพัฒนาอ่างเก็บน้ำเหมืองตะกั่ว ครอบคลุม 10 หมู่บ้าน

 

กรมชลฯ กางแผนพัฒนาอ่างเก็บน้ำเหมืองตะกั่ว ครอบคลุม 10 หมู่บ้าน

 

กรมชลประทาน เผยแนวทางพัฒนาอ่างเก็บน้ำเหมืองตะกั่ว จังหวัดพัทลุง ชี้ใช้วิธีก่อสร้างเขื่อนดิน “ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ปรับปรุงฝายเดิม พร้อมระบบส่งน้ำ” เก็บกักน้ำได้กว่า 10.14 ล้านลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์กว่า 16,475 ไร่ ครอบคลุม 10 หมู่บ้าน เล็งปักธงหัวงานอ่างเก็บน้ำตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน

เมื่อวันที่ 30 ก.ค. 63 กรมชลประทานได้เชิญทางทีมข่าว พร้อมสื่อมวลชนมากมายเดินทางมายัง .พัทลุง ซึ่งการลงพื้นที่ครั้งนี้ ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน ได้มอบหมายให้ นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นตัวแทนติดตามโครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น โครงการอ่างเก็บน้ำเหมืองตะกั่ว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในการเก็บกักน้ำของโครงการอ่างเก็บน้ำเหมืองตะกั่ว จังหวัดพัทลุง จึงได้มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อสรุปทางเลือกในการพัฒนาโครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำเหมืองตะกั่ว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดพัทลุง ให้มีการก่อสร้างที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำ ให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึง โดยที่ประชุมมีมติเลือกแนวทางพัฒนาด้วยการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ปรับปรุงฝายเดิม พร้อมระบบส่งน้ำ ซึ่งก่อนที่จะได้ข้อสรุปในการเลือกโครงการดังกล่าว กรมชลประทานได้เสนอทางเลือกในการพัฒนาที่เหมาะสมที่สุด โดยแบ่งเป็น 3 ทางเลือก ได้แก่ 1) การพัฒนาโครงการโดยการปรับปรุงฝายเดิมและก่อสร้างฝายทดน้ำเพิ่มเติม 2) การพัฒนาโครงการโดยโครงการประเภทสระเก็บน้ำพร้อมปรับปรุงฝายเดิม และ 3) การพัฒนาโครงการโดยการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ปรับปรุงฝายเดิม พร้อมระบบส่งน้ำ

 

สำหรับทางเลือกที่ 1 การพัฒนาโครงการโดยการปรับปรุงฝายเดิมและก่อสร้างฝายทดน้ำเพิ่มเติม จะต้องปรับปรุงฝายเดิมและก่อสร้างฝายทดน้ำเพิ่มเติมตามลำน้ำรวม 6 แห่ง ซึ่งมีความกว้าง เฉลี่ย 15 เมตร ลึกประมาณ 3 เมตร รูปแบบตัวฝายเป็นฝายคอนกรีต สูง 2 เมตร จะมีความจุหน้าฝายทดน้ำรวมทั้งสิ้น 223,500 ลบ.ม. แบ่งเป็น ปรับปรุงฝายทดน้ำคลองท่ายูง 1 แห่ง ความจุหน้าฝานทดน้ำ 14,625 ลบ.ม. , ปรับปรุงฝายทดน้ำคลองบ้านใหม่ 1 แห่ง ความจุหน้าฝายทดน้ำ 42,750 ลบ.ม. และการก่อสร้างฝายทดน้ำแห่งใหม่ 4 แห่ง ได้แก่ ฝายทดน้ำบ้านเหมืองตะกั่ว ความจุหน้าฝายทดน้ำ 21,000 ลบ.ม. , ฝายทดน้ำบ้านเกาะยูง ความจุหน้าฝายทดน้ำ 21,375 ลบ.ม. , ฝายทดน้ำบ้านใหม่ ความจุหน้าฝายทดน้ำ 33,750 ลบ.ม. , และฝายทดน้ำบ้านสายคลอง ความจุหน้าฝายทดน้ำ 90,000 ลบ.ม. โดยโครงการดังกล่าวจะทำให้พื้นที่ได้รับประโยชน์ 6,188 ไร่ คิดเป็นพื้นที่ชลประทาน 3,800 ไร่ ในฤดูฝนและฤดูแล้ง ประมาณ 900 ไร่ อย่างไรก็ดี ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ สำหรับแหล่งน้ำที่จะต้องใช้ในการอุปโภค-บริโภค

ทางเลือกที่ 2 เป็นทางเลือกการพัฒนาโครงการโดยโครงการประเภทสระเก็บน้ำ พร้อมปรับปรุงฝายเดิม ซึ่งจะเป็นการปรับปรุงฝายที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และเสนอแนะให้ปรับปรุงฝายทดน้ำเดิม จำนวน 2 แห่ง คือ ฝายทดน้ำคลองท่ายูง และฝายทดน้ำคลองบ้านใหม่ รวมกับศักยภาพสระเก็บน้ำ 8 แห่ง จะสามารถเก็บกักน้ำรวมทั้งสิ้นได้ประมาณ 0.45 ล้านลบ.ม. โดยสามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่รับประโยชน์กว่า 6,172 ไร่ คิดเป็นพื้นที่ชลประทาน 4,629 ไร่ และฤดูแล้ง ประมาณ 1,200 ไร่ ซึ่งถือว่าโครงการดังกล่าว ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ สำหรับแหล่งน้ำที่ต้องใช้ในการอุปโภค-บริโภค

นายเฉลิมเกียรติ กล่าวอีกว่า สำหรับทางเลือกที่ 3 เป็นทางเลือกสุดท้าย ซึ่งจะใช้การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ปรับปรุงฝายเดิม พร้อมระบบส่งน้ำ โดยการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ที่ตั้งหัวงานของโครงการตั้งอยู่ที่ บ้านเหมืองตะกั่ว หมู่ที่ 1 ตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง จะมีพื้นที่รับประโยชน์กว่า 16,475 ไร่ คิดเป็นพื้นที่ชลประทานฤดูฝน 11,600 ไร่ และฤดูแล้ง ประมาณ 2,600 ไร่ พร้อมกันนี้ จะปรับปรังฝายทดน้ำคลองท่ายูง 1 แห่ง และฝายทดน้ำคลองบ้านใหม่อีก 1 แห่ง ซึ่งจะสามารถทำให้มีแหล่งน้ำเพียงพอ สำหรับการอุปโภค-บริโภคแก่ตำบลหนองธง และบริเวณใกล้เคียงด้วย

“ทางเลือกที่ 3 เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะสามารถเก็บกักน้ำได้กว่า 10.14 ล้านลบ.ม. แตกต่างกับทางเลือกที่ 1 ที่สามารถเก็บกักน้ำได้เพียง 0.22 ล้านลบ.ม. และทางเลือกที่ 2 เก็บน้ำได้เพียง 0.45 ล้นลบ.ม. พร้อมกันนี้ ยังสามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่รับประโยชน์กว่า 16,475 ไร่ และมีความมั่งคงยั่งยืนที่สุดด้วย และในที่ประชุมเห็นด้วยกับทางเลือกที่ 3 มากที่สุด” นายเฉลิมเกียรติ กล่าว

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้สรุปเลือกตำแหน่งที่ตั้งหัวงานอ่างเก็บน้ำคือ บ้านเหมืองตะกั่ว หมู่ที่ 1 ตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง ซึ่งจะสามารถเก็บกักน้ำที่ระดับเก็บกักปกติ +110.00 ม.รทก. ปริมาตรกักเก็บปกติ 10.14 ล้าน ลบ.ม. โดยจะก่อสร้างในรูปแบบของเขื่อนดิน เพราะจากการพิจารณาแล้วมีความเหมาะสมมากที่สุด เมื่อเทียบกับการก่อสร้างแบบเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียว และเขื่อนคอนกรีตบดอัด(RCC) เนื่องจากการสร้างเขื่อนดินมีวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างทั้งชนิดและปริมาณจากบ่อยืมดินที่มีการสำรวจไว้มีความเหมาะสมกับเขื่อนดิน อีกทั้งมีราคาถูก ก่อสร้างง่าย การบำรุงรักษาง่าย และยังมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำ

ทั้งนี้ กรมชลประทานจะใช้ระบบส่งน้ำชนิดระบบท่อส่งน้ำซึ่งเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศบริเวณพื้นที่ซึ่งจะได้รับประโยชน์ที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่นสลับลูกเนินสลับที่ราบ มีความยาวท่อส่งน้ำรวมประมาณ 37.20 โดยท่อส่งน้ำจะจะวางไปตามแนวถนนเดิม และจะไม่กระทบกับที่ดินของประชาชน โดยจะครอบคลุมพื้นที่รับประโยชน์กว่า 16,475 ไร่ คลอบคลุม 9 หมู่บ้าน ในตำบลหนองธง และ 1 หมู่บ้านในตำบลคลองใหญ่ คิดเป็นพื้นที่ชลประทานในฤดูฝน 11,600 ไร่ ฤดูแล้ง 2,600 ไร่

 

 

 

 

 

You May Have Missed!

1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
คณะกรรมการบริหารโรงเรียนปลูกปัญญา แต่งตั้ง “บิ๊กทิน” ผจก.ฟุตซอลทีมชาติไทย  เป็นประธานที่ปรึกษาโรงเรียน
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ เตรียมจัดงานใหญ่ส่งท้ายปี งานมหกรรม ภูมิพลังแผ่นดิน
1 Minute
กิจกรรมเพื่อสังคม
ไม่สนคำ ว่าทำบุญเอาหน้า…เสี่ยเดย์ นักบุญเจ้าเดิมช่วยการศึกษาอีกกว่า 3 ล้าน
0 Minutes
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จัดงานวันสถาปนาครบรอบ 53 ปี ชูแนวคิด ทุ่มเทอย่างชาญฉลาด เพื่อสร้างประสบการณ์สุขภาพที่เหนือชั้น เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เพิ่มการยอมรับและมั่นใจกับผู้มารับบริการ