แกนนำชาวสวนประจวบฯข้องใจ ยกปัญหาแบนลิงกังหวังข้ออ้างนำเข้ามะพร้าวนอก

แกนนำชาวสวนประจวบฯข้องใจ ยกปัญหาแบนลิงกังหวังข้ออ้างนำเข้ามะพร้าวนอก

 

 

วันที่ 9 กรกฎาคม นายประมวล พงศ์ถาวราเดช สส.ประจวบคีรีขันธ์ เขต 3 พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการ ( กมธ.) ศึกษาและแก้ไขปัญหาราคามะพร้าวตกต่ำ สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ได้เข้าร่วมรับฟังการประชุมเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงที่กระทรวงพาณิชย์ ภายหลังมีการเสนอแนวทางจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดแก้ไขปัญหากรณีองค์กรพิทักษ์สัตว์ป่าในต่างประเทศ ระบุว่าไทยมีการใช้ลิงกังเก็บมะพร้าวเข้าข่ายทารุณกรรมสัตว์ ทำให้มีกระทบกับการส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำกะทิไทยไปจำหน่ายในประเทศอังกฤษ จากนั้นมีข้อสรุปให้หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ดูแลคุ้มครองสัตว์ป่าบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เพื่อแก้ไขข้อกล่าวหาประเด็นการทรมานสัตว์และต้องใช้ลิงเก็บมะพร้าวให้น้อยลง ซึ่งน่าจะมีผลกรทบกับอาชีพรับจ้างเก็บมะพร้าว นอกจากนั้นองค์พัฒนาเอกชนในประเทศจะเข้าไปตรวจสอบปัญหาสวัสดิภาพของสัตว์ป่า เนื่องจากลิงกังเป็นสัตว์คุ้มครอง ขณะที่องค์กรด้านสัตว์ป่าต่างประเทศไม่ได้สนใจเรื่องการใช้กังจะเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม เป็นวิถีชีวิตดั้งเดิม หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น

นายประมวล กล่าวว่า สำหรับโรงงานผลิตกะทิส่งออก ต้องทำบันทึกข้อตกลงกับล้งมะพร้าว หรือชาวสวน เพื่อจัดทำบาร์โค็ดบนฉลากสินค้ากะทิกล่องให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบ วันเดือนปีที่ผลิต แหล่งที่มาของวัตถุดิบก่อนการแปรรูป นำไปสู่การตรวจสอบย้อนหลังว่าแหล่งผลิตวัตถุดิบมีการใช้ลิงกังเก็บมะพร้าวหรือไม่ ทั้งนี้สำหรับการนำมะพร้าวจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาแปรรูปผลิตเพื่อส่งออกโรงงานกะทิก็ต้องชี้แจงข้อมูลตามข้อเท็จจริง เนื่องจากประเทศเวียดนามและอินโดนีเซียไม่ได้ใช้ลิงกังเก็บมะพร้าว และล่าสุดยืนยันว่ามีเพียง 2 ผลิตภัณฑ์น้ำกะทิสำเร็จรูปจากไทยที่ได้รับกระทบจากการจำหน่ายประเทศอังกฤษ

 

นายพงษ์ศักดิ์ บุตรรักษ์ แกนนำเครือข่ายชาวสวนมะพร้าว จ.ประจวบคีรีขันธ์กล่าวว่า ขณะนี้หลายฝ่ายข้องใจว่าการแบนน้ำกะทิไทยในประเทศอังกฤษจากการใช้ลิงกังเก็บมะพร้าวมีวาระซ่อนเร้นเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าหรือไม่ เนื่องจากเป็นปัญหาเก่าที่ผู้เกี่ยวข้องในประเทศได้ชี้แจงข้อเท็จจริงให้ทราบแล้วนานหลายเดือน นอกจากนั้นการนำเข้าน้ำกะทิในประเทศอังกฤษมีสัดส่วนไม่มาก จึงไม่น่ามีผลกระทบกับตลาดส่งออก ดังนั้นสิ่งที่น่ากังวลว่าหลังจากนี้ ปัญหาดังกล่าวอาจถูกนำมาเป็นข้ออ้างในการนำเข้าผลิตภัณฑ์มะพร้าวจากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ตามกรอบเสรีอาเซียนหรือ อาฟต้า ภาษีศูนย์เปอร์เซ็นแทนการนำเข้าตามกรอบ WTO ผู้นำเข้าต้องแบกภาระภาษีน้ำเข้า 54% แต่ขอคืนภาษีได้หากผลิตเพื่อส่งออก ขณะที่ราคาผลผลิตมะพร้าวในประเทศค่อนข้างสูง ผู้ประกอบการโรงงานกะทิส่งออกอาจมีปัญหากระทบกับต้นทุนการผลิต และส่วนใหญ่ต้องการให้รัฐบาลเปิดให้นำเข้าตามกรอบอาฟต้า

 

นายพงษ์ศักด์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมามีตัวเลขจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรหรือ สศก. นำเข้ามะพร้าวแห้งและน้ำกะทิแช่แข็งมีมูลค่าค่อนข้างสูงจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อนำมาแปรรูปในประเทศเพื่อการส่งออกแล้วตีตราเมดอินไทยแลนด์ไปจำหน่าย เนื่องจากที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์น้ำกะทิจากประเทศไทยถือว่ามีคุณภาพสูงอันดับ 1 ของโลก โดยประเทศคู่ค้าส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่มีคุณภาพต่ำ นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การนำเข้าหากผู้ประกอบการโรงานแปรรูปซื้อมะพร้าวนอก 1 ส่วนจะต้องซื้อมะร้าวไทยในอัตรา 3 ส่วนไปแปรรูป แต่ปัจจุบันลดเหลือซื้อมะพร้าวนอก 1 ส่วนกำหนดให้ซื้อผลผลิตในไทยเพียง 2.5 ส่วนเท่านั้น โดยไม่ได้เปิดรับฟังความเห็นจากตัวแทนภาคประชาชน

พิสิษฐ์ รื่นเกษม ข่าวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

You May Have Missed!

0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
วว. คว้ารางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568 ประเภทวิทยานิพนธ์ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช  / วิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย 
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
มาร์ส ส่งท้ายโครงการ SWAP ปีที่ 4 อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยการเปิดตัวสวนสุนัขแห่งใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
สาขาแรกในไทย กับ ร้านข้าวหน้าเทมปุระระดับพรีเมียม “KANEKO HANNOSUKE”  เปิดประสบการณ์ใหม่ของข้าวหน้าเทมปุระแบบต้นตำรับจากโตเกียวที่อยากให้ลิ้มลอง ณ โครงการใหม่ใจกลางเมือง One Bangkok
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
วว. ร่วมประกาศจัดงาน “One Stop Open House 2024” กระทรวง อว. พร้อมสานต่อความสำเร็จ “อว.แฟร์” เปิดโลกการศึกษา…สู่อนาคตที่เยาวชนไทยออกแบบเองได้