วิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี ร่วมกับบ้านห้วยเกรียบ ประจวบคีรีขันธ์ ตัดผักแจก ศูนย์เด็กเล็ก
โรงเรียน สาธารณสุข ปกครอง ชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด -19
วันที่ 09 ก.ค.63 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดี ปฏิบัติราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี พร้อมคณะอาจารย์ นิสิต นักศึกษา สำนักงานโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นตามศาสตร์พระราชา ร่วมกับ นายวัชรินทร์ จันทร์เดช ผู้ใหญ่บ้านห้วยเกรียบ ประธานเครือข่ายพัฒนาองค์กรชุมชนจังหวัดประจวบฯ และชาวบ้าน 4 ต.ทอมงคล อ.บางสะพาน จ.ประจวบฯ และหน่วยงานที่ร่วมกันส่งเสริม ช่วยกันตัดผักที่ได้ปลูกในพื้นที่ ครึ่งไร่คลายวิกฤติ หลัง ไวรัส โควิด-19 ซึ่งเป็นอาหารที่ปลอดภัย ไร้สารเคมี เช่น ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักกาด ผลิตโดยชุมชน นำมาล้างทำความสะอาดผลผลิต บรรจุห่อ ติดสติ๊กเกอร์โลโก้ ของมหาวิทยาลัยราชัฏเพชรบุรี
จากนั้นได้มอบให้กับ นายธงชัย แสงโพลง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านในล็อค ต.ทองมงคล และผู้แทนศูนย์เด็กเล็กจำนวน 4 แห่ง ในตำบลทองมงคล เพื่อนำไปเข้าโครงการอาหารประจำโรงเรียนและอาหารสำหรับเด็กเล็ก นอกจากนี้ได้มอบให้กับ นายณัฐพงศ์ ไกรนรา ปลัดอำเภอบางสะพาน นำแจกจ่ายให้กับข้าราชการอำเภอและอาสาสมัครที่มีส่วนร่วมในการดุแลป้องกันโรคโควิด-19 และได้มอบให้กับสาธารณะสุขอำเภอ เพื่อให้นำไปแจกจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ รวมถึง อ สม.ที่ช่วยงานในเรื่องการป้องกันโรค และผู้แทนชุมชน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พจนารถ บัวเขียว รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เปิดเผยว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ ปิ่นงาม อธิการบดีฯได้มอบหมายให้สำนักงานการพัฒนาท้องถิ่นได้ลงมาทำกับชาวบ้านห้วยเกรียบ ซึ่งเป็นชุมชนต้นแบบ ทำในเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร จึงจัดโครงการหนึ่งไร่คลายวิกฤติ ฟื้นวิถีชีวิต หลังโควิด 19 โดยจุดมุ่งหมายต้องการส่งเสริมการปลูกผักที่ปลอดสารพิษ นำไปแจกจ่ายให้กับผู้ได้รับผลกระทบโควิด ที่สำคัญเป็นการน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสืบสานพระราชปณิธานในหลวงรัชกาลที่ 10 มาบูรณาการเพื่อให้บ้านห้วยเกรียบเป็นชุมชนต้นแบบ ผลิตอาหารที่มีคุณภาพ ซึ่งต่อไปจะต้องมีการศึกษาดูงานได้ที่บ้านห้วยเกรียบแห่งนี้
นายธงชัย แสงโพลง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านในล็อค กล่าวว่า โรงเรียนต้องทำอาหารเลี้ยงเด็ก 400 กว่าคน ซึ่งอาหารบางอย่างต้องซื้อมาจากตลาดอาจจะมียาฆ่าแมลงสะสมอยู่ในพืชผัก และเป็นปัญหาที่ตระหนักอยู่ การที่ได้รับผลผลิตจากโครงการนี้ทำให้เด็กได้บริโภคผักที่ปลอดสารพิษและไม่เกิดผลเสียต่อนักเรียน ทำให้เด็กมีร่างกายที่ แข็งแรง สมบูรณ์อย่างมีคุณภาพ
นายวัชรินทร์ จันทร์เดช ผู้ใหญ่บ้านห้วยเกรียบ ประธานเครือข่ายพัฒนาองค์กรชุมชนจังหวัดประจวบฯ กล่าวว่า ทางหมู่บ้านได้มีการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน ที่พูดถึงเรื่องศาสตร์พระราชาเศรษฐกิจพอพียง จึงประสานกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเข้ามาร่วมสนับสนุน ซึ่งได้ดำเนินการปลูกมาได้ 30 วัน และได้มีการเก็บเกี่ยวในวันนี้ ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เป็นทางออกในสถานการณ์วิกฤติโควิด-19
ขอขอบคุณภาพข่าวจาก พิสิษฐ์รื่นเกษม