กระทรวง อว. ร่วม มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ เอสซีจี มูลนิธิบัวหลวงและธนาคารกรุงเทพ แถลงความสำเร็จ “ร่วมมือ ร้อยใจ รอดภัยแล้ง” ผลักดันชุมชนแก้ปัญหาด้วยตนเอง ตามแนวพระราชดำริ

กระทรวง อว. ร่วม มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ เอสซีจี มูลนิธิบัวหลวงและธนาคารกรุงเทพ

แถลงความสำเร็จ “ร่วมมือ ร้อยใจ รอดภัยแล้ง” ผลักดันชุมชนแก้ปัญหาด้วยตนเอง ตามแนวพระราชดำริ

 

วันนี้ 1 ก.ค.63 ณ ห้องประชุมศาตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ชั้น 3 อาคารอุดมศึกษา1 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้จัดแถลงความสำเร็จ ความร่วมมือ ร้อยใจ รอดภัยแล้ง โดย ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ร่วมกับ มูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ,สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) , เอสซีจี ,มูลนิธิบัวหลวง และ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมแถลงถึงโครงการแก้ปัญหาภัยแล้งที่หน่วยงานรัฐและเอกชน ได้ร่วมมือกัน สนับสนุนให้ชุมชนลุกขึ้นแก้ปัญหาภัยแล้งด้วยตนเอง โดยน้อมนำแนวพระราชดำริมาเป็นแนวทางบริหารจัดการน้ำของชุมชน จนสามารถรอดพ้นภัยแล้งในปี 63 ซึ่งรุนแรงที่สุดในรอบท40 ปี

ในการนี้ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ ประธานกรรมการกิตติมศักดิ์สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ ให้เกียรติ บรรยายพิเศษ ในเรื่อง การจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมทั้งเผยว่า สภาพฝนปัจจุบันที่เปลี่ยนไปจากในอดีตมาก ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วมและขาดแคลนน้ำเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะปีนี้ ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้งรุนแรงมากที่สุดในรอบหลายสิบปี หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน จึงได้ร่วมมือกันสนับสนุนให้ชุมชนลุกขึ้น แก้ปัญหาภัยแล้งด้วยตนเอง โดยน้อมนำแนวพระราชดำริและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการน้ำของชุมชน เริ่มจากความเข้าใจสภาพพื้นที่ ปริมาณน้ำที่มี น้ำที่ต้องการใช้ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับปริมาณน้ำอย่างสมดุล และต้องเข้าถึงความรู้ในการบริหารจัดการน้ำและการใช้เทคโนโลยีมาช่วยวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำ และยังร่วมกัยเอสซีจี มูลนิธิบัวหลวงและธนาคารกรุงเทพ สนับสนุนการพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งน้ำ ช่วยให้ชุมชนแก้ภัยแล้งได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน

“ในวันนี้มีหลายชุมชนที่เป็นตัวอย่างการจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ และเป็นบทพิสูจน์ความสำเร็จจากการน้อมนำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทำให้ชุมชนลุกขึ้นมาพึ่งพาตนเอง รู้จักหาความรู้ในการบริหารจัดการน้ำ ลงมือทำจนสำเร็จได้ เป็นการสร้างหนทางรอดภัยแล้งได้ด้วยตนเอง” ดร.สุเมธ กล่าว

ด้านคุณวีนัส อัศวสิทธิถาวร ผอ. Enterprise Brand Management Office เอสซีจี กล่าวว่า “เอสซีจีได้แรวนำแนวพระราชดำริการบริหารจัดการน้ำ ด้วยการสร้างฝายชะลอน้ำ ในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมรอบโรงงานปูนลำปางตั้งแต่ปีท2550 เพือฟื้นฟูพื้นที่ป่าและคืนสมดุลสู่ระบบนิเวศ พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมชักชวนชุมชนสร้างฝายชะลอน้ำ ทั้งได้ร่วมมือกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ส่งเสริมชุมชนเรียนรู้การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

ตลอดระยะเวลา 13 ปี ที่เอสซีจีและเครือข่าย ได้ทำงานด้านการจัดการน้ำร่วมกัน และสร้างฝายชะลอน้ำไปแล้วซึ่งจะครบ 100,000 ฝาย ในปลายปีนี้

ทั้งนี้ เอสซีจี ได้สานต่อแนวทางดังกล่าวสู่โครงการ “เอสซีจี ร้อยใจ 108 ชุมชนมรอดภัยแล้ง” โดยจะส่งเสริม 108 ชุมชนที่ประสบภัยแล้ง ให้ลุกขึ้นร่วมมือแก้ภัยแล้งด้วยตนเองด้วยการเรียนรู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำรวจและจัดทำแหล่งน้ำในพื้นที่

คุณอาสา สารสิน ประธานกรรมาธิการมูลนิธิบัวหลวง กล่าวว่า มูลนิธิบัวหลวง และธนาคารกรุงเทพ เข้าร่วมโครงการนี้เป็นปีแรก โดยร่วมดำเนินโครงการ “บัวหลวงร่วมชุมชนแก้ภัยแล้ง” กับ 22 ชุมชน ใน 6 จังหวัด ภาคเหลือและอีสาน
“มูลนิธิบัวหลวงและธนาคารกรุงเทพ เชื่อมั่นว่า โครงการแก้ภัยแล้งของ 22 ชุมชน ที่เราร่วมดำเนินการ ไม่เพียงแต่จะช่วยแก้ปัญหาให้ลุมชนได้เย่างยั่งยืน หากยังจะเป็นต้นแบบที่ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้ชุมชนอื่นๆได้เรียนรู้ ดำเนินรอยตาม และขยายผลออกไปยังพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ” นายอาสากล่าว

ดร.ทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ ร่วมแถลงผลความสำเร็จโครงการ โดยกล่าวว่า ธนาคารกรุงเทพได้ร่วมสนับสนุนมูลนิธิอุทกพัฒน์ มาตั้งแต่ปี 255” ในการดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมในพื้นที่ทั่วประเทศมาตลอดทุกปี ซึ่งโครงการบัวหลวงร่วมชุมชนแก้ภัยแล้ง นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาให้แก่ชุมชนที่ร่วมโครงการได้อย่างตรงจุดเป็นรูปธรรม และยั่งยืนแล้ว ยังเป็นโอกาสที่ดีที่ธนาคารจะได้เรียนรู้ไปกับชุมชน ซึ่งจะทำให้ธนาคารเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของแต่ละชุมชนและให้การสนับสนุนได้อย่างเหมาะสม

 

ตลอดจน ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมแถลงถึงแนวทางขยายผลสำเร็จ การส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำ เพิ่มความมั่นคง เศรษฐกิจของชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยกล่าวว่า ภัยแล้งถือเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนในปี 2563 ซึ่งจะต้องบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหลายหน่วยงาน เพื่อให้การแก้ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการน้ำเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ผลสำเร็จของงาน “ร่วมมือ ร้อยใจ รอดภัยแล้ง” นับเป็นตัวอย่างที่ดีของการบูรณาการในการทำงานระหว่างหน่วยงานราชการ กับ ภาคเอกชน เชื่อมโยงไปสู่ประชาชน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยใช้ ชุมชน และ พื้นที่ เป็นศูนย์กลาง ถือเป็นการสร้างความมั่นคงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ผมได้สั่งการให้หน่วยงานในกระทรวง อว. เร่งดำเนินการช่วยเหลือประชาชนตามภารกิจของแต่ละหน่วยงาน โดยบริหารจัดการน้ำชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้ชุมชน นำไปสู่การสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้ท้องถิ่นและชุมชน ทั้งในระยะสั้น ระยะยาว “ ดร.สุวิทย์ กล่าว

สำหรับผลความสำเร็จในการแก้ภัยแล้งปี 2563 ภายใต้โครงการเอสซีจีร้อยใจ 108ชุมชน รอดภัยแล้งและโครงการบัวหลวงร่วมชุมชนแก้ภัยแล้ง ดำเนินการรวม 78 ชุมชน ใน 27 จังหวัด พื้นที่การเกษตร 10,223 ไร่ มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นกว่า 10 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็นน้ำเพื่อการเกษตร 1.22 ล้าน ลบ.ม. น้ำบริโภค 0.3 ล้าน ลบ.ม และอุปโภค 8.57 ล้าน ลบ.ม. มีผู้รับประโยชน์ 13,618 ครัวเรือน หรือ 42,414 ราย

 

 

 

You May Have Missed!

0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
สาวผวาหนัก ถูกโจรซุ่มชิงทรัพย์ในลานจอดรถห้างดังย่านแคราย พบคนร้ายเป็นหนี้กว่า 5 แสนบาท
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ขยี้ตารัวๆ! Ar-Lek Home ทาวน์โฮมหลังใหญ่ สไตล์มินิมอล ย่านนครปฐม ราคาเริ่มต้น 1.99 ล้านบาท
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ร่วมสร้างกรุงเทพในฝันประชาธิปัตย์ก้าวใหม่ กรุงเทพเผชิญวิกฤติทุกมิติ ฝุ่นพิษ PM 2.5  จราจร คนว่างงาน อาชญากรรมเมืองจม น้ำเน่า น้ำท่วม ฯลฯ
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สภท.) จับมือกูรูด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม จัดสัมมนาสื่อมวลชน ชู “ไฟฟ้า” คู่ “การลดคาร์บอน” หัวใจสำคัญของการพัฒนาในพื้นที่ EEC