‘รมช.ประภัตร’ ลุยอีสาน มอบพันธุ์สัตว์ปีกและปัจจัยการผลิต ฟื้นฟูอาชีพหลังประสบอุทกภัย พร้อมเดินหน้าโครงการโคขุนกู้วิกฤติ Covid 19

 

‘รมช.ประภัตร’ ลุยอีสาน มอบพันธุ์สัตว์ปีกและปัจจัยการผลิต ฟื้นฟูอาชีพหลังประสบอุทกภัย

พร้อมเดินหน้าโครงการโคขุนกู้วิกฤติ Covid 19

 

วันนี้ (27 มิ.ย.63) เวลา 11.30 น. นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จ.ศรีสะเกษ จ.อุบลราชธานี จ.ยโสธร จ.อำนาจเจริญ จ.กาฬสินธุ์ จ.มหาสารคาม และ จ.นครราชสีมา ระหว่างวันที่ 26-28 มิ.ย. 63 เพื่อส่งมอบพันธุ์สัตว์ปีกและปัจจัยการผลิต ภายใต้โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบปัญหาอุทกภัยตามแผนปฏิบัติการฟื้นฟูเยียวยาเกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วงและอุทกภัยปี พ.ศ.2562 พร้อมด้วย นายสุรเดช สมิเปรม รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ , นายอาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร , นายครรชิต สุขเสถียร รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และหัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วม

นายประภัตร กล่าวว่า เมื่อเดือนสิงหาคม 2562 หลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับผลกระทบจากพายุโพดุล และพายุคาจิกิ ทำให้เกิดอุทกภัย พื้นที่ทำการเกษตรของได้รับความเสียหาย ทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ และประมงเป็นจำนวนมาก กรมปศุสัตว์จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบปัญหาอุทกภัย โดยเกษตรกรแจ้งความจำนงเพื่อเลือกสัตว์ปีก 1 ชนิด จาก 3 ชนิด ดังนี้ 1. ไก่ไข่เพศเมีย 10 ตัว พร้อมปัจจัยการผลิต 2. เป็ดไข่เพศเมีย 10 ตัว พร้อมปัจจัยการผลิต และ 3. ไก่พื้นเมืองคละเพศ 10 ตัว พร้อมปัจจัยการผลิต ซึ่งภารกิจในครั้งนี้ ได้เดินทางมอบพันธุ์สัตว์ปีก พร้อมปัจจัยการผลิต ได้แก่ มุ้งตาข่าย อาหารสัตว์และอุปกรณ์ให้แก่เกษตรกร โดยกรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการจัดซื้อและมอบปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในมิถุนายน 2563 นี้

นายประภัตร กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ตาม กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์การเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทย ปี 2563 โดยช่วงปลายเดือนมิ.ย.-ก.ค. จะมีปริมาณฝนตกน้อย ซึ่งอาจส่งผลให้มีน้ำไม่เพียงพอสำหรับการเกษตรในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน รัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความเป็นห่วงพี่น้องเกษตรกรที่อาจได้รับผลกระทบ จึงได้อนุมัติเงินจำนวน 50,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ และกิจการที่เกี่ยวเนื่อง ภายใต้บันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่าง กรมปศุสัตว์ กับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถภาคปศุสัตว์ไทย โดยสนับสนุนการจัดการตลาดผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ สร้างอาชีพทางเลือกใหม่ด้วยการปรับเปลี่ยนพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมมาเลี้ยงสัตว์ จำหน่ายทั้งภายในและต่างประเทศ ฟื้นฟูอาชีพแก่เกษตรกร บรรเทาความเดือดร้อนเสียหายอันเนื่องมาจากภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ และผลกระทบจากราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำ โดยส่งเสริมอาชีพทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ ให้เกษตรกรมีอาชีพเสริม สามารถจำหน่ายทั้งภายในและต่างประเทศ มีตลาดรองรับ รวมกลุ่มวิสาหกิจอย่างน้อย 7 คน มีอัตราดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อไม่เกินกลุ่มละ 10 ล้านบาท หรือดอกเบี้ยล้านละ 100 บาท/ปี ระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ 1 ธ.ค. 62 – 30 พ.ย. 65

“ปัจจุบันความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากความต้องการของคนในประเทศ นักท่องเที่ยว และต่างประเทศ โดยความต้องการโคเนื้อของต่างประเทศมีมากถึง 500,000 – 1,000,000 ตัวต่อปี ส่วนไก่พื้นเมือง โดยเฉพาะตลาดประเทศกัมพูชาต้องการไม่น้อยกว่า 50,000 ตัวต่อวัน และแพะมีความต้องการ 200,000 – 300,000 ตัวต่อปี รัฐบาลจึงหวังให้อาชีพการเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริมเพื่อลดพื้นที่ปลูกข้าว ทดแทนการปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ที่มีปัญหาด้านการตลาด” นายประภัตร กล่าว

 

 

 

 

 

 

 

You May Have Missed!

0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
สาวผวาหนัก ถูกโจรซุ่มชิงทรัพย์ในลานจอดรถห้างดังย่านแคราย พบคนร้ายเป็นหนี้กว่า 5 แสนบาท
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ขยี้ตารัวๆ! Ar-Lek Home ทาวน์โฮมหลังใหญ่ สไตล์มินิมอล ย่านนครปฐม ราคาเริ่มต้น 1.99 ล้านบาท
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ร่วมสร้างกรุงเทพในฝันประชาธิปัตย์ก้าวใหม่ กรุงเทพเผชิญวิกฤติทุกมิติ ฝุ่นพิษ PM 2.5  จราจร คนว่างงาน อาชญากรรมเมืองจม น้ำเน่า น้ำท่วม ฯลฯ
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สภท.) จับมือกูรูด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม จัดสัมมนาสื่อมวลชน ชู “ไฟฟ้า” คู่ “การลดคาร์บอน” หัวใจสำคัญของการพัฒนาในพื้นที่ EEC