วัดผลก้าวแรก “แผนแม่บทน้ำ 20 ปี” ปฏิรูปการลงทุนสร้างความมั่นคงด้านน้ำทั้งระบบ

วัดผลก้าวแรก “แผนแม่บทน้ำ 20 ปี” ปฏิรูปการลงทุนสร้างความมั่นคงด้านน้ำทั้งระบบ

 

 

 หากนับเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่หรือ “มหาอุทกภัย” เมื่อปี 2554 ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ประเทศไทยต้องมาตั้งหลักคิดถึง “การบริหารจัดการน้ำ” อย่างเป็นระบบอย่างจริงจัง ก็อาจต้องนับเอาห้วงเวลาระหว่างปี 25602562 ว่า เป็นช่วงเวลาเริ่มต้นของ “ยุคปฏิรูป” การจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ อันเป็นผลมาจากการเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมของ 4 เสาหลัก” ด้านการบริหารจัดการน้ำ ประกอบด้วย

            1.แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ซึ่งเป็นกรอบและแนวทางการพัฒนาทรัพยากรน้ำของประเทศ 2.สำนักงานทรัพยากรน้ำแหล่งชาติ (สทนช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักขับเคลื่อนภารกิจตามแผนแม่บท ลดความซ้ำซ้อนของหน่วยงานน้ำกว่า 40 หน่วยงานใน 7 กระทรวง 3.พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 ซึ่งเป็นกฎหมายหลักสำหรับการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ และ 4.การพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยี

            

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ อธิบายว่า หากพิจารณาจากเสาหลักทั้ง จะเห็นว่า เสาหลักที่เป็นตัวกำหนดทิศทางการบริหารจัดการน้ำของประเทศว่าจะเดินไปทางไหน คือ “แผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำ 20 ปี (พ.ศ.25612580) ซึ่งประกอบไปด้วย ด้านหลัก คือ 1.การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค 2.การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต 3.การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย 4.การจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ 5.การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน และ 6.การบริหารจัดการ

            แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการจะชี้ลงไปให้ชัดเจนว่า “ทิศทางตามแผนที่วางไว้ เป็นการเดินมาอย่างถูกทางแล้วหรือไม่? ก็คงไม่มีวิธีการไหนจะให้คำตอบได้ดีไปกว่าการ “วัดผล” จากการปฏิบัติจริง

            โดย ดร.สมเกียรติ ให้รายละเอียดว่า ในช่วงปีงบประมาณ 25612562 หน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้การบูรณาการของ สทนช. เริ่มนำร่องภารกิจตามแผนแม่บทบริหารจัดการน้ำทั้ง ด้าน โดยใช้งบประมาณไปทั้งสิ้น 121,544 ล้านบาท แบ่งเป็นงบประมาณประจำปีตามปกติ 7,112 ล้านบาท และงบประมาณแผนบูรณาการน้ำจากหน่วยงานต่าง ๆ อีก 114,432 ล้านบาท โดยมีรายงานละเอียดดังนี้

            การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค ใช้งบประมาณปกติ 5,552 ล้านบาท งบประมาณแผนบูรณาการน้ำ 4,339 ล้านบาท รวม 9,891 ล้านบาท โดยมีเนื้องาน เช่น การก่อสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพระบบประปาหมู่บ้าน 6,139 แห่ง, การพัฒนาระบบประปาในเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจ 489 สาขา, ประปาโรงเรียน/ชุมชน 1,004 แห่ง ซึ่งทำให้ครัวเรือนทั่วประเทศได้รับประโยชน์หลายแสนครัวเรือน

            การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต (เกษตรและอุตสาหกรรม) ใช้งบประมาณ 842 ล้านบาท และงบประมาณแผนบูรณาการน้ำ 66,831 ล้านบาท รวม 67,673 ล้านบาท เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพแหล่งน้ำหรือระบบส่งน้ำเดิม, การฟื้นฟูแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มปริมาณเก็บกัก, พัฒนาระบบกระจายน้ำพื้นที่ 15,523 ไร่, ขุดสระน้ำในไร่นา 91,510 แห่ง, พัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร 102,160 ไร่แหล่งเก็บกักน้ำ อาคารบังคับน้ำ และระบบส่งน้ำใหม่ 765 แห่ง 577,058 ไร่ ได้น้ำเพิ่ม 170 ล้าน ลบ.ม.

การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย งบประมาณ 40,996 ล้านบาท จากงบประมาณปกติ 423 ล้านบาท และงบประมาณแผนบูรณาการน้ำ 40,573 ล้านบาท เช่น การจัดทำระบบป้องกันน้ำท่วมชุมชนเมือง 35 แห่ง, สร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งในพื้นที่ต่าง ๆ รวม 215 กิโลเมตร, เพิ่มประสิทธิภาพอาคารบังคับน้ำ สถานีสูบน้ำ 332 แห่ง พื้นที่ 1,053,217 ไร่, การปรับปรุงสิ่งกีดขวางทางน้ำและลำน้ำธรรมชาติ 217 แห่ง

การจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ โดยได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณปกติ 294 ล้านบาท และงบประมาณแผนบูรณาการน้ำ 1,053 ล้านบาท รวม 1,347 ล้านบาท เช่น สร้างระบบบำบัดและควบคุมน้ำเสีย 12 แห่ง, เพิ่มประสิทธิภาพระบบเดิม แห่ง, พัฒนาระบบควบคุมกำกับแหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำ 699 แห่ง และการรักษาสมดุลของระบบนิเวศใน ลุ่มน้ำ เป็นต้น

            การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม โดยใช้งบประมาณ 468 ล้านบาท จากงบประมาณแผนบูรณาการน้ำ เพื่อฟื้นฟูป่าต้นน้ำครอบคลุมพื้นที่ 110,820 ไร่ โดยมีเป้าหมายจะขยายเพิ่มเป็น 734,000 ไร่ ภายในปี 2565

          การบริหารจัดการ งบประมาณ 1,168 ล้านบาท จากงบบูรณาการน้ำ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำและระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เช่น ระบบเรดาห์ตรวจอากาศ, ระบบคาดการณ์และเตือนภัยวิกฤติคุณภาพลุ่มน้ำ นอกจากนี้ยังมีโครงการสำคัญ เช่น การวิจัยการจัดการทรัพยากรน้ำ, จัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการระดับลุ่มน้ำ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังได้รับการอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ไปพลางก่อน งบกลาง สำหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง  ปี 2562/63 ในพื้นที่ 44 จังหวัด จำนวน 2,041 โครงการ วงเงิน 3,079.4724 ล้านบาท (ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 7 มกราคม 2563) และได้รับอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (งบกลาง) รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2562/63 (เพิ่มเติม) ครอบคลุมพื้นที่ 13 จัวหวัด จำนวน 166 โครงการ วงเงิน 622.4300 ล้านบาท (ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 มีนาคม 2563)

            ดร.สมเกียรติ กล่าวต่อว่า แนวทางตามแผนแม่บททำให้แหล่งน้ำเดิมได้รับการเพิ่มศักยภาพ และเกิดแหล่งน้ำใหม่หลายแห่ง โดยปัจจุบันประเทศไทยมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่ความจุเกิน 100 ล้าน ลบ.ม. 38 แห่ง เป็นอ่างเก็บน้ำ 36 แห่ง แหล่งน้ำธรรมชาติ แห่ง ปริมาณรวม 71,422 ล้าน ลบ.ม. อยู่ในภาคเหนือ 11 แห่ง ตะวันออกเฉียงเหนือ 13 แห่ง กลาง แห่ง ตะวันออก แห่ง ตะวันตก แห่ง และใต้ แห่ง

            ส่วนแหล่งน้ำขนาดกลางความจุ ล้าน100 ล้าน ลบ.ม. มี 659 แห่ง เป็นอ่างเก็บน้ำ 442 แห่ง แหล่งน้ำธรรมชาติ 217 แห่ง ปริมาณรวม 6,675 ล้าน ลบ.ม. อยู่ในภาคเหนือ 169แห่ง ตะวันออกเฉียงเหนือ 365 แห่ง กลาง 23 แห่ง ตะวันออก 47 แห่ง ตะวันตก 28 แห่ง และใต้ 27 แห่ง

            

ขณะที่แหล่งน้ำขนาดเล็กไม่เกิน ล้าน ลบ.ม. มี 142,234 แห่ง เป็นอ่างเก็บน้ำ 837 แห่ง แหล่งน้ำธรรมชาติ 141,397 แห่ง ความจุรวม 5,343 ล้าน ลบ.ม. อยู่ในภาคเหนือ 34,451 แห่ง ตะวันออกเฉียงเหนือ 64,615 แห่ง กลาง 15,295 แห่ง ตะวันออก 14,528 แห่ง ตะวันตก 7,778 แห่ง และใต้ 5,567 แห่ง

            “การทำงานภายใต้แผนแม่บท ไม่เพียงแต่จะทำให้รัฐบาลสามารถจัดสรรงบประมาณด้านน้ำได้อย่างเหมาะสมเท่านั้น แต่ยังช่วยให้สามารถจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย” ดร.สมเกียรติ กล่าว

            อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นเวลานี้คงบอกได้เพียงว่านี่เป็นเพียงแค่ “ก้าวแรก” สำหรับการปฏิรูปการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศเท่านั้น ในอนาคตยังมีภารกิจอีกมากมายที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ในการร่วมกันบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนต่อไป

 

 

You May Have Missed!

1 Minute
โรงพยาบาล
สำนักอนามัยจัดกิจกรรมรณรงค์วันส้วมโลก ประจำปี 2567 ณ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
1 Minute
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จัดพิธีทำบุญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำโรงพยาบาล
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ทรู แจกใหญ่ จัดหนัก กับ แคมเปญ “รวยคูณสอง แจกทอง แจกรถ” ร่วมกับ 8 พาร์ทเนอร์ชั้นนำ มอบโชคใหญ่ให้ลูกค้าทรู ดีแทค รวมมูลค่ากว่า 5 ล้านบาท เพียงสมัครบริการเสริม ก็มีสิทธิ์ลุ้นรับของรางวัลทันที ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 พ.ค. 68
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
คณะกรรมการบริหารโรงเรียนปลูกปัญญา แต่งตั้ง “บิ๊กทิน” ผจก.ฟุตซอลทีมชาติไทย  เป็นประธานที่ปรึกษาโรงเรียน