ศาลนัดกลุ่มบริษัทมารับทราบข้อกล่าวหา กรณีชาวสวนยางฟ้องค่าเสียหาย
เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.63 จากกรณีกลุ่มบริษัทมหาชนแห่งหนึ่งในจังหวัดมุกดาหาร (ขอสงวนนาม) ที่รับซื้อยางพาราได้ส่งเจ้าหน้าที่พร้อมกับออกรหัสทำการซื้อขายยางพารา จากประชาชนในพื้นที่ภาคอีสาน แต่ได้มีการเอาเปรียบประชาชน ในลักษณะของการฉ้อโกงพยายามที่จะจ่ายเงิน ในการซื้ออย่างนั้น ราคาต่ำกว่ากลไกของตลาด โดยอ้างคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน จนกระทั่งได้มีการร้องเรียนไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ แต่ผู้บริหารบริษัทดังกล่าว ได้มีการปฎิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดตามที่ร้องเรียน และมีการสอบสวนแต่ข้อเท็จจริงเกิดการขัดแย้งกัน เนื่องจากมีประชาชนบางส่วนได้ถูกเจ้าหน้าที่ดีเอสไอที่บางคนกระทำการโดยมิชอบพยายามไกล่เกลี่ยให้ บริษัททำการจ่ายค่าชดเชยเยียวยา จึงเกิดคำถามขึ้นว่า แต่เมื่อบริษัทไม่ผิดทำไมต้องยินยอมจ่ายค่าชดเชยเยียวยา มูลค่าความเสียหายประมาณ 400 ล้านบาท
นายเรืองวิสิฐ วงศ์อนันต์ ทนายความผู้ประสานงานชาวสวนยาง กล่าวว่า หลังจากที่ศาลออกหมายนัดกลุ่มบริษัทดังกล่าว คณะกรรมการและพนักงานมารับทราบข้อกล่าวหา ปรากฏว่าทางบริษัทที่ตกเป็นจำเลยมามอบตัวและรับทราบข้อกล่าวหา และก็ได้ประกันตัวออกไปคนละ 1 ล้านบาท โดยใช้หลักทรัพย์ประกันตัวออกไปจำนวน 5 ราย เนื่องจากจำเลยที่ 1 ซึ่งมีคุณนิตยา ฯ เป็นเจ้าของรหัส วันนี้ไม่ได้เดินทางมาศาล ทางศาลก็ได้ออกหมายจับ และเลื่อนไปเพื่อจะสอบคำให้การและอ่านคำฟ้องให้จำเลยทั้งหมดฟังใน นัดหน้าวันที่ 24 ก.ค. 63 เวลา 09.00 น.
นายเรืองวิสิฐ วงศ์อนันต์ กล่าวต่ออีกว่า ส่วนทางโจทย์วันนี้ก็จะมีโจทย์ทั้ง 4 คน ที่จะเป็นตัวตั้งตัวตีที่ฟ้องกลุ่มบริษัทดังกล่าว และคณะกรรมการผู้บริหาร นอกนั้นยังมีสหกรณ์ต่าง ๆ ที่ได้รับความเสียหายอยู่ ที่ยังไม่ได้รับเงินเยียวยา ก็เดินทางมาให้กำลังใจเป็นจำนวนมาก ซึ่งมูลคดีนี้เหตุที่สหกรณ์อื่นที่ยังต้องเดินทางมาร่วมในการที่จะฟ้องต่อไป ก็เพื่อจะเรียกร้องค่าเสียหาย ค่าชดเชยจากบริษัทอยู่ และค่าเยียวยาจากบริษัทก็ต้องเดินทางมาเพื่อติดตามคดี
ส่วนผู้เสียหายก็มีจากสหกรณ์จากจังหวัดบึงกาฬ หนองคาย นครพนม และผู้เสียหายมาจากหลายจังหวัด อาทิ อุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ นครพนม กาฬสินธุ์ และสกลนคร แต่ละสหกรณ์จำนวนเงินสิบล้านบาท ทำให้สหกรณ์แทบล้มละลาย เป็นจำนวนหลายล้าน ต้องตรวจสอบอีกทีว่าแต่ละสหกรณ์เสียหายเท่าไหร่ แต่ความเป็นจริงคุณ นิตยาฯ เป็นคนร่วมลงทุน และเป็นเจ้าของรหัส ทางกลุ่มผู้เสียหายก็ต้องฟ้องเขา เพราเขาร่วมกับบริษัท เขาเปิดรหัสในการซื้อขายยางพารากับบริษัท
ด้านนายสงกรานต์ คำพิไสย์ ผู้ตรวจสอบกิจการของสหกรณ์สวนยางพารา/ตัวแทนสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านชัยพร-หนองยาว ตำบลชัยพร อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ กล่าวว่า สหกรณ์บ้านชัยพร-หนองยาว สหกรณ์นี้ได้ขายยางส่งเข้าโรงงานในรหัสของคุณนิตยาฯ และสหกรณ์นี้ยังไม่ได้รับการชดเชยแม้แต่บาทเดียว ในขณะเดียวกันยังมีการลงทุนกับพ่อค้ารายอื่น ๆ อีกด้วย ยอดของสหกรณ์ประมาณ 5 ล้านบาท กับพ่อค้ารายอื่น ๆ อีก 7 ล้านกว่าบาท และสหกรณ์ตอนนี้ประสบภาวะขาดทุน จะกู้ยืมก็ยังไม่ได้ ที่ผ่านมาก็มีการติดตาม โดยได้ไปร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจ ไปร้องทุกข์กับกองปราบปราม และได้ยื่นเรื่องเข้าไปที่ DSI แต่ก็ยังไม่ได้รับการเยียวยา เนื่องจากว่าตนเองเป็นทั้งผู้ต้องหา และเป็นจำเลยด้วย จนกว่าที่ศาลอาญามีการตัดสินว่าไม่เป็นผู้เกี่ยวข้องในการกระทำความผิด เขาจึงจะพิจารณาเยียวยาได้
นายสงกรานต์ คำพิไสย์ กล่าวต่ออีกว่า วันนี้ได้ทราบว่ามีตัวแทนสหกรณ์ และพ่อค้าที่ส่งยางพาราเข้ารหัสคุณ นิตยาฯ และขายเข้าโรงงาน ได้ฟ้องร้องต่อศาลก็เลยมาให้กำลังใจ และในลำดับต่อไปพวกตนก็จะมีการฟ้องทางบริษัท และก็ฟ้องคุมคุณนิตยาฯ ซึ่งเป็นผู้รับยางพาราของเราไปขายให้กับทางบริษัท โดยจะฟ้องที่ศาลจังหวัดบึงกาฬในพื้นที่ที่เกิดเหตุ
ส่วนยอดเงินที่ยังไม่ได้รับ 2 ยอด ประมาณ 13 ล้าน สมาชิดกองทุนสวนยางประมาณ 1,200 ราย เป็นสมาชิกในเขตพื้นที่จังหวังบึงกาฬ 8 อำเภอ แต่จะมีสมาชิกมากอยู่ที่อำเภอเมืองเป็นหลัก และอำเภออื่น ๆ กระจายกันไป เนื่องจากว่าเป็นสหกรณ์แรกที่ตั้งขึ้น ซึ่งยังไม่มีกองทุนสหกรณ์สวนยางในตอนนั้น ตอนนี้สหกรณ์ไม่มีเงินทุนหมุนเวียน ธุรกิจของสหกรณ์มี การซื้อขายยาง การทำธุรกิจเรื่องปุ๋ยให้กับสมาชิกที่มาขอกู้ และปัจจัยการผลิตอื่น ๆ อาทิ น้ำกรด อุปกรณ์การกรีดยาง เมื่อเงินตัวนี้ยังไมได้คืนมาทำให้สหกรณ์ขาดเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งคดีนี้ตั้งแต่ปี 2556 มาถึงปีนี้ก็ต้องขาดทุนต่อเนื่อง เวลาจะไปขอกู้กับหน่วยงาน เขาก็จะเห็นว่าเรายังมีสภาพขาดทุน ก็ไม่ได้รับการพิจารณา
ไกรสมุทร นามโพธิ์ไทร/รายงานจากมุกดาหาร