ประชาชนพากันหลั่งไหล พิสูจน์ คตหอยหรือฟอสซิลหอย 130 ล้านปี เตรียมผลักดันเป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคต
วันที่ 4 มิถุนายน 2563 ผู้สื่อข่าวเดินทางไปพบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์บวร ตุ้มปี่สุวรรณ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิดาพร ตุ้มปี่สุวรรณ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามและ ดร.เบญจวรรณ นาหก ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นักศึกษาและชาวบ้านกำลังช่วยกันล้าง คตหอย หรือฟอสซิลหอย 130 ล้านปี ใช้น้ำสะอาดใช้แปรงขนอ่อนขัดถูดินเหนียวที่ติดคตหอยชนิดต่างๆจากนั้นใช้ผ้าและกระดาษทิชซูเช็ด นำไปตากลมให้แห้ง นำมาทาสี เขียนกำกับหมายเลข ขนาดความใหญ่หนาของคตหอย130 ล้านปี เสร็จแล้วนำเข้าไปเก็บรักษาไว้ในตู้กระจก ลงทะเบียนเก็บรักษาไว้ที่พักสงฆ์วัดภูกุ่มข่าว ตำบลคำพอุงอำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด ให้ลูก หลานศึกษาค้นคว้าต่อไป ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากกองทุนจัดการซากดึกดำบรรพ์ กรมทรัพยากรธรณีเพื่อการขุดค้นหา ตลอดจนการเก็บรักษาคตหอยให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ เพื่อการวิจัยและจากสภาพการค้นคว้าของนักวิจัยยังพบตามชั้นหินที่ภูเขาทอง อำเภอโพธิ์ชัย อีกอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งตั้งแต่ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2562 นายเลิศบุศย์ กองทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด , นายวิชิต ศีลพันธ์ นายอำเภอโพธิ์ชัย , นายสายยนต์ สีหาบัว ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมคณะนักกวิจัยและคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบซากหอยฟอสซิลดึกดำบรรพ์ ณ บริเวณที่พักสงฆ์ภูกุ้มข้าว หมู่ที่ 5 บ้านภูเขาทอง ตำบลคำผะอุง อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด จากการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคามลัย พบว่าซากฟอสซิลหอยบางตัวมีความสมบูรณ์อย่างมาก โดยพบว่ามีหอย 2 ฝา คล้ายหอยแครง ซึ่งเป็นหอยทะเล นอกจากนั้นยังพบฟอสซิลต่างๆอีกหลายอย่าง เช่น ฟอสซิลสาหร่าย ปะการัง ส่วนใหญ่จะเป็นซากฟอสซิลหอยที่ฝังตามก้อนหิน และแท่งหิน ฟอสซิลที่พบนั้นทางคณะที่ลงพื้นที่ได้นำกลับไปเพื่อศึกษาและส่งตัวอย่างฟอสซิลไปพิสูจน์ แล้วว่า ว่ามีอายุ กว่า 130 ล้านปี โดยพบรอบๆวัดภูกุ้มข้ามในพื้นดินลึกตื้นแตกต่างกันไป พร้อมพบต้นตะเคียนขนาดใหญ่ อายุ หลายร้อยปี 3 ต้น ที่ให้หวยเด็ดแม่ตะเคียนทุกงวดอีกด้วย
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบด้วยผู้เชียวชาญจากกรมทรัพยากรธรณี ที่ผ่านมา พบว่ามีอายุราว 130 ล้านปี อยู่ในหมวดหินเสาขัว กลุ่มหินโคราช ซึ่งสันนิษฐานว่าบริเวณดังกล่าวน่าจะเป็นแหล่งน้ำหรือแม่น้ำโบราณยุคไดโนเสาร์ จึงมีการทับถมซากฟอสซิลหอยที่สมบูรณ์มาก ซึ่งพบมากเป็นบริเวณกว้างรอบภูกุ้มข้าว หมู่ที่ 5 บ้านภูเขาทอง ตำบลคำผะอุง อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด และในช่วงเวลาเดียวกันได้ขุดพบฟอสซิลไดโนเสาร์แบบกินพืชด้วย ขณะนี้มีผู้เชี่ยวชาญชาญหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เริ่มได้รับงบประมาณ เพื่อเข้ามาทำการศึกษาอย่างแท้จริง และจะได้เปิดเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าวิจัยและเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ดต่อไปในอนาคต
คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว
คณิต ไชยจันทร์ ถ่ายภาพ