บิ๊กป้อมสั่งตั้งคณะทำงานพัฒนาน้ำ บาดาลแก้ปัญหาการขุดเจาะให้ สอดคล้องแผนรัฐ
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี สั่ง สทนช.ตั้งคณะทำงานกำหนดพื้นที่ พัฒนาน้ำบาดาล บูรณาการวางแผนทั้งวิเคราะห์ศั กยภาพ การกำหนดพื้นที่ การขุดเจาะให้ถูกต้องตามหลักวิ ชาการสอดคล้องกับแผนการแก้ไขปั ญหาขาดแคลนน้ำของรัฐบาล มั่นใจจะทำให้การใช้น้ำบาดาลให้ เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยื น
ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำ แห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ สทนช. เร่งดำเนินการตั้ งคณะทำงานกำหนดพื้นที่พัฒนาน้ำ บาดาลขึ้น เพื่อทำหน้าที่พิจารณา วิเคราะห์ปริมาณน้ำบาดาล กำหนดแนวทางการพัฒนาหลักเกณฑ์ การขุดเจาะน้ำบาดาล ตลอดจนการบริหารศักยภาพน้ำ บาดาลในภาพรวม การกำหนดพื้นที่พัฒนาให้สอดคล้ องกับศักยภาพน้ำบาดาล และเป้าหมายตามแผนแม่บทการบริ หารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) เพื่อให้การบริหารจัดการทรั พยากรน้ำบาดาลเกิดประโยชน์สูงสุ ดและยั่งยืน โดยคณะทำงานชุดดังกล่ าวจะประกอบด้วย กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กองทัพบกหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กรมการทหารช่าง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม 14 หน่วยงาน รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมเป็นคณะทำงาน
ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำช่ วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 ที่ผ่านมา โครงการขุดเจาะน้ำบาดาลมี บทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาในพื้ นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเป็นอย่ างมาก ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2563 และวันที่ 17 มีนาคม 2563 ได้เห็นชอบให้หน่วยงานที่รับผิ ดชอบ ได้แก่ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล การประปาส่วนภูมิภาค กรมการข้าว กองทัพบก และหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ดำเนินโครงการขุดเจาะน้ำบาดาล เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวรวม 1,297 โครงการ ได้ปริมาณน้ำบาดาลเพิ่มขึ้น 11.11 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)
เลขาธิการ สทนช. กล่าวต่อว่า จากรายงานการติดตามสถานการณ์น้ำ บาดาลในประเทศไทย ปี 2562 ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลย้อนหลั งตั้งแต่ปี 2558-2562 จากการจัดทำบ่อสังเกตการณ์น้ำ บาดาล จำนวน 2,506 บ่อทั่วประเทศ โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล พบว่า เนื่องจากที่ผ่านมามีการใช้น้ำ บาดาลค่อนข้างมาก ทำให้ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำ ในชั้นน้ำบาดาล ซึ่งมีแนวโน้มลดลงในหลายพื้นที่ เช่น ภาคเหนือที่บริเวณพื้นที่นิคมอุ ตสาหกรรมจังหวัดลำพูน ภาคกลางตอนบนและภาคกลางตอนล่ างหลายพื้นที่ เช่น จังหวัดพิจิตร ชัยนาท และสุพรรณบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่น้ำบาดาลลดลงกระจายเป็ นบริเวณกว้างในพื้นที่ชุ มชนและแหล่งอุตสาหกรรม ภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดชลบุรีและระยอง และภาคใต้ในพื้นที่จังหวัดสงขลา นอกจากนั้นการขุดเจาะบ่ อบาดาลและการนำน้ำขึ้นมาใช้ ประโยชน์ อาจเกิดการสูญเปล่าด้านพลั งงานและงบประมาณที่ต้องมีความชั ดเจน
“การจัดตั้งคณะทำงานกำหนดพื้นที่ พัฒนาน้ำบาดาลในครั้งนี้ จะนำข้อมูลทางวิชาการดังกล่ าวและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้ องมาประกอบการวางแผนการบริหารจั ดการ การกำหนดพื้นที่ขุดเจาะน้ำบาดาล การฟื้นฟูสภาพแหล่งน้ำบาดาลในพื้ นที่เฝ้าระวังให้กลับมามีปริ มาณน้ำเพิ่มขึ้น โดยเป็ นการกำหนดกรอบแนวทางการปฏิบัติ งานของทุกหน่วยงานร่วมกัน เพื่อให้การแก้ไขปัญหาในระยะต่ อไปเป็นไปอย่างยั่งยืนและเกิ ดประสิทธิภาพสูงสุด สอดคล้องกับพระราชบัญญัติน้ำ บาดาล พ.ศ. 2520 และแผนแม่บทการบริหารจัดการทรั พยากรน้ำ 20 ปีด้วย” เลขาธิการ สทนช. กล่าวในตอนท้าย
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ