มูลนิธิเด็กและครอบครัว พร้อมตั้งทนายร่วมอัยการ คดีครูหื่น
เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 63 กรณีคดีครู 5 ราย พร้อมรุ่นพี่ 2 ราย กระทำชำเรานักเรียนอายุ 14 ปี และอายุ 16 ปี โรงเรียนดงมอนวิทยาคม อ.เมือง จ.มุกดาหาร ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น นางทิชา ณ นคร ที่ปรึกษามูลนิธิเด็กและเยาวชนและครอบครัว ลงพื้นที่บ้านดงมอน และบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดมุกดาหาร เพื่อพูดคุยกับเด็ก และครอบครัวผู้เสียหาย ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าเด็กถูกละเมิดมานาน มีความบอบช้ำทั้งร่างกายและจิตใจ หากปล่อยให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามปกติยิ่งเป็นการซ้ำเติม จึงต้องเข้าช่วยเหลือให้เด็กปลอดภัย เข้มแข็งจนให้ข้อมูลหลักฐานที่หนักแน่น และเข้าถึงความเป็นธรรมให้เร็วที่สุดนั้น
นางทิชา ณ นคร กล่าวว่า ภารกิจที่สำคัญคือ อยากจะมาคุยกับน้อง 2 คน ที่กล้าหาญออกมาเพื่อที่จะสื่อสารกับสังคมว่า ตลอดเวลาเขาถูกครูละเมิดทางเพศ สำหรับป้าอยากให้นิยาม อยากให้ความหมายว่า นี่คือ ความกล้าหาญของเด็ก 2 คน เพราะว่าคนที่ละเมิดเขามีอำนาจเหนือเขา ที่สำคัญเขาน่าจะตกอยู่ในความกังวลใจ และกลัวตลอดเวลา เมื่อเขาตัดสินใจออกมา เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ เพื่อยืนยันว่าเขากล้าหาญมาก ที่ทำให้เรื่องพวกนี้ ถ้าหากว่าเขาไม่ออกมาก็เป็นไปได้สูงมากที่ผู้ใหญ่กลุ่มนี้จะไปกระทำกับคนอื่นๆ ด้วยความฮึกเหิม ที่ผู้ใหญ่กลุ่มนี้แผ่ขยายออกไป เบื้องต้นที่ใครหาว่า เขาเป็นเด็กไม่ดี ถูกประจาน หาว่าเด็กประจานโรงเรียน ตอนนี้มีคนส่งสัญญาณทางโทรศัพท์ เขาตัดสินใจไม่ใช้โทรศัพท์แล้ว ตอนนี้เพื่อน ๆ อาจจะด่ามา ซึ่งเราจะเปลี่ยนความรู้สึกให้เขาว่า ไม่ประจานโรงเรียน จะเป็นผู้ใหญ่กลุ่มนั้นมากกว่า เวลาเด็กเป็นผู้ถูกกระทำเขาจะสับสน คิดว่าตัวเองแย่อยู่แล้ว ให้รู้ว่าหนูกล้าหาญมาก
หลังจากนี้เด็กอยู่ในความดูแลของบ้านพักเด็กอยู่ เพื่อให้คดีสามารถที่จะดึงเอาข้อเท็จจริงออกมา และปัจจัยที่เด็กจะเข้าไปอยู่คุ้มครองพยานของกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ซึ่ง รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมเห็นด้วย และเปิดทางเอาไว้ และอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่เดินทางมาพบเด็กแล้วเมื่อวาน ถ้าเด็กได้ย้ายออกจากบ้านพักของเขา และเข้าไปอยู่ในความคุ้มครองพยาน ขบวนการที่จะสู่สืบพยาน สอบสวนและสืบพยาน มันจะไม่มีแวดล้อมอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เด็กก็จะอยู่นิ่ง และก็การเรียงไทม์ไลน์ เดือน ปี พ.ศ. สถานที่มันจะค่อยไหลออกมา ซึ่งความแม่นจำขนาดนี้ มันจะทำให้คดีขึ้นสู่ศาลมันไม่มีข้อโต้แย้ง ถ้าเด็กยังอยู่ในที่นี้ไม่ปลอดภัย หรืออยู่ในที่ถูกรบกวน ถูกแทรกแซง ถูกข่มขู่ โอกาสที่เด็กจะให้ปากคำอย่างแม่นยำอย่างเต็มที่ มันอาจจะไม่มีหลังจากนี้ไป หวังว่าการติดสินใจของ 2 ครอบครัว คือการเข้าสู่การคุ้มครองพยานของกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เรื่องทั้งหมดนี้เราตัดสินใจแทนครอบครัวเขาไม่ได้ วันนี้เราบอกกับครอบครัวว่า เป้าหมายที่จะต่อสู้คืออะไร คือสู้เอาคนผิดมาลงโทษ สู้เพื่อให้คนที่ละเมิดสิทธิ์ เหลือจำนวนที่น้อยลง คนที่ทำก็ติดคุกไป จะทำใหม่ก็ต้องไม่กล้าทำ แต่ว่าถ้าให้ชนะได้ ต้องมีขบวนการที่แน่นแฟ้นพอสมควร พรุ่งนี้ทางครอบครัวจะให้คำตอบ จะบังคับไม่ได้ มาในฐานะของคนที่อยากเห็นสังคมไทย อยากให้เด็ก ๆ มีชีวิตที่ปลอดภัย โดยเฉพาะในโรงเรียน พูดถึงเหตุผลหลักการต่าง ๆ เด็กและครอบครัวเข้าใจเป้าหมายที่ชัดเจน คนที่ไปนั่งคุยด้วย เห็นเป้าหมายชัดเจนการตัดสินใจก็แม่นยำ
สิ่งที่ดีที่สุดในขบวนการยุติธรรมในครั้งนี้คือ เข้าไปอยู่ในความคุ้มครอง ออกจากทั้ง 2 จุด ไปอยู่ในที่เดียวกัน ซึ่งตอนนี้ทั้ง 2 ครอบครัวเข้าใจเหตุผลแล้ว เข้าใจเป้าหมายในการต่อสู้แล้ว เหลือการตัดสินใจ ซึ่งก็ให้เวลา ถ้าตัดสินใจแล้วก็ส่งสัญญาณมาบอกเรา ทางรัฐมนตรียุติธรรมส่งสัญญาณชัดว่า ยินดีให้ความคุ้มครอง ทางเด็ก ๆ ยังสับสน ยังรู้สึกไม่กล้า ไม่รู้จะไปทางไหนพูดกันให้ชัด มีข้อดีข้อเสีย ราคาที่เราต้องจ่ายเราออกมา ถ้าเราออกมาสู้ไม่ชนะ ทั้ง ๆ ที่เราถูกละเมิด มันจะเสียของ เสียขนาดไหน
ทางกรมคุ้มครองสิทธิ์คุยกับเด็กว่าจะไปเรียนที่ไหน ซึ่งเป็นที่ที่ลงตัวที่สุด ซึ่งตรงนี้เป็นดุลยพินิจร่วมกันกับเจ้าหน้าที่รัฐ เขาจะเลือกที่ไหนเป็นเซฟเฮ้าส์ คุ้มครองพยาน เหลือแต่ว่าการตัดสินใจของครอบครัว สิ่งที่น้องยังกังวลอยู่ของแต่ละคน คือน้องน้องไม่เข้าใจว่า เวลาเขาไปอยู่แบบนี้ เขาจะทำอย่างไร คนที่ผ่านเหตุการณ์ร้าย ๆ บางที่ก็กังวลใจ ไม่ค่อยเข้าใจ ผู้ใหญ่ก็จะอธิบาย งานคุ้มครองพยานมีรายละเอียดพอสมควร
ทางยุติธรรมตั้งทนายฟ้องร้องทั้งโรงเรียน ทั้งกระทรวงนั้นจริง ๆ เห็นด้วยกับเหตุการณ์ มันสะท้อนให้เห็นชัดเลยว่ากลไกลของรัฐหลายส่วนเพิกเฉยต่อเรื่องราวความทุกข์เด็ก ๆ เป็นเวลายาวนาน ทำไมทุกคนถึงได้เงียบ ทำไมเรื่องนี้ไม่เข้าที่ประชุม ต้องแก้ปัญหาในระดับองค์กรเล็ก ๆ ก่อน ถ้าแก้ไขไม่ได้ จะยื่นมือออกจากความช่วยเหลือจากใคร มันไม่มีสิ่งนี้เลย ได้ถามเด็ก ๆ ว่าในเวลาที่หนูออกมาแจ้งความ และเป็นข่าวในขณะนี้ มีครูคนไหนเข้ามาแสดงความรู้สึกห่วงใยหนูสักคนไหม คำตอบคือไม่มีแม้แต่คนเดียว
อยากตั้งคำถามถึง ผอ.โรงเรียน ในฐานะคนรับผิดชอบองค์กร ทำไมเราไม่อ่อนไหวกับเรื่องราวเหล่านี้ แม้นรู้ระแคะระคายก็จะทำอะไรซักอย่าง ไม่ใช่คอยว่าเป็นแค่ข่าวลือแล้วก็จบ ถ้ามันเป็นเรื่องจริงมันต้องทำอะไรต่อ มันแสดงถึงความไม่มีประสิทธิภาพของครูผู้นำองค์กร
การที่ผู้ต้องหาได้รับการประกันตัว รวมถึงที่ตำรวจมีคัดค้านการประกันตัว จริง ๆ มันต้องไปตามหลักกฎหมาย คือว่าเขาเข้ามามอบตัว เขาก็ได้สิทธิ์การประกันตัว ทำไมคนกลุ่มนี้ถึงไม่เข้ามามอบตัวได้ทันทีทันควัน เขารู้ได้อย่างไรว่าเขาแจ้งความ เรื่องของเขามาถึงตำรวจ เขาชิงมามอบตัว เพื่อให้ได้ประกันตัว ขั้นตอนเหล่านั้นมาไม่ถูก มันเป็นการต่อสู้ของคนที่มีอำนาจมากกว่าอำนาจน้อยอย่างแท้จริง ทั้งหมดเขาใช้สิทธิตามกฎหมาย ถ้าหากคุณละเมิดมันก็มีการต่อสู้ อยากให้เด็กได้พิสูจน์ความจริงนี้อีก แต่ถ้าจะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อเด็กเข้าไปอยู่ในความควบคุมปัจจัยแวดล้อมได้ คือการคุ้มครองพยานไม่ใช้ให้เด็กไปเรียนที่บ้าน ให้เด็กไปเรียนหนังสือ ให้เด็กไปโน่นนี่นั่น ตามปกติ จริง ๆ ตอนนี้คนที่อยู่แวดล้อมตัวเด็ก ต้องทำให้เด็กว่าเขายังทำให้มีค่าอยู่ การผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้น มันไม่ใช่เป็นการผิดพลาดของเรา แต่เป็นเรื่องของผู้ใหญ่แสวงประโยชน์กับเขา ต้องคุยกับเขาบ่อย ๆ ไม่ต้องตั้งคำถามว่าทำไมตัดสินใจแบบนั้น คงไม่พูดสิ่งนี้นั้นกับเด็ก คิดว่าบ้านพักได้ทำสิ่งนี้อยู่พอสมควรแล้ว สภาพจิตของเด็กคนนี้ยังกังวลใจอยู่บ้าน เป็นเรื่องปกติเดี่ยวจะค่อย ๆ คลี่คลาย เมื่อเขาเห็นว่าแนวทางความช่วยเหลือหลาย ๆ ช่องทาง เท่าที่ถามสภาพจิตใจดีขึ้น และมั่นใจขึ้น เมื่อมีผู้ใหญ่หลายคนเข้ามาช่วยเหลือเขา เขาก็มีกำลังใจขึ้น…นางทิชา ณ นคร กล่าว
ขอขอบคุณภาพข่าวจาก ไกรสมุทร นามโพธิ์ไทร