ฤกษ์ดีฝนตกในวันพืชมงคล​ ประธานองคมนตรีเป็นประธาน ปลัด​เกษตร​ฯ​ หว่านข้าวในแปลงนาสาธิต สวนจิตรลดา สร้างขวัญกำลังใจเกษตรกรทั่วประเทศ

ฤกษ์ดีฝนตกในวันพืชมงคล​ ประธานองคมนตรีเป็นประธาน

ปลัด​เกษตร​ฯ​ หว่านข้าวในแปลงนาสาธิต สวนจิตรลดา สร้างขวัญกำลังใจเกษตรกรทั่วประเทศ

 

 

เมื่อเวลา10.00น.วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม 2563 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นประธานไปในพิธีหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวในแปลงนาสาธิต สวนจิตรลดา โดยมี นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้หว่านข้าว ณ บริเวณแปลงนาสาธิต สวนจิตรลดา เพื่อเป็นเมล็ดพันธุ์สำหรับการประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปีพุทธศักราช 2564 ด้วย โดยมีนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯ , น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรฯ , ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรฯ และนายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรฯ พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชกระทรวงเกษตรฯร่วมพิธี ซึ่งในช่วงทำพิธีหว่านเมล็ดพันธ์ุข้าวได้มีฝนตกมา ถือเป็นฤกษ์ดีที่เกษตรกรเริ่มฤดูเพาะปลูกในวันแรกนาขวัญ

ทั้งนี้แปลงนาในสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ที่ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้กรมการข้าวจัดทำขึ้นเพื่อเก็บเกี่ยวเป็นพันธุ์ข้าว ทรงปลูกพระราชทานสำหรับไว้ใช้ในงานพระราชพิธี ฯ โดยเฉพาะ ซึ่งในปี 2563 นี้ เมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกที่นำเข้าในพระราชพิธี มีทั้งหมด 5 พันธุ์ น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 1,458 กิโลกรัม ประกอบด้วย ขาวดอกมะลิ105 ปทุมธานี1 กข79 กข43 และ กข6 ส่วนหนึ่งใช้หว่านในระหว่างพิธี และจัดเป็น “พันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน” บรรจุใส่ซองขนาดเล็กเพื่อจัดส่งให้จังหวัดต่าง ๆ สำหรับใช้แจกจ่ายแก่เกษตรกรรับไปเป็นมิ่งขวัญและสิริมงคลในการประกอบอาชีพตามพระราชประสงค์ และเมล็ดพันธุ์ที่เหลือทั้งหมด กรมการข้าวขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตนำไปปลูกไว้ทำพันธุ์ในฤดูกาลปี 2563 เพื่อเป็นต้นตระกูลของพืชพันธุ์ดีเผยแพร่สู่เกษตรกรต่อไป

 

สำหรับในปี 2563 นี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่ได้จัดงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เนื่องจากประเทศไทยและนานาประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ซึ่งมีมาตรการและข้อปฏิบัติทางสาธารณสุขหลายประการเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยงดการประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปีนี้ จากเดิมที่สำนักพระราชวังได้กำหนดให้ประกอบพระราชพิธีในวันอาทิตย์ที่ 10 และวันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม 2563 โดยขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตประกอบพิธีปลุกเสกเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทานและพืชพันธุ์ต่าง ๆ ในวันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม 2563 โดยนำพันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทานในฤดูทำนาปี 2562 และพันธุ์พืชต่าง ๆ มาเข้าประกอบพิธี พร้อมทั้งพิธีหว่านข้าวในแปลงนาทดลอง สวนจิตรลดา ในวันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม 2563 เพื่อความเป็นสิริมงคลและสร้างขวัญกำลังใจแก่เกษตรกรทุกสาขาทั่วประเทศ

โดยใน     ปี 2563 นี้ นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่พระยาแรกนา ส่วนผู้ที่มาทำหน้าที่เป็นเทพีทั้งหาบทองและหาบเงิน จะทำการคัดเลือกจากบรรดาข้าราชการหญิงโสด ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีตำแหน่งตั้งแต่ข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโทขึ้นไป สำหรับหลักเกณฑ์การคัดเลือกเทพีในแต่ละปีจะดูที่ความเหมาะสมต่าง ๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่เป็นทางการ คือ โสดและได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์แล้ว ที่ไม่เป็นทางการ คือ อายุพอสมควร สุขภาพดี ส่วนสูงพอเหมาะหรือสูงใกล้เคียงกัน สำหรับในปีนี้ เทพีคู่หาบทอง ได้แก่ นางสาวณัฐชยา ศรีสุขสวัสดิ์ นักวิชาการปฏิรูปที่ดินชำนาญการ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และนางสาวอาทิตยา ทองแกมแก้ว นักวิชาการเกษตรชำนาญการ กรมส่งเสริมการเกษตร เทพีคู่หาบเงิน ได้แก่ นางสาวกันยารัตน์ เศวตนันทิกุล นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนางสาวชลธิชา ทองอ่อน นายสัตวแพทย์ชำนาญการ กรมปศุสัตว์ สำหรับพระโคที่ใช้ในการประกอบพระราชพิธีฯ นั้น กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการคัดเลือกพระโคตามหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม คือ จะต้องเป็นโคที่มีลักษณะดี รูปร่างสมบูรณ์มีความสูงไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร ความยาวของลำตัวไม่น้อยกว่า 120 เซนติเมตร ความสมบูรณ์รอบอกไม่น้อยกว่า 180 เซนติเมตร โคทั้งคู่จะต้องมีสีเดียวกันผิวสวย ขนเป็นมัน กิริยามารยาทเรียบร้อย ฝึกง่าย สอนง่าย ไม่ดุร้าย เขามีลักษณะโค้งสวยงามเท่ากัน ตาแจ่มใส หูไม่มีตำหนิ หางยาวสวยงาม มีขวัญทัดดอกไม้ซ้ายขวาและขวัญหลังถูกต้องตามลักษณะที่ดี กีบและข้อเท้าแข็งแรง ถ้ามองดูด้านข้างของลำตัวจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม งานพระราชพิธี ฯ ทุกปีจะเตรียมพระโคไว้ 2 คู่

นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติให้วันพระราชพิธีพืชมงคลนี้เป็น “วันเกษตรกร” นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นต้นมา เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรพึงระลึกถึงความสำคัญของการเกษตร และร่วมมือกันประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่อาชีพของตน ทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศชาติ จึงได้จัดงานวันเกษตรกรควบคู่ไปกับงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญตลอดมา โดยในปี 2563 เกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่นประเภทต่าง ๆ ที่ผ่านการคัดเลือกได้รับรางวัลและยกย่องประกาศเกียรติคุณพร้อมทั้งเผยแพร่ผลงานให้สาธารณชนทั่วไปได้รู้จักและยึดถือเป็นแบบอย่างในแนวทางการปฏิบัติ มีดังนี้
 
 เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 16 ราย
• อาชีพทำนา ได้แก่ นางรจนา สีวันทา บ้านเลขที่ ๕๒ หมู่ที่ ๔ ตําบลหนองสนิท อําเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
• อาชีพทำสวน ได้แก่ นายนิโรจน์ แสนไชย บ้านเลขที่ ๑๘๙ หมู่ที่ ๑ ตําบลวังผาง อําเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลําพูน
• อาชีพทำไร่ ได้แก่ นายไชยสรรค์ อภัยนอก บ้านเลขที่ ๑๗๗/๑ หมู่ที่ ๘  บ้านหนองตอ ตําบลจันทึก อําเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
• อาชีพไร่นาสวนผสม ได้แก่ นายบุญล้วน โพนสงคราม บ้านเลขที่ ๑๘๘ ที่ ๘ ตําบลวังหลวง อําเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย
• อาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ได้แก่ นางสงวน ทิพย์ลม บ้านเลขที่ ๗ หมู่ที่ ๓ ตําบลหนองหว้า อําเภอบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา
• อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ นายศักรินทร์ สมัยสง บ้านเลขที่ ๑๙/๑ หมู่ที่ ๒ ตําบลควนพัง อําเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
• อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้แก่ นายศุภสิทธิ์ เขื่อนแก้ว บ้านเลขที่ ๑๙๒/๑๙๖ หมู่ที่ ๑๑ ตําบลเวียงชัย อําเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย
• อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย ได้แก่ นายสุรกิจ ละเอียดดี บ้านเลขที่ ๒๐๐ หมู่ที่ ๑๓ ตําบลแหลมฟ้าผ่า อําเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
• อาชีพเพาะเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ ได้แก่ นายพิบูลย์ชัย ชวนชื่น บ้านเลขที่ ๑๙๐/๓ หมู่ที่ ๑ ตําบลสวนหลวง อําเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
• อาชีพปลูกสวนป่า ได้แก่ นายศิริวัฒน์ ศรีสระคู บ้านเลขที่ ๑๙๙ หมู่ที่ ๔ ตําบลกําแพง อําเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
• สาขาบัญชีฟาร์ม ได้แก่ นายยงยุทธ ประวัง บ้านเลขที่ ๖๕ หมู่ที่ ๖ บ้านไร่ม่วง ตําบลน้ำหมาน อําเภอเมืองเลย จังหวัดเลย
• สาขาการพัฒนาที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้แก่ นางชลาลัย ทับสิงห์ บ้านเลขที่ ๒๐ หมู่ที่ ๔ ตําบลปางสวรรค์ อําเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์
• สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช ได้แก่ นายสมชาย เจริญสุข บ้านเลขที่ ๓๖/๑ หมู่ที่ ๓ ตําบลดอนคา อําเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี
• ที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ นายจิตตรง ธนันชัย บ้านเลขที่ ๔๘/๑ หมู่ที่ ๖ ตําบลฉลอง อําเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
• สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ นางสาวจรรยา สิงห์โคตร บ้านเลขที่ ๙๒ หมู่ที่ ๘ ตําบลสระโพนทอง อําเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ
• สาขาเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ นายเมธี บุญรักษ์ บ้านเลขที่ ๙๘/๘๗ หมู่ที่ ๑ ตําบลปาเสมัส อําเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

 

สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 13 สถาบัน
• กลุ่มเกษตรกรนา ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทํานาบ่อทอง ที่ทําการกลุ่ม เลขที่ ๖๙/๒ หมู่ที่ ๑ ตําบลบ่อทอง อําเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์
• กลุ่มเกษตรกรทำสวน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทําสวนคุณภาพตําบลเหมืองง่า ที่ทําการกลุ่ม เลขที่ ๑๙๑/๑ หมู่ที่ ๘ ตําบลเหมืองง่า อําเภอเมืองลําพูน จังหวัดลําพูน
• กลุ่มเกษตรกรทําไร่ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรปลูกสับปะรดทางเกวียน ที่ทําการกลุ่ม เลขที่ ๖๓/๑ หมู่ที่ ๒ ตําบลทางเกวียน อําเภอแกลง จังหวัดระยอง
• กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านคําแม่นาง-สามแยก ที่ทําการกลุ่ม เลขที่ ๒๐๖ หมู่ที่ ๔ ตําบลหนองซน อําเภอนาทม จังหวัดนครพนม
• กลุ่มเกษตรกรทำประมง หรือกลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ ชมรมประมงพื้นบ้าน ตําบลปะนาเระ ที่ทําการกลุ่ม หมู่ที่ ๕ ตําบลปะนาเระ อําเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
• กลุ่มเกษตรกรแปรรูปสัตว์น้ำ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนปลาร้าบองท่าตูม ที่ทําการกลุ่ม เลขที่ ๑๖๒/๑ หมู่ที่ ๕ ตําบลหมูม่น อําเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
• กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจักสานต้นคลุ้มบ้านวังตง ที่ทําการกลุ่ม เลขที่ ๓ หมู่ที่ ๔ ตําบลนาทอน อําเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
• กลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนบ้านฉลอง ที่ทําการกลุ่ม โรงเรียนบ้านฉลอง เลขที่ ๔๘/๑ หมู่ที่ ๖ ตําบลฉลอง อําเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
• กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านไร่สุขขุม ที่ทําการกลุ่ม เลขที่ ๔๓/๑ หมู่ที่ ๔ ตําบลห้วยยั้ง อําเภอพรานกระต่าย จังหวัดกําแพงเพชร
• สถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทาน ได้แก่ กลุ่มบริหารการใช้น้ำฝายโป่งนก คลอง RMC คู ๑-๑๐, 1L-RMC ที่ทําการฝ่ายส่งน้ำและบํารุงรักษาที่ ๒ หมู่ที่ ๑๒ บ้านหนองยาวพัฒนา ตําบลเวียง อําเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
• ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภทข้าวหอมมะลิ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านโนนกระสัง ที่ทําการกลุ่ม เลขที่ ๔๗ หมู่ที่ ๖ ตําบลกระเบื้องใหญ่ อําเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
• ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภทข้าวอื่น ๆ ได้แก่ ศูนย์ข้าวชุมชนตําบลท่าเยี่ยม ที่ทําการกลุ่ม เลขที่ ๖๖ หมู่ที่ ๑ ตําบลท่าเยี่ยม อําเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
• วิสาหกิจชุมชน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย ที่ทําการกลุ่ม เลขที่ ๔๖ หมู่ที่ ๒ ตําบลปอแดง อําเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 7 สหกรณ์
• สหกรณ์การเกษตร ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรลําพระเพลิง จํากัด ทําการสหกรณ์ เลขที่ ๔ หมู่ที่ ๘ ตําบลเมืองปัก อําเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
• สหกรณ์โคนม ได้แก่ สหกรณ์โคนมสีคิ้ว จำกัด ที่ทําการสหกรณ์ เลขที่ ๑๑๔/๗ หมู่ที่ ๓ ตําบลลาดบัวขาว อําเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
• สหกรณ์นิคม ได้แก่ สหกรณ์นิคมพิชัยพัฒนา จำกัด ที่ทําการสหกรณ์ เลขที่ ๘๔ หมู่ที่ ๗ ตําบลท่ามะเฟือง อําเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
• สหกรณ์ออมทรัพย์ ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูภูเก็ต จำกัด ที่ทําการสหกรณ์ เลขที่ ๖/๔ หมู่ที่ ๓ ตําบลรัษฎา อําเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
• สหกรณ์ร้านค้า ได้แก่ ร้านสหกรณ์วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ จำกัด ที่ทําการสหกรณ์ เลขที่ ๙ ตําบลศรีภูมิ อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
• สหกรณ์บริการ ได้แก่ สหกรณ์รถเล็กหาดใหญ่ จํากัด ที่ทําการสหกรณ์ เลขที่ ๘๙ ซอย ๙ ตําบลหาดใหญ่ อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
• สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ได้แก่ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านซ่อง จํากัด ที่ทําการสหกรณ์ เลขที่ ๙๙ หมู่ที่ ๗ ตําบลหนองกระเจ็ด อําเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

นอกจากนี้ได้มีการคัดเลือกปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2563 จำนวน 3 สาขา ได้แก่

1) นายสุทัศน์ รอดคลองตัน เป็นปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน
สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง
2) นายพันศักดิ์ จิตรรัตน์ เป็นปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน
สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น
3) นายปรีชา ศิริ เป็นปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน
สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย

 

You May Have Missed!

1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ เตรียมจัดงานใหญ่ส่งท้ายปี งานมหกรรม ภูมิพลังแผ่นดิน
1 Minute
กิจกรรมเพื่อสังคม
ไม่สนคำ ว่าทำบุญเอาหน้า…เสี่ยเดย์ นักบุญเจ้าเดิมช่วยการศึกษาอีกกว่า 3 ล้าน
0 Minutes
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จัดงานวันสถาปนาครบรอบ 53 ปี ชูแนวคิด ทุ่มเทอย่างชาญฉลาด เพื่อสร้างประสบการณ์สุขภาพที่เหนือชั้น เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เพิ่มการยอมรับและมั่นใจกับผู้มารับบริการ
0 Minutes
โรงพยาบาล
สำนักงานเลขานุการ (กลุ่มงานนิติการ) สำนักการแพทย์ ประชุมคณะทำงานพิจารณาปรับปรุงแก้ไขระเบียบกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ ครั้งที่ 3/2567