เกษตรฯ เดินเกมรุก รับ New normal จากวิกฤตโควิด พัฒนาปฏิทินสินค้าเกษตรระดับจังหวัด สร้างความเชื่อมั่น แหล่งอาหารเกษตรของประเทศ

เกษตรฯ เดินเกมรุก รับ New normal จากวิกฤตโควิด พัฒนาปฏิทินสินค้าเกษตรระดับจังหวัด สร้างความเชื่อมั่น แหล่งอาหารเกษตรของประเทศ

 

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญของการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมด้านอาหารของแต่ละจังหวัด เพราะจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม และพฤติกรรมปกติ ที่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร (New normal) ได้ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านความมั่นคงอาหารของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึงแหล่งอาหาร ทั้งจากสถานการณ์ปิดเมืองและรายได้ที่ลดลงของประชาชน และอาจทวีความ รุนแรงมากขึ้น

ทั้งนี้ที่ผ่านมา นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมาย สศก. พัฒนาระบบสารสนเทศการเกษตรเชิงพื้นที่เพื่อการบริหารจัดการความ มั่นคงด้านอาหาร นาเทคโนโลยี ดิจิทัล ของ Big Data มาใช้ในการพัฒนาระบบการจัดทาปฏิทินผลผลิตสินค้าเกษตรราย เดือนระดับจังหวัด (Provincial Crop Calendar) เพื่อเป็นเครื่อง มือสำคัญในการวางแผนพัฒนาการผลิตให้สอดคล้อง กับความต้องการของตลาดที่ปรับเปลี่ยนทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ที่วิกฤต สำหรับข้อมูลปฏิทินฯ จังหวัด จะช่วยให้ทราบถึงผลผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นแหล่งอาหารสำคัญ ว่าอยู่พื้นที่อำเภอ ใด ตำบลใด พร้อมจะออกสู่ตลาดปริมาณเท่าใด โดย สศก. จะพัฒนาระบบสู่ข้อมูลมีความแม่นยำ และมีการคาดการณ์ ล่วงหน้าทั้งในฤดูการเพาะปลูกปัจจุบัน และคาดการณ์ผลิตในฤดูการเพาะปลูกถัดไปได้อีกด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งในแง่ของการค้าขายและการกำหนดมาตรฐานสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น มีการเชื่อมโยงข้อมูลความ ต้องการของตลาด เช่น จุดรับชื้อ โรงงาน ตลาดค้าส่งค้าปลีก สหกรณ์การเกษตร Modern Trade จะทาให้เกิดระบบการ กระจายสินค้าเกษตรทั้งภายในจังหวัดและข้ามจังหวัดด้วยต้นทุนโลจิสติกส์ที่ลดลง และส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชนและ ท้องถิ่นได้

นอกจากนี้ ยังเชื่อมโยงข้อมูลเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อเสริมสร้างการพึ่งพาตนเองของเกษตรกร ข้อมูลการรับรอง มาตรฐาน GAP เพื่อพัฒนาคุณภาพการผลิตสินค้าเกษตร ข้อมูลพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน เกษตรอินทรีย์ และ Zoning by Agri – Map เพื่อสร้างความยั่งยืน ในการผลิตสินค้าเกษตร รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Information Center: AIC) ของจังหวัด เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของสินค้า เกษตรให้เพียงพอและสอดคล้องกับความต้องการตลาดร่วมกัน

เลขาธิการ สศก. กล่าวทิ้งท้ายว่า การพัฒนาระบบสารสนเทศการเกษตรเชิงพื้นที่เพื่อการบริหารจัดการความ มั่นคงด้านอาหาร สู่การจัดทำปฏิทินผลผลิตสินค้าเกษตรรายเดือนระดับจังหวัด ต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องของกระทรวงเกษตรฯ ทั้งส่วนกลางและระดับพื้นที่ อาทิ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมวิชาการเกษตร กรมการข้าว กรมส่งเสริมสหกรณ์ รวมทั้งบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ สภาหอการค้าไทย สภา อุตสาหกรรม รวมถึงองค์กรเกษตร เช่น สภาเกษตรกร ซึ่งจะเชื่อมโยงข้อมูลอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมตั้งแต่ระดับตาบล อำเภอ และจังหวัด ทั้งนี้ เมื่อ สศก. พัฒนาระบบสมบูรณ์ ทางศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ National Agricultural Big Data Center : NABC) จะเผยแพร่เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ครอบคลุมถึงระดับพื้นที่ในการ บริหารจัดการสินค้าเกษตรเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศว่าจะสามารถเข้าถึงอาหาร ได้อย่างเพียงพอตลอดเวลา