พื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาจัดสรรน้ำไปแล้ว ร้อยละ 97 ขณะที่พายุฤดูร้อนรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลดีช่วยเพิ่มระดับน้ำในเขื่อนได้ระดับหนึ่ง

พื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาจัดสรรน้ำไปแล้ว ร้อยละ 97 ขณะที่พายุฤดูร้อนรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลดีช่วยเพิ่มระดับน้ำในเขื่อนได้ระดับหนึ่ง

 

 

 

ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษาอุทกวิทยา กรมชลประทาน เปิดเผยผลการจัดสรรน้ำหน้าแล้งปี 2562/63 ทั้งประเทศ จากแผนการจัดสรรน้ำ 17,699 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 16,225 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 92 ในลุ่มเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 4,500 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 4,363 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 97 สำหรับผลการเพาะปลูกข้าวนาปรังปี 2562/63 ในเขตชลประทาน (ข้อมูล ณ วันที่ 15 เม.ย.63) ทั้งประเทศ แผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง 2.31 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 4.21 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 182.08 ของแผนฯ เก็บเกี่ยวแล้ว 2.56 ล้านไร่ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา แผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง – ล้านไร่ (รณรงค์งดทำนาต่อเนื่องหน้าแล้ง ปี 2562/63) เพาะปลูกแล้ว 1.98 ล้านไร่ เก็บเกี่ยวแล้ว 1.75 ล้านไร่ ทั้งนี้ส่วนใหญ่เกษตรกรใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่

อย่างไรก็ตามในช่วงนี้ได้รับอิทธิพลจากพายุฤดูร้อน ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีน้ำไหลเข้าเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ มากขึ้น นับเป็นข่าวดีที่ระดับน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้น ทั้งนี้มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 30 ของความจุอ่าง จำนวน 24 แห่ง คือ ภูมิพล สิริกิติ์ แม่งัดสมบูรณ์ชล แม่กวงอุดมธารา กิ่วคอหมา แควน้อยบำรุงแดน แม่มอก ห้วยหลวง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแชะ ลำนางรอง สิรินธร ป่าสักชลสิทธิ์ ทับเสลา กระเสียว ขุนด่านปราการชล คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล และประแสร์