อธิบดีกรมปศุสัตว์ ออกประกาศคุมม้าลาย ให้อยู่ในพ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ ห้ามเคลื่อนย้ายม้า ลา ล่อ ม้าลาย อูฐ ทั้งประเทศ จนกว่าสถานการณ์โรคจะสงบ
พร้อมเร่งหารือ ใช้วัคซีนคุมโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า 3ระยะ เดินหน้าประกาศกรมปศุสัตว์
เรื่อง ชะลอการนำเข้า ส่งออก หรือ นำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์ หรือซากสัตว์ ประเภทม้า ลา ล่อ และอฐู สรุปยอดม้าตายสะสม199ตัว ป่วย224ตัว อัตราการตาย88.83%
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงมาตรการควบคุมป้องกันโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า ว่าพบโรคในพื้นที่ 6 จังหวัด คือ นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี เพชรบุรี ชัยภูมิ และราชบุรี มีจำนวนสัตว์ป่วยสะสม 224 ตัว ตายสะสม 199 ตัว สัตว์ป่วยคงเหลือ 25 ตัว คิดเป็นอัตราการตาย 88.83 %
อย่างไรก็ตามจากการสำรวจประชากรสัตว์ (4 เมษายน 2563) มีจำนวนม้า 11,869 ตัว ในผู้เลี้ยงม้า 1,850 ราย โดยเลี้ยงม้ามากที่สุดในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา (1,790 ตัว) เพชรบุรี (826 ตัว) กรุงเทพมหานคร (740 ตัว) ราชบุรี (687 ตัว) และชลบุรี (567 ตัว)
สรุปข้อมูลจากการสอบสวนโรค คาดว่าเชื้อเข้ามาในพื้นที่ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2563 โดยมีพายุฤดูร้อนเข้ามาช่วงกลางเดือนมีนาคม 2563 ทำให้มีแมลงจำนวนมาก ลมแรงช่วยทำให้แมลงบินได้ไกลเพิ่มขึ้น แมลงเป็นพาหะก่อโรค ทำให้ม้าป่วยตายพร้อมกันหลายฟาร์มในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งการแพร่โรคในพื้นที่อาจเกิดจากการเคลื่อนย้ายม้าภายในพื้นที่ การใช้แหล่งน้ำร่วมกัน และมีรถขนส่งอาหารเข้าออกฟาร์มคันเดียวกัน ขณะนี้อยู่ระหว่างการหาข้อมูลเพิ่มเติมโดยการสำรวจโรคในม้าลายในรัศมี 100 กม. รอบจุดเกิดโรค
การดำเนินการของกรมปศุสัตว์ ดังนี้
1. การแต่งตั้งชุดปฏิบัติการสอบสวนโรคและควบคุมโรค
2. แถลงข่าวพบโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้าครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563
3. การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคม้าจังหวัดนครราชสีมา
4. การประชุม Video Conference สั่งการปศุสัตว์จังหวัดเฝ้าระวังโรคม้าทั่วประเทศ
5. การประชุมVideo Conference หน่วยงานภาคีเครือข่ายหารือแนวทางการควบคุมโรค
6. ตรวจติดตามสถานการณ์ของโรคและเร่งรัดการควบคุมโรค
7. รายงานการพบโรคไปยัง OIE (WAHIS Alert)
กรมปศุสัตว์มีนโยบาย แนวทาง มาตรการในการควบคุมโรค
1. สั่งการให้ทุกจังหวัดชะลอการเคลื่อนย้ายม้า ลา ล่อ ม้าลาย อูฐ ทั้งประเทศ จนกว่าโรคจะสงบ
2. ขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศเขตเฝ้าระวังโรคระบาดสัตว์เพื่อห้ามไม่ให้เคลื่อนย้ายสัตว์
3. ขอความร่วมมือ ศอฉ. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการตรวจสอบการเคลื่อนย้ายทั้งประเทศ
4. สั่งการให้ด่านกักกันสัตว์ทั้งประเทศเข้มงวดตรวจสอบการเคลื่อนย้าย
5. ประสานภาคีเครือข่าย สมาคม ชมรม เจ้าของ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช องค์การสวนสัตว์ และหน่วยงานราชการต่างๆ ที่เลี้ยงม้า ลา ล่อ ม้าลาย อูฐ ให้เข้มงวดเฝ้าระวังโรค
6. ประกาศให้ม้าลายเป็นสัตว์ควบคุมในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558
7. สั่งการให้ทุกจังหวัดเข้มงวดเฝ้าระวังโรคครอบคลุมทุกพื้นที่ หากพบสัตว์ มีไข้อุณหภูมิมากกว่า 38.5 °C (102 °F) ซึม ไม่กินหญ้าหรืออาหาร บวมน้ำบริเวณขมับหรือคอ ตาอักเสบแดง ชัก กระวนกระวาย ให้ดำเนินการ โดยรายงานการพบโรคเบื้องต้นในระบบ E-Smart Surveillance ทำบันทึกการสั่งกักทั้งฟาร์ม/คอก การเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจที่สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ห้ามผ่าซาก ตั้งด่านเพื่อควบคุมเคลื่อนย้าย ให้คำแนะนำเจ้าของสัตว์ในการจัดการม้าป่วย ม้าร่วมฝูง ห้ามเคลื่อนย้ายประกาศเขตโรคระบาดสัตว์ชั่วคราว
นอกจากนี้พิจารณาเชิงนโยบาย เกี่ยวกับการใช้วัคซีน โดยหารือผู้เชี่ยวชาญ และให้สอดคล้องตามหลักการองค์การสุขภาพสัตว์โลก OIE เพื่อผล 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 หยุดการระบาดโรค (outbreak) ระยะที่ 2 เฝ้าระวัง และระยะที่ 3 คืนสถานะประเทศ ปลอดโรค country freedom ใน 2 ปี และขอความร่วมมือเจ้าของม้า สร้างมุ้งที่คอกม้า เพื่อป้องกันแมลง สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้
ทั้งนี้ได้ออกประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง ชะลอการนาเข้า ส่งออก หรือ นำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์ หรือซากสัตว์ ประเภทม้า ลา ล่อ และอฐู พ.ศ.2563 ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African horse plague หรือ African horse sickness) ในท้องที่อาเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา กรมปศุสัตว์จึงได้ รายงานไปยังองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) ซึ่งโรคระบาดสัตว์ชนิดดังกล่าวสามารถแพร่กระจาย ไปอย่างกว้างขวางได้ โดยมีสาเหตุจากการนาสัตว์ป่วยหรือสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคหรือซากสัตว์ ซ่ึงป่วยหรือตายด้วยโรคระบาดดังกล่าวไปยังท้องที่ต่าง ๆ และเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้โรคระบาดสัตว์ ชนิดดังกล่าวมีโอกาสแพร่กระจาย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงม้า ลา ล่อ และอูฐในประเทศ อาศัยอานาจตามความในมาตรา 6และมาตรา31 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558อธิบดีกรมปศุสัตว์จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1.ให้ชะลอการนาเข้า ส่งออก หรือนาผ่านราชอาณาจักรซ่ึงสัตว์หรือซากสัตว์ประเภท ม้า ลา ล่อ และอูฐ ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
ข้อ 2.ประกาศฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับต้ังแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
นอกจากนั้นเพื่อเป็นการแก้ปปัญหาร่วมกันทั้งระบบจะมีการประชุมคณะทำงานวันศุกร์(10เม.ย.)นี้เวลา10.00น.ที่กรมปศุสัตว์ ที่มีการตั้งคณะทำงาน4ฝ่ายไปแล้วเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงต้นตอการเกิดโรค เพราะเพิ่งเกิดในไทยครั้งแรก โดยมีนายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรฯเป็นประธานในที่ประชุมด้วยเพื่อแก้ปัญหาเป็นการเร่งด่วนด้วย