กองอำนวยการน้ำแห่งชาติชี้ยั งไม่พบสัญญาณจะเกิดน้ำท่วมใหญ่ ซ้ำรอยปี 54 วอนหยุดแชร์กรณีนักวิชาการให้สั มภาษณ์เป็นข่าวเก่า ป้องกันสังคมเกิดความสับสน
ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำ แห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยถึงกรณีที่มีการเผยแพร่ ข่าวการให้สัมภาษณ์ของนักวิ ชาการเมื่อปี 2558 ที่ระบุว่าในปี 2563 จะเกิดน้ำท่วมใหญ่เหมือนปี 2554 ที่ผ่านมา และมีการส่งต่อกันในโลกโซเชี ยลมีเดียซึ่งอาจจะก่อให้เกิ ดความสับสนและตื่นตระหนกได้นั้น คณะทำงานภายใต้กองอำนวยการน้ำ แห่งชาติ (กอนช.) ได้มีการติดตามสภาพอากาศร่วมกั บหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวิ เคราะห์คาดการณ์สภาพอากาศ แนวโน้มการก่อตัวของพายุอย่างต่ อเนื่อง ประกอบด้วย กรมอุตุนิยมวิทยา และ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) ซึ่งได้ประเมินวิเคราะห์ร่วมกัน จึงขอชี้แจงใน 4 ประเด็นหลัก คือ 1.การให้สัมภาษณ์ดังกล่าวเป็ นการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศล่ วงหน้าและระยะยาวถึง 5 ปี (ปี 2558 – 2563)
ดังนั้น จะมีความคลาดเคลื่อนสูง 2.ในปี 2554 เป็นปีที่เกิดปรากฏการณ์ลานี ญากำลังแรง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งให้เกิ ดฝนตกหนัก แต่ในปี 2563 ยังไม่เกิดปรากฏการณ์ลานีญาแต่ อย่างใด 3.จากการคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนล่ วงหน้า 3 เดือน ช่วงเดือน เม.ย. – มิ.ย. 63 จะมีฝนตกต่ำกว่าค่าปกติ 5% ยกเว้นภาคใต้ ส่วนเดือน ส.ค. – ต.ค.63 จะมีฝนตกเพิ่มขึ้น 4.เมื่อเปรียบเทียบสภาพฝนตกปี 2554 กับ ปี 2563 จะพบว่า ใน ปี 2554 ฝนเริ่มตกตั้งแต่ปลายเดือน เมษายน และเกิดฝนตกหนักในประเทศไทยซึ่ งเริ่มตกตั้งแต่ภาคเหนือ โดยมีฝนมากกว่าค่าปกติเกิดขึ้ นตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา ประกอบกับมีพายุเข้ าประเทศไทยโดยตรง 1 ลูก ขณะที่พายุอีก 4 ลูกมีอิทธิพลทำให้ฝนตกหนักเพิ่ มขึ้นเท่านั้น ส่วนปัจจุบันจากการคาดการณ์ ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสสน. ยังไม่พบสัญญาณการเกิดฝนที่ จะตกหนักตั้งแต่ต้นฤดูฝน รวมไปถึงในปี 2554 ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำเก็บกับต้ นฤดูฝน มีปริมาณน้ำมากกว่า 50% แต่ปี 2563 น้อยกว่า 30% โดยเฉพาะ 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ ปัจจุบันมีช่องว่างรองรับน้ำอยู่ มากถึง 16,000 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งหากมีฝนตกแบบปี 2554 แหล่งน้ำต่างๆ จะสามารถเก็บกักปริมาณน้ำฝนที่ ตกได้ ดังนั้น โอกาสเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมแบบปี 2554 หรือเหตุบ่งชี้ที่จะก่อให้เกิ ดความรุนแรงน้ำท่วมจะเท่ากับปี 2554 นั้นจึงไม่มีความเป็นไปได้แต่ อย่างใด
อย่างไรก็ตาม สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ จะประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องภายใต้ คณะทำงานกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ในการติดตามสภาพอากาศเป็นระยะๆ และประเมินแนวโน้มสถานการณ์น้ำ ปริมาณฝน พายุ รวมถึงแผนบริหารจัดการน้ำอย่ างรอบคอบ ใกล้ชิด มีการเตรียมการรับมือล่วงหน้า และแจ้งเตือนหน่วยงานเกี่ยวข้อง และประชาชน หากมีแนวโน้มของสภาพอากาศที่ จะส่งผลกระทบในบริเวณกว้างโดยทั นที