เกษตรกรสวนยาง เฮ…. รับเงินถ้วนหน้าจ่ายงวดแรกเท 8พันล้านบาทแล้วประกันราคายาง17ล้านไร่ กว่า1.7ล้านราย

เกษตรกรสวนยาง เฮ…. รับเงินถ้วนหน้าจ่ายงวดแรกเท 8พันล้านบาทแล้วประกันราคายาง17ล้านไร่ กว่า1.7ล้านราย

 

เมื่อวันที่ 9 พ.ย.62 นายสุนันท์ นวลพรหมสกุล รักษาการผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่าเกษตรกรชาวสวนยาง(เจ้าของ ผู้เช่าทำ และคนกรีดยาง)ที่ขึ้นทะเบียนไว้ก่อนวันที่12ส.ค.จะได้รับเงินจากโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ไม่เกิน25ไร่ต่อราย ได้เริ่มจ่ายงวดแรกกว่า 8 พันล้านบาท ตั้งแต่วัน ที่ 1 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป เบื้องต้นมีเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนและแจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยางกับ กยท. 1,711,252 ราย แบ่งเป็นยางแผ่นดิบ 150,803 ราย น้ำยางสด 470,767 ราย และยางก้อนถ้วย 790,447 ราย คิดเป็นพื้นที่รวม 17,201,391 ไร่

สำหรับเงินประกันรายได้แต่ละเดือน จะถูกแบ่งระหว่างเกษตรกรเจ้าของสวนยางและคนกรีดยางในสัดส่วน 60:40 (ตามสัดส่วนการจ้างส่วนใหญ่ของข้อมูลขึ้นทะเบียน) โดยราคากลางจะกำหนดโดยคณะกรรมการกำหนดราคากลางอ้างอิงงวดแรก (ประกาศ ณ วันที่ 25 ต.ค.2562) กำหนดราคายางแผ่นดิบ 38.97 บาท/กก. น้ำยางสด 37.72 บาท/กก. และยางก้อนถ้วย 16.19 บาท/กก.

“กยท. กำหนดหลักเกณฑ์ของโครงการ โดยผู้มีสิทธิ์ร่วมโครงการต้องเป็นเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนและแจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยางกับ กยท. ก่อนวันที่ 12 สิงหาคม 2562 และต้องมีสวนยางเปิดกรีดแล้ว อายุไม่ต่ำกว่า 7 ปี กำหนดให้ประกันรายได้ รายละไม่เกิน25 ไร่ ที่ปริมาณผลผลิตยาง (ยางแห้ง) 240 กก./ไร่/ปี หรือ 20 กก./ไร่/เดือน ทั้งนี้ ยังเปิดโอกาสให้เกษตรกรชาวสวนยางแจ้งขึ้นทะเบียนเพิ่มเติมได้ ณ กยท. ทุกสาขา” นายสุนันท์ กล่าว

You May Have Missed!

0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
สาวผวาหนัก ถูกโจรซุ่มชิงทรัพย์ในลานจอดรถห้างดังย่านแคราย พบคนร้ายเป็นหนี้กว่า 5 แสนบาท
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ขยี้ตารัวๆ! Ar-Lek Home ทาวน์โฮมหลังใหญ่ สไตล์มินิมอล ย่านนครปฐม ราคาเริ่มต้น 1.99 ล้านบาท
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ร่วมสร้างกรุงเทพในฝันประชาธิปัตย์ก้าวใหม่ กรุงเทพเผชิญวิกฤติทุกมิติ ฝุ่นพิษ PM 2.5  จราจร คนว่างงาน อาชญากรรมเมืองจม น้ำเน่า น้ำท่วม ฯลฯ
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สภท.) จับมือกูรูด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม จัดสัมมนาสื่อมวลชน ชู “ไฟฟ้า” คู่ “การลดคาร์บอน” หัวใจสำคัญของการพัฒนาในพื้นที่ EEC