กรมที่ดินมุ่งมั่นสร้างมาตรฐานการรังวัดทั่วประเทศ ภายใน 60 วัน

กรมที่ดินมุ่งมั่นสร้างมาตรฐานการรังวัดทั่วประเทศ ภายใน 60 วัน

 

นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมที่ดิน เปิดเผยว่าการไปติดต่องานที่สำนักงานที่ดินนั้น แต่เดิมหลายคนอาจเคยประสบพบเจอว่าต้องใช้เวลานานเป็นอย่างมาก เนื่องจากขั้นตอนที่ยุ่งยาก และข้อกฎหมายที่เจ้าหน้าที่ต้องถือปฏิบัติ แต่ปัจจุบัน ด้วยยุคสมัยนี้ที่เทคโนโลยีและระบบการจัดการด้วยนวัตกรรมที่มีคุณภาพจะสามารถช่วยให้งานของกรมที่ดินมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่กรมที่ดินมุ่งมั่นตั้งใจจะพัฒนา โดยอธิบดีกรมที่ดินได้มอบเป็นนโยบายหลัก คือเรื่อง Smart Lands Changes กรมที่ดินยุคใหม่จะต้องทันสมัย รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ โปร่งใส และใช้เทคโนโลยีนวัตกรรม เป็นเครื่องมือหลัก สิ่งที่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลง (Change) ที่สำคัญของกรมที่ดินและเป็นเรื่องที่คนจำนวนมากให้ความสนใจ และเกี่ยวข้องโดยตรงกับทุกคน คือ ระยะเวลาการนัดรังวัด

 

การให้บริการงานที่ดินเป็นเรื่องที่สำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจของประเทศ ผู้รับบริการคือประชาชนทุกระดับ ด้วยนโยบาย THAILAND 4.0 ทำให้กรมที่ดินไม่สามารถอยู่นิ่งได้จึงต้องพัฒนาการให้บริการประชาชน ด้วยการปรับปรุงการให้บริการด้านงานรังวัดครั้งใหญ่ และประกาศได้ว่า “สำนักงานที่ดินทุกแห่งสามารถนัดรังวัดได้ภายใน 60 วัน”ประเด็นหลักๆ ที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับนโยบายด้านการรังวัด มีอยู่ 2 ประเด็น คือ ด้าน Innovation ระบบการรังวัดที่มีความโปร่งใส และ ด้าน Application ที่ดิน หรือ คิวรังวัด เพื่อความรวดเร็ว การให้บริการงานด้านรังวัดของกรมที่ดิน โดยภาพรวมในปีที่ผ่านมา มีการดำเนินงาน ดังนี้

กรมที่ดินมีสำนักงานที่ดินให้บริการประชาชนทั่วประเทศ ​​จำนวน 461 แห่ง
– มีช่างรังวัดในสำนักงานที่ดินทั้งหมด​​​ จำนวน 2,784 คน
​- จำนวนคำขอรังวัดที่เกิดเฉลี่ยต่อเดือน ​​​จำนวน 35,732 เรื่อง
​- จำนวนคำขอรังวัดที่ดำเนินการแล้วเสร็จเฉลี่ยต่อเดือน ​จำนวน 34,788 เรื่อง
​- ช่างรังวัดปฏิบัติงานแล้วเสร็จโดยเฉลี่ย 14 ราย ต่อคน ต่อเดือน (มาตรฐาน 12 ราย ต่อคน ต่อเดือน) ในภาพรวมถือว่าดำเนินการได้สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
– ปัจจุบันระยะนัดรังวัด (คิวรังวัด) โดยเฉลี่ยทั่วประเทศ สามารถนัดรังวัดได้ภายใน 60 วัน จากเมื่อก่อนมีระยะเวลาเฉลี่ยถึง 127 วัน งานรังวัดบางแห่งมีระยะนัดรังวัดมากที่สุดถึง 700 วัน ซึ่งสามารถปรับปรุงลดลงอย่างมาก

 

ในด้านความสำเร็จของสำนักงานที่ดินในด้านงานรังวัด
1. สำนักงานที่ดินที่สามารถนัดรังวัดได้ 15 – 60 วัน จำนวน 440 แห่ง (ร้อยละ 95.5)
2. สำนักงานที่ดินที่สามารถนัดรังวัดได้ 61 – 90 วัน จำนวน 14 แห่ง (ร้อยละ 3.0)
3. สำนักงานที่ดินที่สามารถนัดรังวัดได้มากกว่า 90 วัน จำนวน 7 แห่ง (ร้อยละ 1.5)
โดยสำนักงานที่ดินที่สามารถบริหารจัดการงานฝ่ายรังวัดได้แล้วเสร็จ 100 % มี 3 จังหวัด คือ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพะเยา และจังหวัดชัยนาท

 

ตลอดเวลาที่ผ่านมากรมที่ดินมีความมุ่งมั่นพัฒนาระบบสารสนเทศการรังวัดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ และทันสมัย ใน 3 เรื่อง คือ

1) พัฒนาระบบสารสนเทศที่ดินด้านงานรังวัด เช่น การพัฒนาโปรแกรมงานรังวัด งานบริหารงานช่าง แผนที่ในระบบดิจิทัล รวมทั้งพัฒนาโปรแกรมงานรังวัดให้สามารถใช้งานได้บน Smart Phone
2) พัฒนาระบบงานโดยให้มีระบบการจองคิวรังวัดผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
3) ใช้เครื่องรังวัดทำแผนที่ที่ทันสมัย เช่น กล้องคำนวณและประมวลผลรวม เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมในระบบ RTK GNSS Network ซึ่งจะจัดให้เพียงกับการใช้งานทั่วประเทศ

​นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมที่ดินยังกล่าวเพิ่มเติมว่า กรมที่ดินมีความมุ่งมั่นพัฒนาด้านงานรังวัดทั้งประเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะบริหารจัดการระยะนัดรังวัด (คิวรังวัด) ทุกแห่งให้น้อยกว่า 60 วัน และจะบริหารงานรังวัดให้แล้วเสร็จ 15 ราย ต่อคน ต่อเดือน ขึ้นไป และคาดหวังว่า ภายในระยะเวลา 3 – 5 ปีนี้ กรมที่ดินจะมีระบบงานรังวัด และทำแผนที่ระบบดิจิทัลที่ทันสมัย เป็นผู้นำในด้านงานแผนที่ของประเทศ สามารถให้บริการประชาชนและภาครัฐนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพด้วยมาตรฐานสากล

 

You May Have Missed!

1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
คณะกรรมการบริหารโรงเรียนปลูกปัญญา แต่งตั้ง “บิ๊กทิน” ผจก.ฟุตซอลทีมชาติไทย  เป็นประธานที่ปรึกษาโรงเรียน
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ เตรียมจัดงานใหญ่ส่งท้ายปี งานมหกรรม ภูมิพลังแผ่นดิน
1 Minute
กิจกรรมเพื่อสังคม
ไม่สนคำ ว่าทำบุญเอาหน้า…เสี่ยเดย์ นักบุญเจ้าเดิมช่วยการศึกษาอีกกว่า 3 ล้าน
0 Minutes
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จัดงานวันสถาปนาครบรอบ 53 ปี ชูแนวคิด ทุ่มเทอย่างชาญฉลาด เพื่อสร้างประสบการณ์สุขภาพที่เหนือชั้น เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เพิ่มการยอมรับและมั่นใจกับผู้มารับบริการ