“เกษตรอินทรีย์ได้เกิดแน่ กษ.เปิดทางน้ำหมักจุลินทรีย์ จากสาหร่ายทะเลน้ำลึก กำจัดวัชพืชใช้ทดแทน สารเคมีอันตราย พาราควอต เร่งกรมวิชาการเกษตร ขึ้นทะเบียนโดยเร็ว กรมการข้าว ยินดีร่วมทดสอบในแปลงจริง”
เมื่อวันที่ 28 ต.ค.62 นายวรยุทธ บุญมี ผอ.กองนโยบายและเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรกรรมยั่งยืน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า หลังจากที่นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯได้ลงนามยกเลิกการใช้สารเคมีวัตถุอันตรายทางการเกษตร3ชนิด พาราควอต ไกลโฟเซล คลอร์ไพรีฟอส จึงให้หน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯ ที่เกี่ยวข้อง หรือภาคเอกชน ภาคเกษตรกร ดำเนินการทดสอบ ทางเลือก หรือจัดหาสาร ทดแทนสารเคมี วัตถุอันตรายทางการเกษตร3ชนิด โดยสั่งการปลัดกระทรวงเกษตรฯหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ข้อสรุปตามหนังสือ กษ.1217 เรื่องรายงานผลการประชุมหารือการใช้จุลินทรีย์ เพื่อเป็นทางเลือกหรือทดแทนสารเคมีกำจัดวัชพืช
ทั้งนี้ปลัดกระทรวงเกษตรฯผ่านหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง ได้รับหนังสือนำเรียนปลัดกระทรวงเกษตรฯ จากบริษัทวอน ซิสเต็มส์ จำกัด ได้ขอโอกาสและมีข้อเสนอผลการวิจัย ตั้งแต่ปีพ.ศ.2547 จนถึงปัจจุบัน ในเรื่องการใช้จุลินทรีย์ “ไบโอกรีนเสท “โดยใช้สาหร่ายทะเลน้ำลึกเป็นหลัก ในการหมักจุลินทรีย์ รวมทั้งมีผลงานเอกสาร และพื้นที่ปฏิบัติจริง ณ บ้านดอนกล่ำ อ.สรรพยา จ.ชัยนาท
โดยนายสัตวแพทย์อภัย สุทธิสังข์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการ สั่งการให้กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรกรรมยั่งยืน ได้จัดประชุมหารือการใช้จุลินทรีย์ เพื่อเป็นทางเลือกหรือทดแทนสารเคมีกำจัดวัชพืช ซึ่งมีกรมวิชาการเกษตร กรมประมง กรมการข้าว กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.)ให้นายฐาปนรมย์ แจ่มใส กรรมการผู้จัดการบริษัทวอนฯ ได้นำเสนอข้อมูล ชี่แจงผลวิจัยการใช้จุลินทรีย์เพื่อกำจัดวัชพืช นำมาทดแทนสารเคมี 3ชนิด ที่คณะกรรมการวัตถุอันตราย ให้ยกเลิกการใช้
ผลการประชุมได้ข้อสรุปจุลินทรีย์ ไบโอกรีนเสท เป็นผลิตภัณฑ์ ของบริษัทวอน มีต้นทุนการผลิตใกล้เคียงกับ สารเคมีอันตราย พาราควอต หากภาครัฐสนับสนุนการผลิต มั่นใจว่าจะมีต้นทุนถูกกว่าอย่างแน่นอน
สำหรับรายละเอียดของจุลินทรีย์ ไบโอกรีนเสท ของบริษัทที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนอย่างกว้างขวาง เพื่อให้มีความชัดเจนที่ชี้แจง ผลกระทบต่างๆ ที่มีที่ไป ระหว่างหน่วยงาน ยังมีข้อโต้แย้งที่ยังไม่ชัดเจนในบางประเด็นเพราะยังไม่มีแล็ปที่มาตรฐาน จึงใช้แล็ปต่างประเทศ อยู่ระหว่างตรวจวิเคราะห์
ข้อสรุปเป็นมติที่ประชุม หากได้ผลจริงตามที่เสนอจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรโดยรวมจึงให้บริษัท นำผลิตภัณฑ์ ไบโอกรีนเสท ไปยื่นต่อกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิชาการเกษตร เพื่อทำการตรวจสอบมีส่วนประกอบใดบ้างที่มีกระทบระบบนิเวศน์ เมื่อทราบวิเคราะห์จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิชาการเกษตร แล้วจึงนำไปยื่นจดทะเบียนพร้อมกับดำเนินการทดสอบในพื้นที่จริง ซึ่งกรมการข้าว ยินดีร่วมทดสอบในพื้นที่จริง หากกรมวิชาการเกษตร ขึ้นทะเบียนถูกต้องแล้ว
สำหรับการใช้สาหร่ายทะเลน้ำลึกหมักจุลินทรีย์ กรมประมง ยืนยันว่าไม่เป็นปัญหา หากดำเนินการกับกรมวิชาการเกษตร แล้วกรมประมง จะร่วมดำเนินการในส่วนนี้ต่อไป
จากผลการนำเสนอผลวิชาการ ของบริษัท มติที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันว่าหากได้ผลและเป็นทางเลือกตามเสนอจะเป็นประโยชน์ต่อภาคเกษตรโดยรวม จึงเห็นให้กรมวิชาการเกษตร เป็นหน่วยงานหลักร่วมวิเคราะห์ข้อมูล ผลงานทางวิชาการ วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งให้มีการทดสอบในพื้นที่จริง สรุปรายงานให้กระทรวงเกษตรฯทราบโดยเร็ว