เกษตรกรอ้อยและแรงงาน 1.2 ล้านราย เตรียมรุกฮือแบนพาราควอตไร้เหตุผลและข้อเท็จจริงด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจกว่า5.7แสนล้านบาท หากพื้นที่ปลูกอ้อย11ล้านไร่ไม่มียาฆ่าหญ้า

เกษตรกรอ้อยและแรงงาน 1.2 ล้านราย เตรียมรุกฮือแบนพาราควอตไร้เหตุผลและข้อเท็จจริงด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจกว่า5.7แสนล้านบาท หากพื้นที่ปลูกอ้อย11ล้านไร่ไม่มียาฆ่าหญ้า

 

เมื่อวันที่ 18 ต.ค.62 นายทองคำ เชิงกลัด ประธานสหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย กล่าวถึงผลกระทบสำคัญหากแบนพาราควอต ว่า ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ค่าสารเคมี ค่าแรงงาน รวมทั้งยังเป็นข้อสงสัยเรื่อง สารทดแทนนั้นมีราคาสูงแต่คุณสมบัติไม่แน่ใจว่าทดแทนกันได้ และเครื่องจักรไม่สามารถใช้ได้ในไร่อ้อย โดยเฉพาะวัชพืชที่อยู่ในแถวหรือโคนอ้อย ที่สำคัญหากมีการตกค้างของพาราควอตจริง วัชพืชคงไม่สามารถเติบโตขึ้นมาใหม่ในพื้นที่เดิมที่เคยฉีดได้ ดังนั้น ในนามของ 4 องค์กรชาวไร่อ้อย เห็นควรให้ใช้สารดังกล่าวต่อไปอย่างมีขอบเขตตามที่ได้จัดอบรมไปก่อนหน้านี้

สหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน และสมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ในนามตัวแทนสมาชิกชาวไร่อ้อยรวม 37 สถาบันในเขตภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กว่า 4 แสนครัวเรือน รวม 1.2 ล้านราย ร่วมประกาศจุดยืนค้านการแบนพาราควอตและไกลโฟเซต เนื่องจากอ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สร้างแรงงาน รายได้เข้าสู่ประเทศปีละหลายแสนล้านบาท การใช้สารออร์แกนิกแทนสารเคมี คงไม่สามารถนำมาใช้กับการทำเกษตรอุตสาหกรรมได้ ดังนั้น การยกเลิกสารดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยอย่างมาก

ขณะเดียวกันชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยลุ่มน้ำป่าสัก สมาคมชาวไร่อ้อยเพชรบูรณ์ สมาคมชาวไร่อ้อยเขื่อนป่าสัก สระบุรี สมาคมชาวไร่อ้อยพิจิตร พิษณุโลก สมาคมชาวไร่อ้อยบึงสามพัน นำโดยนายวิชัย เปาวิมาน นายกสมาคมชาวไร่อ้อยลพบุรีกล่าวว่า ปัจจุบัน ไม่สามารถใช้แรงงานได้เหมือนเมื่อก่อน การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชพาราควอต จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ประกอบกับยังไม่มีสิ่งใดมาทดแทนได้ในทางปฏิบัติ เห็นควรให้อนุญาตใช้สารต่อไปภายใต้การจำกัดการใช้จนกว่าจะหาสารทดแทนอันเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรได้

ดร.กิตติ ชุณหวงศ์ นายกสมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย กล่าวว่าการเพาะปลูกอ้อยของไทยในพื้นที่กว่า 11 ล้านไร่ สร้างรายได้สูงกว่า 3 แสนล้านบาทต่อปี เนื่องจากเกษตรกรไม่สามารถผลิตอ้อยได้ตามเป้าหมาย กระทบเป็นลูกโซ่ ส่งผลให้โรงงานน้ำตาลขาดวัตถุดิบ ต้นทุนผลิตสูงขึ้น กระทบต่อเนื่องไปยังอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายดิบ ผลเลวร้ายที่สุด โรงงานน้ำตาลคงต้องทยอยปิดตัวลงในไม่ช้า เหตุเพราะขาดทุน

“สิ่งเหล่านี้รัฐบาลต้องไม่ปล่อยให้เกิดขึ้น ไม่เช่นนั้นผลกระทบกับมูลค่า GDP ภาคการเกษตรจะกระทบมหาศาลเป็นมูลค่าความเสียหายในการส่งออกเฉพาะน้ำตาลและผลิตภัณฑ์กว่า 94,618 ล้านบาท จากมูลค่าความเสียหายรวมกว่า 570,000 ล้านบาท และถ้ารัฐคิดจะจ่ายค่าชดเชยให้ผู้ปลูกอ้อยต้องใช้วงเงินอย่างน้อย 270,000 ล้าน โดยยังไม่รวมค่าชดเชยในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และอาจใช้ระยะเวลาในการชดเชยมากกว่า 1 ปีแน่นอน”

ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI กล่าวว่า การใช้สารเคมีเกษตร ทำให้ประเทศไทยพัฒนาเกษตรกรรมมาหลายสิบปีจนผลิตได้เกินบริโภคมากมาย ถ้าไม่ใช้สารเคมีเกษตร คือ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้เคมีเกษตร ไทยจะผลิตอาหารไม่พอกิน ถ้าไม่ใช้เคมีเกษตร แต่ใช้ปุ๋ยเคมีอาจพอกินในภาพรวม แต่บางกลุ่มจะลำบากเช่น อาจต้องใช้แรงงานใช้จอบเสียมแทน แต่แรงงานมีราคาแพงกว่า รัฐบาลจะจัดการปัญหาตามกระแส ตามความรู้สึก ตามการเมือง ไม่ใช่ข้อมูลวิชาการไม่ได้ การแบน DDT ในอดีตคนจะใช้ก็ไปแอบนำเข้าในสหรัฐฯ เมื่อมีปัญหาสารกำจัดวัชพืช เขามีวิธีควบคุมแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์และทำการค้าขายได้ ท้ายสุดเรื่องเหล่านี้จะมีผู้ได้และผู้เสียประโยชน์ ไม่ว่าจะเลือกใช้หรือแบน แต่จะชดเชยความเสียหายให้เกษตรกร และอุตสาหกรรมต่างๆอย่างไร

You May Have Missed!

1 Minute
โรงพยาบาล
สำนักอนามัยจัดกิจกรรมรณรงค์วันส้วมโลก ประจำปี 2567 ณ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
1 Minute
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จัดพิธีทำบุญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำโรงพยาบาล
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
ทรู แจกใหญ่ จัดหนัก กับ แคมเปญ “รวยคูณสอง แจกทอง แจกรถ” ร่วมกับ 8 พาร์ทเนอร์ชั้นนำ มอบโชคใหญ่ให้ลูกค้าทรู ดีแทค รวมมูลค่ากว่า 5 ล้านบาท เพียงสมัครบริการเสริม ก็มีสิทธิ์ลุ้นรับของรางวัลทันที ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 พ.ค. 68
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
คณะกรรมการบริหารโรงเรียนปลูกปัญญา แต่งตั้ง “บิ๊กทิน” ผจก.ฟุตซอลทีมชาติไทย  เป็นประธานที่ปรึกษาโรงเรียน