“กรมวิชาการเกษตร ขึ้นทะเบียนให้หลายบริษัท นำเข้าสารกูลโฟซิเนต มีอายุปี61 -67 ถึง 37ทะเบียน ทดแทน พาราควอต ไกลโฟเซต”

“กรมวิชาการเกษตร ขึ้นทะเบียนให้หลายบริษัท นำเข้าสารกูลโฟซิเนต มีอายุปี61 -67 ถึง 37ทะเบียน ทดแทน พาราควอต ไกลโฟเซต”

 

 

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในเว็บไซต์ของ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีข้อมูลการขึ้นทะเบียนสารเคมีตัวใหม่ คือสารกลูโฟซิเนต เพื่อทดแทนสารพาราควอต ไกลโฟเซต วัตถุอันตรายทางการเกษตร พบว่าในช่วงปี 2554-2560 มีการขึ้นทะเบียนสารกลูโฟซิเนตปีละ 4-7 ทะเบียน มีทั้งทะเบียนการนำเข้า ส่งออก และทะเบียนผลิต ต่อมาในปี 2561 หลังจากที่มีมาตรการห้ามนำเข้าและขึ้นทะเบียน พาราควอต และไกลโฟเซต ปรากฏว่า มีสารกลูโฟซิเนตมาขึ้นทะเบียนนำเข้า และผลิตรวม 37 ทะเบียน เพิ่มขึ้น 5-6 เท่าตัว ส่วนใหญ่ทะเบียนจะหมดอายุในปี 2567

ในปี 2554 บริษัทที่ขึ้นทะเบียนกลูโฟซิเนตคือ บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด แหล่งผลิตมาจากเยอรมนี และมาเลเซีย ขึ้นทะเบียนประเภทส่งออก และมีอีก 2 บริษัท ขึ้นทะเบียนนำเข้า และ ผลิต แหล่งผลิตมาจากมาเลเซีย มาในระยะหลังมีบริษัทขึ้นทะเบียนกลูโฟซิเนตหลายบริษัท และแหล่งผลิตส่วนใหญ่มาจากจีนโดยเฉพาะในปี 2561 ในจำนวน 37 ทะเบียน เป็นทะเบียนนำเข้า15 ทะเบียน ที่เหลือเป็นทะเบียนผลิต มีบริษัทที่ขึ้นทะเบียนทั้งหมด 16 บริษัท และมีแหล่งผลิตสารมาจากจีนถึง 34 ทะเบียน

ทั้งนี้ปีนี้ปริมาณนำเข้าพาราควอต ไกลโฟเซต คลอร์ไพริฟอส ในช่วง 6 เดือนแรกของปี มีปริมาณนำเข้า 36,066 ตัน และปริมาณคงเหลือ 34,688 ตัน และรายละเอียดเกี่ยวกับการนำเข้าสารเคมีทดแทนที่ชื่อ กลูโฟซิเนต แอมโมเนีย ในช่วง 8 เดือนแรก มีปริมาณ 1,308 ตัน