กรมชลประทาน เดินหน้าศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโคกกะเทียมและเริงราง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในพื้นที่อย่างเพียงพอ ทั้งช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และปัญหาอุทกภัย

กรมชลประทาน เดินหน้าศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโคกกะเทียมและเริงราง

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในพื้นที่อย่างเพียงพอ ทั้งช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และปัญหาอุทกภัย

กรมชลประทานเดินหน้าปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโคกกระเทียมและเริงราง จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี แก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งอย่างยั่งยืน เพิ่มน้ำต้นทุนให้กับพื้นที่ ในช่วงฤดูฝน 15,400 ไร่ และช่วงฤดูแล้ง 9,600 ไร่ ช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยและการระบายน้ำ พื้นที่น้ำท่วมในพื้นที่กว่า 9 หมื่นไร่  โดยกรมชลประทานได้จัดปัจฉิมนิเทศ โครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา โคกกะเทียมและเริงราง ในเขตลพบุรี สระบุรี โดยมีนายรัฐพล ธุระพันธ์ นายอำเภอเมืองลพบุรี เป็นประธานการประชุมปัจฉิมนิเทศฯ และ นายทินกร รัตนพัวพันธ์ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโคกกระเทียม เข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุมสำนักงานชลประทานที่ 10 ต.เขาพระงาม อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี

นายรัฐพล ธุระพันธ์ นายอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี กล่าวว่า โครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา โคกกะเทียมและเริงราง จ.ลพบุรี จ.สระบุรี เมื่อมีการปรับปรุงระบบชลประทานจะช่วยให้ชาวบ้าน เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่มีการใช้น้ำอย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้งน้ำกิน น้ำใช้ที่จะมีอย่างเพียงพอตลอดปี การจัดระดมความคิดเห็นจากภาคประชาชน จะช่วยให้การจัดการน้ำสอดคล้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทั้งยังสามารถรองรับน้ำหลากทางพื้นที่ตอนบนของเขื่อนเจ้าพระยา เป็นการนำน้ำจากคลองชัยนาท-ป่าสัก มาใช้ประโยชน์ สามารถสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับประชาชน เกษตรกร ได้เป็นอย่างดี

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโคกกะเทียม และ เริงราง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเจ้าพระยาใหญ่ ประเภทส่งน้ำและระบายน้ำ โดยใช้น้ำต้นทุนจากแม่น้ำเจ้าพระยาในการส่งน้ำให้กับพื้นที่ชลประทานไปตามคลองชลประทาน หลังจากใช้งานมาอย่างยาวนานบางส่วนชำรุดเสียหาย ทำให้ระบบชลประทานมีประสิทธิภาพการใช้งานลดลง แม้ว่าจะมีการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารชลประทานให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้บางส่วน แต่ยังไม่สามารถปรับปรุงให้ได้ประสิทธิภาพดังเดิมทั้งโครงการได้ กรมชลประทาน จึงมีแผนงานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโคกกะเทียม และ เริงราง จังหวัดลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2566-2567

สำหรับโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโคกกะเทียม มีแผนงานปรับปรุงโครงการที่สำคัญ ประกอบด้วย แผนการปรับปรุงระบบคลองส่งน้ำและระบบคลองระบายน้ำ โดยการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารชลประทาน 182 แห่ง ถนนคันคลอง 139.39 กิโลเมตร คลองส่งน้ำ 90.45 กิโลเมตร ขุดลอกตะกอนคลองระบายน้ำรวม 2.86 ล้าน ลบ.ม. ซ่อมแซมถนนคันคลองระบาย 1.48 ล้าน ตร.ม. แผนบรรเทาอุทกภัยและการระบายน้ำ การปรับปรุง ปตร.กลางบางคู้ ปตร.บางเพลิง รวมทั้งการปรับปรุงขุดลอกคลองระบายสายสำคัญในพื้นที่ อาทิเช่น คลองระบายใหญ่เริงราง, คลองระบายใหญ่มหาราช, คลองระบายใหญ่ชัยนาท-ป่าสัก3 ฯ เป็นต้น แผนการปรับปรุงแก้มลิงที่สำคัญในพื้นที่ 6 แห่ง ประกอบด้วย หนองช้างทะลุ หนองสมอใส หนองน้ำพล แก้มลิงบางลี่ หนองกระพุ่ม และบึงหางสิงห์ รวมพื้นที่ 533.42 ไร่ เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง แผนพัฒนาพื้นที่ลุ่มต่ำท่าวุ้ง ด้วยการปรับปรุงคันกั้นน้ำคลองระบายสายใหญ่-ชัยนาทป่าสัก3 ความยาว 15.31 กิโลเมตร คลองระบาย1ซ้ายลพบุรี 8.70 กิโลเมตร คลองระบายใหญ่เริงราง 23 กิโลเมตร คลองตาเมฆ 7.60 กิโลเมตร และก่่อสร้างอาคารประกอบที่สำคัญ ดังนี้ ปรับปรุง ปตร.กลางคลอง ร.1 ซ้ายลพบุรี ปรับปรุงไซฟอนปลายคลอง ร.1 ซ้ายลพบุรี ก่อสร้างท่อระบายน้ำ 35 แห่ง และปรับปรุงอาคารบังคับน้ำ 1 แห่ง

นายไชยวัฒน์ คุณวัฒนานนท์ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเริงราง กล่าวถึงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเริงรางว่า  มีแผนงานปรับปรุงโครงการที่สำคัญ ประกอบด้วย แผนการปรับปรุงระบบคลองส่งน้ำและระบบคลองระบายน้ำ โดยการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารชลประทาน 187 แห่ง ถนนคันคลอง 195.25 กิโลเมตร คลองส่งน้ำ 96.66 กิโลเมตร ขุดลอกตะกอนคลองระบายน้ำรวม 1.03 ล้าน ลบ.ม. ซ่อมแซมถนนคันคลองระบาย 0.55 ล้าน ตร.ม.  แผนบรรเทาอุทกภัยและการระบายน้ำ โดยการปรับปรุง ปตร.บางกุ่ม โดยเพิ่มบานระบาย ขนาด 6×7 ม.จำนวน 3 ช่อง พร้อมก่อสร้างสถานีสูบน้ำ ขนาด 4.00 ลบ.ม./วินาที จำนวน 3 เครื่อง สำรอง 1 รวมทั้งการปรับปรุงขุดลอกคลองระบายสายสำคัญในพื้นที่ อาทิเช่น คลองบางพระครู คลองระบาย 3 ซ้าย-ลพบุรี และคลองระบาย 4-9 ซ้าย-เริงราง ความยาวรวม 57.45 กิโลเมตร , แผนการปรับปรุงแก้มลิงที่สำคัญในพื้นที่ 2 แห่ง ประกอบด้วย แก้มลิงทะเลสาปบ้านหมอ พื้นที่ 1,738.40 ไร่ และพัฒนาบริเวณคลองระบายใหญ่เริงราง กม. 29+700 พื้นที่ 160 ไร่ เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง , แผนพัฒนาพื้นที่ลุ่มต่ำบางกุ่ม  ด้วยการลอกตะกอนดินในคลองระบายน้ำและปรับปรุงคันกั้นน้ำ และปรับปรุงอาคารประกอบที่สำคัญ ดังนี้ ก่อสร้างท่อระบายปากคลอง ร.4 ซ้าย-เริงราง และปากคลอง ร.1ข-4ซ เริงราง ก่อสร้างประตูระบายน้ำที่สำคัญดังนี้ ปตร.ดอนพุด ปตร.บางมน ปตร.บางเพลิง และ ปตร.เกาะเลิ่ง

นอกจากนี้ยังมีแผนงานเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ อาทิเช่น การติดตั้งระบบ IoT (Internet of Things) สำหรับใช้ติดตามควบคุมการส่งน้ำให้มีประสิทธิภาพ แผนการกำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำ แผนพัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งของกลุ่มองค์กรผู้ใช้น้ำชลประทาน การมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้น้ำในการบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำทุ่งท่าวุ้งและทุ่งบางกุ่ม แผนการจัดตั้งคณะกรรมการจัดการน้ำชลประทาน (JMC) ร่วมกันทั้ง 4 โครงการส่งน้ำคลองชัยนาท-ป่าสักทั้ง คบ.มโนรมย์ คบ.ช่องแค คบ.โคกกะเทียม และ คบ.เริงราง แผนพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเครื่องมือของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาให้มีความพร้อมทันต่อสถานการณ์ รวมทั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ยังได้เสนอให้มีการปรับธรณีปากคลองส่งน้ำสายหลักเพื่อให้สามารถรับน้ำได้มากขึ้น การก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบริเวณปากคลองส่งน้ำ และ การก่อสร้าง แท่นโมบายบริเวณปากคลองเพื่อให้เกษตรสามารถนำเครื่องสูบน้ำมาสูบน้ำในช่วงที่ระดับน้ำต่ำกว่าธรณีปากคลอง เป็นต้น

กรมชลประทาน ยังมีแผนงานปรับปรุงโครงการเร่งด่วนที่สำคัญจำเป็น ประกอบด้วยการปรับปรุงซ่อมแซมระบบชลประทานเดิม ที่มีการชำรุดเสียหายไม่สามารถใช้งาน ให้สามารถใช้งานได้ ได้แก่ คลองส่งน้ำ คลองระบาย และ อาคารชลประทาน เตรียมความพร้อมสำหรับแผนพัฒนาพื้นที่ลุ่มต่ำร่วมกับการบริหารจัดการน้ำและการพัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาแหล่งน้ำที่มีศักยภาพ เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำรองในช่วงฤดูแล้ง หากโครงการนี้แล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มศักยภาพการส่งน้ำ การจัดสรรน้ำ และการระบายน้ำ ได้เต็มพื้นที่ตามศักยภาพระบบการชลประทาน โดยเฉพาะเขตพื้นที่โครงการ และถ้ามีปริมาณน้ำมากเพียงพอสามารถจัดสรรส่งต่อให้กับพื้นที่ใกล้เคียงได้ รวมถึงการหมุนเวียนทรัพยากรน้ำในระบบได้มากขึ้น เพิ่มน้ำต้นทุนให้กับพื้นที่ ในช่วงฤดูฝน 15,400 ไร่ และช่วงฤดูแล้ง 9,600 ไร่ ช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยและการระบายน้ำ พื้นที่น้ำท่วมของโครงการฯ โคกกะเทียม ลดลงจำนวน 48,400 ไร่ พื้นที่น้ำท่วมของโครงการฯ เริงราง ลดลงจำนวน 46,100 ไร่ ผลประโยชน์ที่ด้านเกษตรกรรม ภาคเกษตรกรรมในพื้นที่ชลประทานจะมีผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 20 ของผลผลิตเดิมก่อนมีการปรับปรุงโครงการชลประทาน คาดว่าจะส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ได้รับรายได้ภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นประมาณ 700 ล้านบาทต่อปี

ด้าน นายรุจฒิชัย ลีมีชัย ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ,  เกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำ  อ.หนองโดน จ.สระบุรี เผยว่า ศูนย์การเรียนรู้ฯแห่งนี้ ทำการเกษตรบนพื้นที่ 14 ไร่ ใช้น้ำจากคลองชลประทานเป็นหลัก ที่ส่งต่อมาตามคลอง เดิมทีคลองมีความทรุดโทรม ในฤดูฝนน้ำจะช้า เนื่องจากอยู่ปลายน้ำ ทำให้เกษตรกรใช้น้ำเป็นไปด้วยความยากลำบาก  หากมีการซ่อมแซม เพิ่มประตูระบายน้ำ เกิดขึ้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกร สามารถทำการเกษตรได้เต็มฤดู ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ตามนโยบายของจังหวัดสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ อีกทั้งยังได้มีการวางแผนการบริหารจัดการใช้น้ำหลังจากนี้ เกษตรกรทุกคนจะมีต้องน้ำใช้ครบทุกครัวเรือน ไม่ต้องรอ โดยใช้ระบบทดน้ำและสามารถทำการเกษตร ปลูกอื่นๆได้หลากหลายชนิดมากขึ้นอีกด้วย

 

You May Have Missed!

2 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
RSPOประชุมโต๊ะกลมเรียกร้องแนวทางใหม่และกล้าเปลี่ยนแปลงเพื่อปฏิรูปน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน
1 Minute
ข่าวภูมิภาค
อบต.อ่างทอง จัดกิจกรรมธนาคารขยะชุมชนตำบล เพื่อนำรายได้ช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียง / กิจกรรมขยะแลกไข่ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
 พิธีบวงสรวง ตอกเสาเอก เสาโท โครงการก่อสร้างคอนโด “ชินไลฟ์” กม. 4
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
“รัฐมนตรีเฉลิมชัย” เดินหน้าป่าชุมชนยั่งยืนลดโลกร้อนมอบ“อลงกรณ์-ปรพล“ถอดรหัส”สระบุรี แซนด์บ็อกซ์ เมืองคาร์บอนต่ำ สร้างโมเดลป่าชุมชน-ป่าคาร์บอนต้นแบบก่อนขยายผลทั่วประเทศ