คะตะลิสต์ จับมือ สภาองค์กรของผู้บริโภค สร้างความตระหนักถึงแหล่งที่มาของอาหาร และจริยธรรมต่อสัตว์ ส่งเสริมไข่ไก่ที่เลี้ยงแบบไม่ขังกรง (cage-free eggs)  พร้อมทั้งผลักดันนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์เพื่อผลประโยชน์ของผู้บริโภคและเกษตรกรไทย

คะตะลิสต์ จับมือ สภาองค์กรของผู้บริโภค สร้างความตระหนักถึงแหล่งที่มาของอาหาร และจริยธรรมต่อสัตว์ ส่งเสริมไข่ไก่ที่เลี้ยงแบบไม่ขังกรง (cage-free eggs)  พร้อมทั้งผลักดันนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์เพื่อผลประโยชน์ของผู้บริโภคและเกษตรกรไทย

วันที่ 19 – 24 มีนาคม 2567  คะตะลิสต์ จับมือกับ สภาองค์กรของผู้บริโภค จัดงาน นิทรรศการ และเสวนา HAPPY EGG: Whisper of freedom (เสียงกระซิบแห่งเสรีภาพ) เพื่อสร้างความตระหนักถึงไข่ไก่ที่เลี้ยงแบบไม่ขังกรง (cage free eggs) และให้ผู้บริโภคเข้าใจถึงระบบการเลี้ยงไก่แบบขังกรงตับในปัจจุบันและการเลือกบริโภคอาหารที่มาจากการเลี้ยงอย่างไม่ทรมาน เพื่อผลักดันประชาชนคนไทยได้บริโภคอาหารที่ดีและยั่งยืน โดยได้รับเกียรติจากคุณสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภคร่วมเปิดงาน ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

 


นายแพทย์วัชระ พุ่มประดิษฐ์ ผู้อำนวยการ บริษัท คะตะลิสต์ จำกัด วิสาหกิจเพื่อสังคม กล่าวถึงความตื่นตัวของผู้บริโภคทั้งในประเทศไทย และทั่วโลก ต่อระบบอาหารที่ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีจริยธรรมต่อสัตว์  ทุกภาคส่วนของสังคมไทยต้องมีการเตรียมพร้อม การเลี้ยงไก่ไข่โดยไม่ขังกรง นอกจากจะเป็นความรับผิดชอบทางด้านจริยธรรมต่อสัตว์แล้ว สุขภาพคนและความยั่งยืน  ซึ่งนับเป็นโอกาสสำคัญทางด้านธุรกิจของผู้ประกอบการไทย และอาชีพของเกษตรกรไทยอีกด้วย คะตะลิสต์ และสภาองค์กรของผู้บริโภค และภาคีเครือข่าย ได้สนับสนุน เชื่อมโยงการขับเคลื่อนนี้ โดยการใช้กลยุทธตลาดนำการผลิต ยกระดับศักยภาพของผู้ผลิต และวงการวิชาการ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงไปสู่ไก่ไข่ที่เลี้ยงแบบไม่ขังกรงนี้ เป็นประโยชน์กับ คนไทย ประเทศไทยมากที่สุด


คุณสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค เผยว่า ในฐานะที่องค์กรนั้นเป็นผู้แทนของผู้บริโภคตามกฎหมายการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคมีหน้าที่ในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคในทุกด้าน  สภาผู้บริโภคให้การสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเคารพสิทธิของผู้บริโภค ตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทย และตามหลักสิทธิผู้บริโภคสากล ที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค และประชาชน โดยการคำนึงถึงหลักสามประการคือการบริโภคที่ยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีจริยธรรมต่อสัตว์  สนับสนุนให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการเลือกซื้อไข่จากการเลี้ยงไก่ที่มีจริยธรรมต่อสัตว์ ด้วยการผลักดันให้เกิดฉลากไข่ไก่จากการเลี้ยงไก่แบบไม่ขังกรง และผลักดันให้มีผู้แทนของผู้บริโภคในคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board)  เพื่อเสนอนโยบายด้านคุณภาพมาตรฐาน และราคาไข่ไก่ของประเทศ ที่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค

และการยอมรับของประชาคมโลกในประเด็นของ จริยธรรมต่อสัตว์ และความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ ว่าสัตว์เป็น sentient being ที่ต้องรับการปฏิบัติด้วยความเป็นธรรม รศ.ดร.จำเริญ เที่ยงธรรม เล็งเห็นว่า การให้ความสำคัญ และยกระดับมาตรฐานของสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) ในการศึกษา การค้นคว้าวิจัย เพื่อสนับสนุนภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และสังคมที่ผ่านมา ได้มีการดำเนินงานผ่านคณะกรรมการร่วมหลากหลายสถาบัน Animal Welfare Consortium ผู้เชี่ยวชาญทั่วประเทศ ในการนี้การเชื่อมโยงกับ สวทช และคะตะลิสต์ในการเตรียมความพร้อม สร้างความเข้าใจ พัฒนาศักยภาพ ของบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษา เกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม และกลุ่มผู้เลี้ยงต่างๆ ให้มีความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่คำนึงถึงหลักของสวัสดิภาพสัตว์ และสร้างความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในเอเชีย อียู อเมริกา เป็นต้น


นอกจากนี้ บริษัท ผึ้งน้อยเบเกอรี่ จำกัดได้เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนธุรกิจเบอเกอรี่ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม สนับสนุนสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่นสนับสนุนจากเกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงโดยมีสวัสดิภาพสัตว์ ด้วยการมีนโยบายที่จะใช้ไข่ไก่ที่เลี้ยงแบบไม่ขังกรง 100% ภายในปี 2572 เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์คุณภาพที่นอกจากรสชาติมีความหอมอร่อยมีประโยชน์กับผู้บริโภค แล้วยังมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือคุณภาพชีวิตของเหล่าแม่ไก่อีกด้วย