ป.ป.ช.ลงพื้นที่สุ่มตรวจ โครงการโคบาลชายแดนใต้ เน้นย้ำป้องกันการส่งมอบวัวในลักษณะสอดไส้
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 6 ก.พ.67 นายปิยะวัฒน์ คุระพลู ผอ.กลุ่มประสานงานการป้องกันการทุจริต ภาค 9 นายปกครอง สุวรรณดารา ผอ.สนง.ป.ป.ช.ประจำ จ.นราธิวาส พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ จำนวน 6 คน เดินทางมายัง สนง.ปศุสัตว์จังหวัดนราธิวาส เพื่อเข้าพบนายจักรพงษ์ ขานโบ ปศุสัตว์ จ.นราธิวาส ในการติดตามการดำเนินงานโครงการโคบาลชายแดนใต้ ภายใต้โครงการเมืองปศุสัตว์ ตามกรอบระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนายจักรพงษ์ ปศุสัตว์ จ.นราธิวาส ให้เจ้าหน้าที่ 4 คน ที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวเข้ารับฟัง เพื่อที่จะได้รายงานข้อมูลรับผิดชอบให้กับ เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.
ซึ่งก่อนการประชุมเพื่อรับทราบผลการดำเนินงาน ทางเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.ได้ชี้แจงการเดินทางมาในครั้งนี้ ไม่ใช่การเดินทางมาจับผิด แต่ต้องการดำเนินการให้ประชาชนที่เข้าโครงการได้ผลประโยชน์มากที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาพบ จ.สตูล ชาวบ้านมีการเลี้ยงวัวก่อนโครงการจะเกิดขึ้น ที่จะมีการตรวจสอบว่ารู้เห็นเป็นใจกันหรือไม่ ส่วนปัตตานีสุ่มตรวจสอบพบว่า วัวที่ชาวบ้านได้จากโครงการเป็นวัวที่ไม่ได้มาตรฐานตามกำหนด
โดยนายจักรพงษ์ ปศุสัตว์ จ.นราธิวาส ได้รายงานสรุปให้ คณะ ป.ป.ช.ได้รับทราบพอสรุป โครงการโคบาลชายแดนใต้ จ.นราธิวาส นำร่องมี 16 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนใน 9 อำเภอ ในช่วงอุทกภัยที่ผ่านมาส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากคอกจมน้ำ แปลงหญ้าเสียหาย วัวที่มอบให้ชาวบ้านเจ็บป่วย แต่มีเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในแต่ละพื้นที่เข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งฉีดยา แจกจ่ายหญ้า แต่วัวในโรงการดังกล่าวก่อนที่จะมีการส่งมอบให้กับชาวบ้าน ต้องผ่านการขนย้ายเป็นระยะทางไกล จากพื้นที่ จ.นครสวรรค์กับชลบุรี เมื่อถึงมือชาวบ้านวัวบางส่วนจะล้มตาย แต่ก็ได้รับการเชยจากฟาร์มที่สั่งซื้อ ซึ่งโดยภาพรวม คณะ ป.ป.ช. พึ่งพอใจกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ จ.นราธิวาส และก่อนที่คณะ ป.ป.ช.จะเดินทางสุ่มตรวจกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้ขอเอกสารตัวอย่างกลุ่มที่ทำสัญญากับปศุสัตว์ รวมทั้งเอกสารการตรวจรับวัว รวมไปถึงแบบแปลนโรงเรือน หรือ คอก พร้อมเน้นย้ำเกรงจะมีการส่งมอบวัวในลักษณะสอดไส้ คือ วัวสมบูรณ์ 45 ตัว แล้วนำวัวไม่สมบูรณ์ จำนวน 5 ตัว โดยที่ชาวบ้านนำไปเลี้ยง
ต่อมา นายปิยะวัฒน์ คุระพลู ผอ.กลุ่มประสานงานการป้องกันการทุจริต ภาค 9 นำคณะสุ่มตรวจสอบการเลี้ยงวัวที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโคกสยา ม.5 ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดี โดยมีนายอาแม อาเจ๊ะ ปธ.กลุ่มฯและสมาชิก คอยให้การต้องรับและชี้แจงตอบข้อซักถาม โดยภาพรวม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ ได้รับวัวจากโครงการ 50 ตัว ตาย 6 ตัว จากผลกระทบการขนย้ายที่มีระยะไกล โดยทางฟาร์มได้มีการชดเชยเป็นเงินโดยผ่านปศุสัตว์จังหวัดนราธิวาส สิ่งที่ต้องการมากที่สุดคือ บริเวณหรือคอกที่เลี้ยงวัวน่าจะมีขนาดใหญ่กว่าตามแบบแปลน โดยมองถึงในอนาคตที่วัวออกลูกออกหลาน พื้นที่ในการเลี้ยงจะได้ไม่คับแคบ
ต่อมา นายปิยะวัฒน์ คุระพลู ผอ.กลุ่มประสานงานการป้องกันการทุจริต ภาค 9 และคณะ ได้เดินทางไปตรวจสอบการเลี้ยงวัวที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านปิเหล็งใต้ ม.7 ต.มะรือโบออก อ.เจาะไอร้อง โยพบกับนายบรอเฮม ยุวหวิลย์ ปธ.กลุ่มฯ ซึ่งคณะ ป.ป.ช.พบว่า วัวทั้ง 50 วัวที่ส่งมอบให้กับชาวบ้านมีขนาดน้ำหนัก 162 ก.ก.แถมไม่มีใบทะเบียนสัตว์ หรือ ใบบัตรประจำตัวสัตว์ แต่เจ้าหน้าที่มอบให้ชาวบ้านเลี้ยงแล้ว พร้อมทั้งได้ชี้แจงให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ได้รับทราบและนำไปดำเนินการให้ถูกต้อง พร้อมทั้งคณะ ป.ป.ช.ได้พูดคุยกับนายบรอเฮม ประธานกลุ่มฯ ได้รับทราบว่า มาวันนี้ไม่ได้มาจับผิดใครแต่มาพิทักษ์ผลประโยชน์ให้กับชาวบ้าน
ซึ่งก่อนเดินทางกลับ นายปิยะวัฒน์ คุระพลู ผอ.กลุ่มประสานงานการป้องกันการทุจริต ภาค 9 เปิดเผยว่า หนึ่งเคสที่เหมือนกับจังหวัดสตูล โดยบริษัทได้นำวัวมาให้ชาวบ้าน แนะนำงบประมาณมาสร้างโรงเรือนก่อน 1 เคส ถามว่าจะเหมือนปัตตานีไหม ซึ่งปัตตานีส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของขนาด ไม่ได้มาตรฐาน อีกสองที่ที่จะลงไป ตรวจสอเป็นการการสุ่มไม่ได้ตรวจทั้งหมด ในส่วนตรงนี้ได้นำรายงานให้ผู้บริหารใน ป.ป.ช. ภาค 9 ซึ่งผู้บริหารขอดู ข้อมูลให้ครบถ้วนก่อน ก่อนที่จะดูถึงแนวทางการปฏิบัติว่าจะเป็นอย่างไร แต่ถ้าว่าติดในเรื่องนโยบาย หรือในเรื่องความโปร่งใส ทาง ป.ป.ช. เองก็ต้องรายงานให้กับส่วนกลาง ผู้บริหารให้รับทราบ อาจจะต้องมีหนังสือรับข้อแนะนำของ ป.ป.ช. ส่งไปที่กรมปศุสัตว์
นราธิวาส/ข่าว-นูอารีซ๊ะ ยะยือริ