ผู้ประกอบการยางพาราส่งออกผ่านแดน ประเทศทรานสิท ร้องถูกหน่วยงานการยาง ภาครัฐอายัดตรวจสอบนานกว่า5วัน
หลังจากได้ชี้แจงเป็นยางเครป จากประเทศพม่าผ่านประเทศไทยไปยังประเทศมาเลเซีย เผยมีการตรวจสอบจากเจ้าที่ศุลกากร กรมวิชาการ จากต้นทางแล้ว
กลับถูกแช่แข็งที่ด่านสะเดา5 วันและรอตรวจสอบอีก3วัน เผยเอกชนเสียหายวันละ2แสน
วันนี้ 5 ก.พ.67 นายเอกพล อรรถวิเวก เจ้าของบริษัท ดีดี บอรเดอร์ จำกัด อ.สังขละ จ.กาญจนบุรี เดินทางมาที่ด่านสะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา เพื่อชี้แจง กลับเจ้าหน้าที่การยางและหลายหน่วยงาน หลังรถพ่วงบรรทุกยางพารา ทรานสิทไปประเทศมาเลเซีย จำนวน 5 คัน ของบริษัท ถูกอายัติตรวจสอบ ที่ด่านสะเดานายกว่า 5วันแล้วทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ประกอบการ เนื่องจากบริษัทให้ดำเนินการทำเอกสารการ นำเข้าและส่งออกยางพาราชนิดเครป อย่างถูกต้อง อาจจะไปขัดขากับคู่แข่งที่ต้องการ ยางพาราล็อตนี้จากประเทศพม่าเพื่อส่งออกไปยังประเทศมาเลเซียด้วยกัน โดย คู่แข่งส่งออกยางพาราเถื่อนมานานหลายปีโดยมีนักการเมืองหนุนหลัง แต่เมื่อตัวเองทำถูกต้องและไม่สามารถขายยางพาราล็อตให้กับกลุ่มคู่แข่งได้ จึงเกิดการกันแกล้งร้องเรียนมายังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกยางพาราหลายหน่วยงาน ให้มาตรวจสอบ สินค้าของตนเอง
นายเอกพล กล่าวอีกว่า ยางพาราเครป ทั้งหมดมีการตรวจสอบจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องรวมทั้งทำก็ทำเอกสารที่ถูกต้องอย่างเรียบร้อย ซึ่งทางศุลกากรด่านสะเดาได้อำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่ แต่ก็มีบางหน่วยงานกลั่นแกล้งให้มีการตรวจสอบซ้ำอีกครั้งซึ่งค่าเสียหายในการจอดรถ รอวันละ 2 แสนบาท ยางพาราทั้งหมดมีราคาพ่วงละ1ล้านบาท รวมกว่า5ล้านบาท หากมีความล่าช้าออกไปบริษัทสูญเสียรายได้อย่างมโหฬารรวมทั้งราคายางอาจจะมีราคาเปลี่ยนแปลงในการรับซื้อในต่างประเทศ จึงมาร้องเรียนผู้สื่อข่าวไทยรัฐ
ขณะเดียวกันที่ลานขนถ่ายสินค้าด่านศุลกากร สะเดาแห่งใหม่ เจ้าหน้าที่จากการยางพิเศษแห่งประเทศไทยซึ่งประกอบด้วย นายอนิรุทธ์ สังข์ยวน รักษาการ ผอ.การการยางแห่งประเทศไทย จังหวัดสงขลา นายพิเชษฐ ยอดใชย กรรมการการยางแห่งประเทศไทย นายฐิติพงษ์ เพ็งแพง เจ้าที่กรมวิชาการเกษตร นายเผดิมเดช มั่งคั่ง นายด่านสะเดาและเจ้าหน้าที่ รวมทั้งทหารจากหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่5 รวมเจ้าหน้าที่ทั้งสิ้นกว่า 50 คน ได้ทำการตรวจสอบยางพาราของบริษัทที่นำเข้าผ่านแดนไปยังประเทศมาเลเซียว่าเป็น ยางเครป ยางพาราเถื่อน หรือไม่ ซึ่งถ้าหากเป็นยางเครป ก็สามารถส่งออกได้แต่ถ้าเป็นยางเถื่อน หรือยางพาราของประเทศไทยจะต้องยึด หรือเสียค่าทำเนียมให้กับการยางแห่งประเทศไทยกิโลกรัมละ 2 บาท
จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่การยางโดยนำก้อนยางพาราลงมาจากรถบรรทุกทั้ง5 คัน เพื่อทำการตรวจสอบในทางวิชาการว่าเป็นยางเครป จากประเทศพม่าหรือไม่ซึ่ง ส่วนของกรมวิชาการเกษตรจะทำการตรวจสอบในเรื่องของ เชื้อ โรค เมล็ดพันธ์พืชและมีสิ่งปนเปื้อน เบื้องต้นใช้เวลาในการตรวจสอบ 3 วันถ้าหากตรวจสอบแล้วเป็นยังคริสต์ตามที่ผู้นำเข้าชี้แจงมาก็สามารถทำการส่งออกได้ตามปกติ
ด้านนายเอกพล อรรถวิเวก ได้เปิดเผยว่า หากมีการร้องเรียนของผู้ประกอบการที่มีการทำอย่างถูกต้องและมีการแช่แข็งหรือรอการตรวจสอบไว้นานผิดปกติขนาดนี้ทำไมหรือบริษัทรับความเสียหายรวมทั้ง ใครต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย เกิดขึ้นในการจอดนานกว่า5วัน รมชั่วพิการกันแกล้งของกระบวนการส่งออกยางพาราเถื่อนที่มีคนหนุนหลังให้สกัดการส่งออกยางพาราทรานสิทของผมซึ่งเพิ่งทำเป็นครั้งแรกและทำอย่างถูกต้องซึ่งผมไม่ได้รับความเป็นธรรม
นายพิเชษฐ ยอดใชย กรรมการการยางแห่งประเทศไทยได้เปิดเผยว่า กันอย่างได้รับคำสั่งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรให้ตรวจเข้ม ขบวนค้ายางเถื่อน ที่ทำร้ายเกษตรกรชาวไทยมาอย่างต่อเนื่อง เบื้องต้นปัญหานี้ทางการอยากจะรีบทำการตรวจสอบว่าอย่างทั้งหมดเป็นอย่างเถื่อนหรืออย่างคลิปเพื่อการส่งออกผ่านประเทศไทยไปยังประเทศมาเลเซียหรือไม่ซึ่งเบื้องต้นใช้เวลาในการตรวจสอบประมาณสามวัน แซงก็อยากมี lab ในการตรวจสอบว่าอย่างนี้ได้มาตรฐานในการส่งออกหรือไม่ ผลหากผลจากการตรวจสอบพบว่าไม่เป็นยางพาราที่ต้องห้ามก็สามารถส่งออกได้ ยางทรานสิท ไม่ต้องเสียเงินค่าเซฟ กลับกันยังแห่งประเทศไทยหากเป็นอย่างประเทศไทยในการส่งออกต้องเสียค่าเซฟกิโลกรัมละ 2 บาทซึ่งตรงนี้ผู้ประกอบการได้ผลประโยชน์ของผู้ประกอบการยางทรานสิท ซึ่งเราเองก็ต้องทำให้รอบคอบก่อนที่จะให้ผ่านแดนจุดนี้ไป
ภาพ/ข่าว อ้อม มณีรัตน์