มก. มอบใบรับรอง KU Standard “กระบวนการผลิตรังไหมอีรี่” เพื่อการสร้างมาตรฐานแรกของประเทศไทย แก่วิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงราย ขอนแก่น สระแก้ว และ ตาก

มก. มอบใบรับรอง KU Standard “กระบวนการผลิตรังไหมอีรี่”

เพื่อการสร้างมาตรฐานแรกของประเทศไทย

แก่วิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงราย ขอนแก่น สระแก้ว และ ตาก

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นำร่องสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตร (KU Standard) เพื่อการยกระดับสินค้าทางการเกษตรให้กับเกษตรกร สร้างความเข้มแข็งทางด้านการเกษตรให้กับประเทศไทยตามนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการขับเคลื่อนและสนับสนุนการเกษตรของประเทศสู่สากล โดยมาตรฐานสินค้าการเกษตร เรื่อง “แนวทางการปฏิบัติที่ดีสำหรับกระบวนการผลิตรังไหมอีรี่” (Good Practice Guidelines for Eri Silk Cocoon Production) ซึ่งจัดทำโดยสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร และศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจในการนำมาตรฐานไปใช้และเตรียมความพร้อมเข้าสู่การรับรองและยกระดับกระบวนการผลิตรังไหมอีรี่ให้ได้มาตรฐาน

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566 กลุ่มวิสาหกิจทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์บ้านครู (ครูอิ๋ว – บ้านครูเชี่ยว) อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย วิสาหกิจชุมชนผ้าไหมมัดหมี่ย้อมสีธรรมชาติ อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าบ้านน้อย โนนตาเทิบ อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงไหมเพื่อการผลิตบ้านเด่นวัว อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก  ซึ่งได้รับการประเมินและรับรองมาตรฐานจากผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ นักวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในมาตรฐาน KU Standard  เรื่อง ข้อบังคับกระบวนการผลิตรังไหมอีรี่ 001/2564 เข้าพบ ดร.จงรัก    วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้บริหารมหาวิทยาลัยเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะและความคิดเห็นในการพัฒนาผลงานพร้อมรับป้ายแสดงความยินดีที่ผ่านการรับรอง KU Standard โอกาสนี้ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมชมผลงานพร้อมถ่ายภาพและแสดงความยินดีกับ กลุ่มวิสาหกิจทั้ง 4 แห่ง นับเป็นการออกใบรับรอง KU standard ของไหมอีรี่ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นลำดับแรกของประเทศไทย แก่ วิสาหกิจทั้ง 4 แห่ง   โอกาสนี้ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมชมผลงานพร้อมถ่ายภาพและแสดงความชื่นชมยินดีกับ กลุ่มวิสาหกิจทั้ง 4 แห่ง ด้วย นับเป็นใบรับรอง KU standard ของไหมอีรี่ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นลำดับแรกของประเทศไทย

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ไหมอีรี่ เป็นไหมที่กำลังได้รับความนิยมสูงขึ้นในปัจจุบัน แสดงถึงภูมิปัญญาไทย และความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไหมอีรี่ ที่มีหลากหลายรูปแบบ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ให้ใบรับรอง KU standard เรื่อง ข้อบังคับกระบวนการผลิตรังไหมอีรี่ 001/2564  โดยมีคณาจารย์ และนักวิจัย จากทั้งคณะเกษตร กำแพงแสน สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรร่วมกันส่งเสริมให้เกษตรกรได้ดำเนินการผลิตภัณฑ์ไหมอีรี่ โดยใช้เส้นไหมอีรี่ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาผลิตเป็นสินค้า นอกจากนี้ยังได้นำความรู้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ไหมอีรี่ สร้าง Platform และทำการตลาด ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่นักวิชาการ และคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ถ่ายทอดให้กับชุมชนมาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ ภายใต้โครงการ KUniverse ซึ่งเป็นโครงการที่จะพัฒนาและยกระดับมาตรฐานไหมอีรี่ให้มีคุณภาพ สร้างความเชื่อมันให้กับผู้บริโภค อีกทั้งเพิ่มมูลค่าและรายได้ให้กับเกษตรกรต่อไป

ผู้สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานวัตกรรมและพันธกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร.02 – 942 – 812 ถึง 5 หรือติอต่อศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม โทร. 082 – 290 – 7210 และ Facebook: ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม

 

ข่าวโดย  / ผกามาศ ธนพัฒนพงศ์ / หัวหน้างานสื่อสารองค์กร /มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

You May Have Missed!

1 Minute
การตลาด
Sulwhasoo เปิดตัว Friend of Sulwhasoo “ปันปัน สุทัตตา” พร้อมผลิตภัณฑ์ใหม่ The Concentrated Ginseng Rejuvenating สกินแคร์จากเทคโนโลยีโสม
0 Minutes
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
วว. พัฒนาการเพาะเลี้ยงสาหร่ายเพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
3 ปีซ้อน! คาร์กิลล์ ประเทศไทย ครองตำแหน่งองค์กรที่น่าทำงานด้วยมากที่สุดในเอเชีย ชูกลยุทธ์การบริหาร ‘คน’ เพื่อเสริมแกร่งธุรกิจยั่งยืน
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
บริดจสโตนชวนลูกค้ายาง POTENZA เตรียมระเบิดความมันส์สุดเร้าใจอีกครั้งกับการขับขี่แบบสปอร์ตเต็มสมรรถนะบนสนามแข่ง ในงาน “BRIDGESTONE DRIVING EXPERIENCE 2024: Unlock POTENZA Power”