วกส. รุ่นที่ 3 เยี่ยมชมมหาวิทยาชิบะ ศูนย์กลางของเทคโนโลยี Plant Factory ประเทศญี่ปุ่น
เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566 หลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) รุ่นที่ 3 นำโดยนายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) นายทองเปลว กองจันทร์ อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพาณิชย์ และอุตสาหกรรม สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร เยี่ยมชมมหาวิทยาชิบะ ศูนย์กลางของเทคโนโลยี Plant Factory ประเทศญี่ปุ่น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรฯ ในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยให้เป็นผู้นำด้านการเกษตรและอาหารในระดับนานาชาติ โดยจะส่งผลในการสร้างรายได้เพิ่มให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยมี Toyoki Kozai-Professor Emeritus of Chiba University Michiko Takagaki-Prof. Ph.D. Na Lu- Assoc.Prof. และ Satoru Tsukagoshi- Assoc.Prof. ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี
ศาสตราจารย์ โตโยกิ โคไซ (Toyoki Kozai) กล่าวว่า มหาวิทยาลัยชิบะ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านการเกษตรและเทคโนโลยี Plant Factory มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น Plant Factory คือเทคโนโลยีการปลูกพืชในระบบปิดที่มีการควบคุมสภาพแวดล้อมอย่างเข้มงวดเพื่อให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช มหาวิทยาลัยชิบะมีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี Plant Factory มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 20 ปีแล้ว ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่ชิบะ พื้นที่วิจัยภายในวิทยาเขตคาชิวาโนฮาของมหาวิทยาลัยชิบะประกอบไปด้วยระบบ Plant factory ขนาดใหญ่ 2 แห่ง แห่งที่หนึ่งตั้งอยู่ในอาคารที่มีลักษณะคล้ายกับโกดังโรงงานและแห่งที่สองตั้งอยู่ในอาคารเตี้ยที่มีหลังคาโค้ง (ไม่อนุญาตให้ถ่ายรูปภายใน)
วันนี้คณะ วกส.รุ่น 3 ได้ดูงานทั้งหมด 4 จุด ดังนี้
จุดที่ 1- Obayashi company โรงเรือนสำหรับวิจัยและพัฒนาระบบปลูกผักกาดหอม Plant factoryขนาดใหญ่สูงกว่า15 ชั้น ภายในระบบมีการควบคุมสภาพแวดล้อม อุณหภูมิ แสงไฟ คาร์บอนไดร์ออกไซด์ การจัดการระบบเริ่มจากการเพาะเมล็ด ย้ายต้นกล้า เก็บผลผลิต, บรรจุ ส่งขาย
จุดที่ 2 Hamo company โรงเรือนที่พัฒนาโดยบริษัทHamoเพื่อปลูกสตอเบอร์รี่ไร้ดินโดยการใช้วัสดุปลูก rock wool มาใช้แทนเนื่องจากป้องกันโรคที่ติดมากับดิน ภายในมีการทำความสะอาดปลอดเชื้อโรค100% ภายในระบบใช้ผึ้งในการผสมเกสรทั้งหมด โดยบริษัทได้ทำวิจัยร่วมมหาวิทยาลัยมหิดลและบริษัทวีทีแหนมเนืองในการใช้ระบบplant factory ปลูกผักกาดหอมขนาดใหญ่ที่ประเทศไทย
จุดที่ 3 Green dome โรงเรืองรูปทรงครึ่งวงกลมที่สร้างจากโฟมอย่างหนาเพื่อป้องกันลมแรงและป้องกันแผนดินไหวรวมทั้งโฟมยังเป็นฉนวนกันร้อนและกันหนาวได้เป็นอย่างดี โดยภายในเป็นระบบ plant factory ขนาดไม่ใหญ่แต่ระบบสามารถรองรับการปลูกพืชได้หลายหลายชนิด ความเข้มแสงจากหลอดไฟและระยะเวลาของการให้แสงสามารถปรับได้ตามความต้องการของพืชชนิดนั้นๆ ภายในจะใช้ระบบออโตเมติกทั้งหมดทำให้การทำงานสะดวกและประหยัดการจ้างแรงงานคน รวมถึงภายในสามารถเพาะเมล็ด ย้ายต้นกล้า เก็บผลผลิต บรรจุ ส่งขาย
จุดที่ 4 Planet company โรงเรือนแบบใสภายในปลูกไม้ประดับโดยใช้ระบบ hydroponic ใช้วัสดุปลูกแทนการใช้ดินทั้งหมด มีการทดลองและพัฒนาการใช้ปุ๋ยออแกนิคในระบบ hydroponic ทางบริษัทเลือกใช้วัสดุปลูกที่ทำจากดินเหนียวที่ผ่านความร้อนสูงอัดเป็นก้อนขนาดเล็กรวมกับหินขนาดเล็กที่มีแร่ธาตุที่พืชต้องการ ไม่มีการใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลงในระบบ