ผู้ว่าฯศรีสะเกษ เปิดประชุมสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ ต้อนรับประธานสภาฯคนใหม่ มอบใบประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการ/ประธานสภาอุตสาหกรรมประจำอำเภอ

ผู้ว่าฯศรีสะเกษ เปิดประชุมสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ ต้อนรับประธานสภาฯคนใหม่

มอบใบประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการ/ประธานสภาอุตสาหกรรมประจำอำเภอ


เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 ที่ห้องประชุมสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดศรีสะเกษ นายสำรวย เกษกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดประชุมสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีนายพงษ์พัฒน์ ไตรพิพัฒน์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ และมีคณะที่ปรึกษาประกอบด้วยนายวิทยา วิรารัตน์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ นางวาสิตา น้อยพรหม ประธานเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายศานิต ปรากฎมาก ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดศรีสะเกษ และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วมประชุม ให้คำแนะนำ ให้ข้อมูลในการทำงาน
ในโอกาสนี้ นายสำรวย เกษกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้มอบใบประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการและประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประจำอำเภอ ทั้ง 22 อำเภอ ให้แก่ผู้ที่ได้รับการคัดสรรเข้ามาทำงานร่วมกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ

นายสำรวย เกษกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า วันนี้ขอแสดงความยินดีกับประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ คนใหม่ นายพงษ์พัฒน์ ไตรพิพัฒน์ รวมทั้งขอแสดงความยินดีกับ คณะกรรมการฯ รองประธานสภาฯ และประธานสภาอุตฯ ประจำอำเภอ ทั้ง 22 อำเภอ ที่ได้รับการคัดเลือกแต่งตั้งให้เข้ามาทำงานสภาอุตฯ ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษ มี 22 อำเภอ มีแหล่งท่องเที่ยว มีประเพณีวัฒนธรรม ที่หลากหลาย มีชนสี่เผ่าส ที่รอในการเจียระไนเพื่อให้ขึ้นมาสู่การท่องเที่ยวในเชิงอุตสาหกรรม ก็ฝากท่านคณะกรรมการในระดับอำเภอ ที่จะไปประสานกับผู้เกี่ยวข้องกับผู้นำท้องที่ท้องถิ่น คัดเลือกนำเสนอขึ้นสู่สภาอุตฯ เพื่อพัฒนาเชิญชวนนักท่องเที่ยว ให้มาเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ แบบเที่ยวทั้งปีได้ที่ศรีสะเกษ สร้างรายได้ให้แก่พี่น้องประชาชนได้อย่างยั่งยืนต่อไป


นายวิทยา วิรารัตน์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า วันนี้ดีใจ ที่ได้นายพงษ์พัฒน์ ไตรพิพัฒน์ มาเป็นประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพราะเชื่อว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและสามารถทำงานเชื่อมโยงได้กับทุกระดับ สิ่งที่อยากจะแนะนำก็คือ สภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ได้ดำเนินงานมาตลอดในการสร้างรายได้ให้กับชุมชน ผ่านประเพณีวัฒนธรรม จนได้ตั้งหัวข้อเรื่องเอาไว้ว่า วัฒนธรรมกินได้ เพราะหากสามารถเชื่อมโยงให้นักท่องเที่ยว ลงไปพื้นที่ ไปเรียนรู้ ศึกษา ท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรม ก็จะสามารถสร้างรายได้ให้เกิดกับชุมชนได้ เช่นดอกลำดวน ที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีแห่งเดียวในโลก ที่มีดงดอกลำดวนที่ขึ้นเองตามธรรมชาติอยู่มากกว่า 5 หมื่นต้น ตนพยายามที่จะเสนอว่า นักท่องเที่ยวที่เคยไปเที่ยวชมดอกชากุระ ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งออกปีละครั้ง ดอกลำดวนศรีสะเกษ ก็ออกปีละครั้ง สวยงามไม่แพ้กัน วันนี้จึงอยากที่จะส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมความงามของดอกลำดวน ภายในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ที่ออกดอกปีละครั้ง บานสะพรั่งเป็นดงลำดวนกว่า 5 หมื่นต้น ท่านจะได้สัมผัสกลิ่นหอมอ่อนๆของดอกลำดวน ท่ามกลางอากาศที่บริสุทธิ์ เย็นสบาย ภายในสวนในเดือนมีนาคม ของทุกปีด้วย

นายพงษ์พัฒน์ ไตรพิพัฒน์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ เปิดเผยว่า ในการเข้ามาทำงานในครั้งนี้ ได้มีเป้าหมายที่จะสร้าง พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในเชิงอุตสาหกรรมให้คน ทั้ง 22 อำเภอ ผ่านประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประจำอำเภอนั้นๆ โดยกำหนดอำเภอละ 1 จุด ทีมงานของสภาอุตฯ จะลงไปพร้อมกับภาคีเครือข่าย ทั้งสภาวัฒนธรรมจังหวัด ทั้งหอการค้าจังหวัด เกษตรจังหวัด การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด พาณิชย์จังหวัด อบจ.จังหวัดศรีสะเกษ พัฒนาการจังหวัด ประชาสัมพันธ์จังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด และสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ ประสานกับชุมชน ที่มีความพร้อมในการนำเสนอชุมชนของตนเอง โดยชุมชนเพื่อชุมชน ที่จะมีรายได้อย่างยั่งยืน พัฒนายกระดับเป็น Soft power จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวตลอดไป

ข่าว/ภาพ…… บุญทัน-ปฐมพงษ์ ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ

You May Have Missed!

1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
คณะกรรมการบริหารโรงเรียนปลูกปัญญา แต่งตั้ง “บิ๊กทิน” ผจก.ฟุตซอลทีมชาติไทย  เป็นประธานที่ปรึกษาโรงเรียน
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ เตรียมจัดงานใหญ่ส่งท้ายปี งานมหกรรม ภูมิพลังแผ่นดิน
1 Minute
กิจกรรมเพื่อสังคม
ไม่สนคำ ว่าทำบุญเอาหน้า…เสี่ยเดย์ นักบุญเจ้าเดิมช่วยการศึกษาอีกกว่า 3 ล้าน
0 Minutes
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จัดงานวันสถาปนาครบรอบ 53 ปี ชูแนวคิด ทุ่มเทอย่างชาญฉลาด เพื่อสร้างประสบการณ์สุขภาพที่เหนือชั้น เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เพิ่มการยอมรับและมั่นใจกับผู้มารับบริการ