กทม.รับมือสภาพอากาศแปรปรวน “ร้อน – ฝน – ฝุ่น”

กทม.รับมือสภาพอากาศแปรปรวน “ร้อน – ฝน – ฝุ่น”

กทม.เตือนประชาชนระวังอันตรายที่มากับความร้อน

เตือนภัย 5 โรคติดต่อในช่วงฤดูร้อน
1. โรคบิด : ท้องเสีย ถ่ายเหลว มีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
2. อหิวาตกโรค : ถ่ายเป็นน้ำ เหมือนน้ำซาวข้าว โดยไม่มีอาการปวดท้อง คลืนไส้ อาเจียน
3. โรคอุจจาระร่วง : ถ่ายเหลวเป็นน้ำ มีมูกเลือด คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดท้องรุนแรง
4. โรคอาหารเป็นพิษ : ปวดบิด อาเจียน ถ่ายเป็นน้ำ มีไข้ อ่อนเพลีย
5. ไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย : ไข้สูง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร แน่นท้อง ท้องผูกตามด้วยท้องเสีย

สามารถป้องกันโรคเหล่านี้ได้ โดยรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ ดื่มน้ำสะอาด ล้างผักผลไม้หลาย ๆ ครั้ง และล้างมือก่อนรับประทานอาหาร หรือปรุงอาหาร

พร้อมระวัง 6 อาการเสี่ยงที่มักจะมาพร้อมช่วงอากาศร้อน หากร่างกายได้รับความร้อนสูงเกินกว่าที่ร่างกายจะทนได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดการเจ็บป่วย ดังนี้

  1. ผื่นผิวหนัง ระคายเคืองและเป็นตุ่มสีแดง หรือผื่นบริเวณหน้า ลำคอ หน้าอกส่วนบน ใต้ราวนม และขาหนีบ
    2.บวมที่ขา หรือข้อเท้า
    3. ตะคริว กล้ามเนื้อหดตัวและเกร็งอย่างเฉียบพลัน โดยเฉพาะบริเวณขา แขน และท้อง
    4. เป็นลม
    5. เพลียแดด เหงื่อออก อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ กระหายน้ำ หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว
    6. โรคลมแดด หรือฮีตสโตรก (Heat Stroke) ผิวหนังแดง ร้อน เหงื่อไม่ออก สับสน หมดสติ

    วิธีการป้องกันอาการเสี่ยงทั้ง 6 คือ สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี พักผ่อนให้เพียงพอ จิบน้ำบ่อย ๆ ดื่มเกลือแร่หากเสียเหงื่อมาก และหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแดด

หากมีอาการ หรือข้อสงสัย ติดต่อสายด่วนสุขภาพ โทร.1646 สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน โทร.1669

กทม.เตรียมพร้อมรับมือฝนจากสภาพอากาศแปรปรวน

สำนักการระบายน้ำ ตรวจสอบประสิทธิภาพและความพร้อมการใช้งานอุโมงค์ระบายน้ำ 4 แห่ง สถานีสูบน้ำ 190 แห่ง ประตูระบายน้ำ 243 แห่ง และบ่อสูบน้ำ 329 แห่ง พร้อมจัดเตรียมสำรองเครื่องสูบน้ำ เครื่องไฟฟ้าสำรอง เครื่องผลักดันน้ำ ล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ ขุดลอกคูคลอง เปิดทางน้ำไหล จัดเก็บขยะวัชพืช ขยะตะแกรงท่อระบายน้ำ และลดระดับน้ำคูคลองต่าง ๆ

สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประสานสำนักงานเขตตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยของต้นไม้ขนาดใหญ่ในพื้นที่สาธารณะและถนนสายต่าง ๆ ตรวจตราอาคารสถานที่ป้ายโฆษณา ป้ายหาเสียง หรือสิ่งก่อสร้างที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง ตลอดจนเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์กรณีเกิดเหตุต่าง ๆ

กทม.เดินหน้าแก้ไขปัญหาเชิงรุกตั้งแต่ ต..65 – มี..66

  1. ตรวจสอบเพื่อควบคุมการเกิดฝุ่นละอองPM2.5 ที่แหล่งกำเนิดอย่างน้อย 2 ครั้ง/เดือน
    2. ตรวจสอบและบำรุงรักษารถยนต์ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน ไม่ปล่อยมลพิษเกินมาตรฐานกำหนด ลดการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว และส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
    3. ป้องกันปัญหาไฟไหม้หญ้าในพื้นที่รกร้าง สำรวจพื้นที่รกร้างว่างเปล่า เฝ้าระวังจุดเสี่ยง ขอความร่วมมือประชาชนจัดทำรั้วกั้นรอบพื้นที่ของตนเอง เพื่อป้องกันผู้อื่นนำขยะมาทิ้ง
    4. งดพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดฝุ่นละออง งดการเผาซากวัชพืชหลังเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตร งดการเผาขยะมูลฝอย หญ้าและเศษกระดาษ

นอกจากนี้ ยังได้ประสานสถานีตำรวจนครบาลท้องที่กวดขันจับกุมผู้ที่กระทำการเผาหญ้าและลุกลามสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชน เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 140,000 บาท

หากประชาชนพบเหตุไฟไหม้หญ้า กองขยะ หรือเหตุสาธารณภัยอื่น ๆ สามารถแจ้งสายด่วน โทร.199 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

You May Have Missed!

1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ เตรียมจัดงานใหญ่ส่งท้ายปี งานมหกรรม ภูมิพลังแผ่นดิน
1 Minute
กิจกรรมเพื่อสังคม
ไม่สนคำ ว่าทำบุญเอาหน้า…เสี่ยเดย์ นักบุญเจ้าเดิมช่วยการศึกษาอีกกว่า 3 ล้าน
0 Minutes
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จัดงานวันสถาปนาครบรอบ 53 ปี ชูแนวคิด ทุ่มเทอย่างชาญฉลาด เพื่อสร้างประสบการณ์สุขภาพที่เหนือชั้น เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เพิ่มการยอมรับและมั่นใจกับผู้มารับบริการ
0 Minutes
โรงพยาบาล
สำนักงานเลขานุการ (กลุ่มงานนิติการ) สำนักการแพทย์ ประชุมคณะทำงานพิจารณาปรับปรุงแก้ไขระเบียบกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ ครั้งที่ 3/2567