ผู้ว่าฯศรีสะเกษไถกลบตอซังข้าวส่งเสริมเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษสู่ครัวโลกอำเภอวังหิน
เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2566 ที่ศูนย์การเรียนรู้ศาสตร์พระราชาแปลงนาสาธิตเกษตรอินทรีย์ของนายเกรียงไกร รุ้งแก้วบ้านโพนยาง หมู่ที่ 7 ตำบลโพนยาง อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ นายสำรวย เกษกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดโครงการเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษสู่ครัวโลกโดยใช้“นวัตกรรมการบริหารจัดการ PM 2.5 ด้วยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการย่อยสลายตอซังข้าว” โดยมี ผศ.ดร.เชี่ยวชาญ แสงทอง คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ นายวุฒิเดช ทองพูล ประธานเครือข่ายโคกหนองนาศรีสะเกษ นายนรา โพธิ์สิง ผู้จัดการมูลนิธิการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน พศช. นายทำนอง ห่อไธสง ประธานเครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษ และนายสมชาย สีทา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพนยาง นำกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ตำบลโพนยาง อำเภอวังหิน สมาชิกเครือข่ายโคกหนองนาศรีสะเกษ และนักเรียนโรงเรียนบ้านโพนยาง จำนวน 200 คน เข้าร่วมโครงการและการสาธิตฉีดน้ำหมักและไถกลบตอซังข้าว ในพื้นที่แปลงนาสาธิตเกษตรอินทรีย์จำนวน 10 ไร่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มสารอินทรีย์ในดินสำหรับนาข้าวเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้เกษตรกรและนักเรียนโรงเรียนบ้านโพนยางได้เรียนรู้การทำนาข้าวเกษตรอินทรีย์ ต้องไม่เผาตอซังข้าวในพื้นที่นา ตามโครงการเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษสู่ครัวโลก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต่อไป
นายสมพร วิถี ประธานกลุ่มนาแปลงใหญ่ตำบลโพนยาง กล่าวว่า กลุ่มนาแปลงใหญ่ตำบลโพนยางมี 4 กลุ่ม คือ กลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านโพนยาง หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 7 กลุ่มหน้าแปลงใหญ่บ้านเห็นอ้มหมู่ที่ 2 และบ้านหนองคูหมู่ที่ 3 มีพื้นที่นาข้าวเกษตรอินทรีย์ประมาณ 1,000 ไร่ ซึ่งโครงการเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษสู่ครัวโลกโดยใช้“นวัตกรรมการบริหารจัดการ PM 2.5 ด้วยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการย่อยสลายตอซังข้าว”ให้ผลผลิตข้าวเปลือกอินทรีย์ประมาณ 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ สามารถจำหน่ายนราคาประกันตันละประมาณ 17,000บาท จึงขอเชิญชวนเกษตรกรอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ เข้าร่วมโครงการเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษสู่ครัวโลกโดยใช้“นวัตกรรมการบริหารจัดการ PM 2.5 ด้วยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการย่อยสลายตอซังข้าว สมัครได้ที่ นายสมพร วิถี ประธานกลุ่มนาแปลงใหญ่ตำบลโพนยาง โทร.0621981691
ผศ.ดร.เชี่ยวชาญ แสงทอง คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กล่าวว่า โดรงการ “นวัดกรรมการบริหารจัดการ PM 2.5 ด้วยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการย่อยสลายตอชังข้าว เป็นหนึ่งโครงการภายใต้โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ที่มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษด้าน 8CG การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์เพื่อนำนวัดกรรมการย่อยสลายตอซังข้าว ด้วยน้ำหมักชีวภาพจากจาวปลวกทดแทนการเผา มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกรในพื้นที่ตำบลโพนยางและตำบลบ่อแก้ว จำนวน 120 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษสู่ครัวโลก มหาวิทยาลัยราชภัฏตรีสะเกษ จึงได้ดำเนินการประสานวิทยากร คือ อาจารย์ ดร.วิมลศิริ สีหะวงษ์ อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร และรับความอนุเคราะห์วิทยากรจากศูนย์พัฒนาการเกษตรถสิงห์อื่นเนื่องมาจากพระราชดำริ มอบหมายให้นายบุลากร ขอจงดี เจ้าพนักการเกษตรปฏิบัติงาน เป็นวิทยากร อบรมเกี่ยวกับความรู้ที่มุ่งสร้างรรับรู้ให้เกษตรกรตระหนักถึงปัญหา และแนวทางการบริหารจัดการ PM 2.5 ทั้งการอบรมเชิงติการการทำน้ำหมักชีวภาพจากจาวปลวก ที่มีคุณสมบัติสำหรับการย่อยสลายตอซังข้าว เมื่อวันที่ 21-22 มกราคม .2566 ที่ผ่านมา จึงเป็นที่มาของกิจกรรมนำน้ำหมักมาใช้ย่อยสลายตอซังข้าวในแปลงนาในวันนี้
ข่าว/ภาพ … บุญทัน/ปฐมพงษ์ ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ