รมช.มนัญญา สั่งการกรมวิชาการเกษตร รุดให้ความช่วยเหลือเกษตรกรฟื้ นฟูหลังน้ำลด
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่ าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยเกษตรกรที่ประสบปั ญหาอุทกภัย สั่งการกรมวิชาการเกษตรเร่งให้ ความช่วยเหลือฟื้นฟูหลังน้ำ ลดอย่างเร่งด่วน โดยเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 รมช.มนัญญา ได้ทำพิธีปล่อยขบวนรถกรมวิ ชาการเกษตรเคลื่อนที่ปฏิบัติ การฟื้นฟูสวนไม้ผลและพันธุ์พื ชให้กับเกษตรกรภายหลังประสบอุ ทกภัย กว่า 30 คัน ในงาน “วันถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืช ในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี กรมวิชาการเกษตร” ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ตำบลสุขสำราญ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร พร้อมด้วย พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวั ดนครสวรรค์ นางสาวสายสุณี ปั้นพงษ์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครสวรรค์ และคณะผู้บริหารกรมวิชาการเกษตร นำทีมจากสำนักวิจัยและพั ฒนาการเกษตรเขตที่ 5 จังหวัดชัยนาท สำนักวิจัยและพั ฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก สถาบันวิจัยพืชไร่และพื ชทดแทนพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่แปลงเกษตรกรที่ประสบปั ญหาอุทกภัย ณ ตำบลบึงเสนาท อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ให้คำแนะนำการฟื้นฟูพื้นที่ การเกษตรที่เสียหายภายหลั งประสบอุทกภัย เพื่อบรรเทาปัญหา พร้อมขยายผลงานวิจั ยและเทคโนโลยีของกรมวิ ชาการเกษตร ให้เกษตรกรนำไปปรับใช้ให้ เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
การลงพื้นที่ของอธิบดีกรมวิ ชาการเกษตร ในครั้งนี้ ได้ตรวจเยี่ยมและพบปะเกษตรกร ถ่ายทอดและขยายผลองค์ความรู้ด้ านการเกษตร เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาให้เกษตรกร โดยกรมวิชาการเกษตรมีคำแนะนำวิ ธีการฟื้นฟูพื้นที่การเกษตรหลั งประสบอุทกภัย ในเบื้องต้นเกษตรกรควรบำรุงรั กษาให้พืชเกิดรากใหม่และให้ แตกใบอ่อนโดยเร็ว ขณะเดียวกันต้องมีการจัดการดิ นให้ถูกต้อง ภายหลังน้ำท่วมขณะที่ดินยังมีน้ำ ขัง ห้ามนำเครื่องจักรกลหนักเข้ าไปในพื้นที่และห้ามบุคคลรวมทั้ งสัตว์เข้าไปเหยียบย่ำบริ เวณโคนต้นพืชโดยเด็ดขาด เพราะจะกระทบกระเทือนต่ อระบบรากพืช และควรเร่งระบายน้ำ ออกจากแปลงโดยเร็ว โดยอาจขุดร่องระบายน้ำ หรือใช้เครื่องช่วยสูบน้ำ ออกจากพื้นที่ให้มากที่สุด
“การให้คำแนะนำเกษตรกรที่ ประสบอุทกภัย ให้สามารถพื้นฟูพื้นที่ การเกษตรที่เสียหายอย่างถูกวิธี หลังน้ำลดเป็นภารกิจเร่งด่ วนของกรมวิชาการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้ อนของเกษตรกร ซึ่งกรมวิชาการเกษตรมีความพร้ อมในการลงพื้นที่ให้คำแนะนำองค์ ความรู้และเทคโนโลยีที่ได้ จากผลงานวิจัยกว่า 50 ปีแก่เกษตรกร โดยชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่ ปฏิบัติการฟื้นฟูสวนไม้ผลและพั นธุ์พืชให้กับเกษตรกรภายหลั งประสบอุทกภัย จะลงพื้นที่ให้คำแนะนำด้านการจั ดการพื้นที่หลังน้ำลด พร้อมสนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ ต้นพันธุ์ไม้ผล เช่น ฝรั่ง มะม่วง เมล็ดพันธุ์ไม้ผล เช่น มะละกอแขกดำ เมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว เช่น ผักบุ้ง กะเพรา โหระพา พริก และพืชอื่น ๆ ตามความต้องการของเกษตรกร เพื่อปลูกทดแทนพืชเดิมที่เสี ยหายหรือตาย พร้อมสนับสนุนปัจจัยการผลิ ตจากผลงานวิจัยของกรมวิ ชาการเกษตร เช่น ปุ๋ยหมักเติมอากาศ ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต ปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซา แหนแดง ชุดอุปกรณ์เพาะเลี้ยงแมลงหางหนี บขาวงแหวนและมวนพิฆาต ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช ได้แก่ เห็ดเรืองแสง ชีวภัณฑ์ BS DOA 24 เป็นต้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของกรมวิ ชาการเกษตรจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่ร่วมลงพื้นที่ เช่น กลุ่มควบคุมตามพระราชบัญญัติ กลุ่มถ่ายทอดเทคโนโลยี กลุ่มพัฒนาการตรวจสอบพืชและปั จจัยการผลิต สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร ที่ลงพื้นที่ยังสามารถให้ คำแนะนำปรึกษาปัญหาด้ านการเกษตรอื่น ๆ ได้ตามความต้องการของเกษตรกร เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตได้อย่ างครบวงจร” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว