“เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารสำหรับผู้สูงอายุ” ได้รับรางวัลระดับ Gold ผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบระดับสูงมาก ปี 2565

เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารสำหรับผู้สูงอายุ”

ได้รับรางวัลระดับ Gold ผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบระดับสูงมาก ปี 2565

วันที่ 28 ตุลาคม 2565 ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ครั้งที่ 13 ซึ่งให้รางวัลแก่ผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติของปี พ.ศ. 2563 และ ผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบของปี พ.ศ. 2565 เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติ และร่วมแสดงความยินดีกับอาจารย์ นักวิจัยที่ได้สร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จนได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ  และเป็นการเสริมขวัญกำลังใจ และสร้างแรงจูงใจแก่อาจารย์ นักวิจัย ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องนำไปสู่การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาชุมชน สังคม เศรษฐกิจ รวมถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่ในเชิงสินค้าและบริการ รวมทั้ง การใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบายภาครัฐ สามารถแข่งขันในระดับสากลได้ อีกทั้งตอบสนองต่อนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดงานมอบรางวัลผลงานวิจัยมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน รวมผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติที่ได้รับรางวัลมากกว่า 6,000 บทความ นักวิจัยได้รับรางวัลมากกว่า 3,400 คน ผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบจำนวน 51 ผลงานวิจัย รวมถึงรางวัลอื่นๆ คิดเป็นเงินรางวัลมากกว่า 138 ล้านบาท

รางวัลผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบ ปี 2565

รางวัลระดับ Gold ผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบระดับสูงมาก  จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่

  1. เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารสำหรับผู้สูงอายุ โดย รศ.สิงห์ อินทรชูโต
  2. Top-of-Line Corrosion via Physics-Guided Machine Learning: A Methodology Integrating Field Data with Theoretical Models

โดย ผศ.ยุรนันท์ หาญลำยวง คุณภาสวร ศิลากร คุณณภัทร์ วรารัชต์กุล คุณสัมพัทธ์ วรรณวิไลรัตน์ รศ.ราชธีร์ เตชไพศาลเจริญกิจ ผศ.ธนาวินท์ รักธรรมานนท์ คุณณวรรษ จันทรกุลชัย และคุณธนภัทร ฆังคะจิตร

รางวัลระดับ Silver ผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบสูง จำนวน 3 ผลงาน ได้แก่

  1. Carbon Neutrality, Net Zero Emissions and Circular Economy in Action โดย รศ.รัตนาวรรณ มั่งคั่ง และคณะ
  2. การพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านภูมิคุ้มกันเพื่อการป้องกันโรคในระบบการเลี้ยงปลานิลของประเทศไทย โดย รศ.ศศิมนัส อุณจักร รศ.นนวิทย์ อารีย์ชน คุณอัณศยา พุ่มจันทร์ และคุณกรทิพย์ กันนิการ์
  3. ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพในสัตว์เลี้ยงที่คงฤทธิ์สาระสำคัญจากเครื่องในจระเข้ โดย รศ.นายสัตวแพทย์พิษณุ ตุลยกุล ผศ.นายสัตวแพทย์วีระศักดิ์ ฟุ้งเฟื่อง ผศ.สัตวแพทย์หญิงอุไร พงศ์ชัยฤกษ์ รศ.นายสัตวแพทย์วิศณุ บุญญาวิวัฒน์ คุณศรีสมัย วิริยารัมภะ และคุณพิริยาภรณ์ เฑียรเดชสกุล.

รางวัลผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติ ส่วนงานที่สร้างสรรค์ผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติสูงสุด ปี 2563  อันดับ 1 ได้แก่ คณะอุตสาหกรรมเกษตร อันดับ 2 คณะวิทยาศาสตร์ อันดับ 3 ได้แก่ คณะสัตวแพทยศาสตร์

รางวัลนักวิจัยรุ่นเยาว์ผู้สร้างสรรค์ผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติสูงสุด (KU Research Star)  ปี 2563  

  1. สาขาเกษตรศาสตร์ ได้แก่ อาจารย์ สัตวแพทย์หญิงกานต์สุดา ลีฬหาพงศธร ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุขศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์
  2. สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาศาสตร์กายภาพ) ได้แก่ ผศ.การันต์ คล้ายฉ่ำ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน วิทยาเขตกำแพงแสน
  3. สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ( วิทยาศาสตร์ชีวภาพ) ได้แก่ รศ.พงศ์ระวี นิ่มน้อย ภาควิชาวิทยาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ข่าวโดย ผกามาศ ธฯพัฒนพงศ์ / หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์