ชาวอำเภอวังหินจัดกิจกรรมปลูกต้นสนต้นตะเคียนคืนป่า ยางนาคืนถิ่น คืนชีวิตให้ลำห้วยคล้าเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 10

ชาวอำเภอวังหินจัดกิจกรรมปลูกต้นสนต้นตะเคียนคืนป่า ยางนาคืนถิ่น คืนชีวิตให้ลำห้วยคล้าเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 10

 

เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2565 ที่บริเวณขุดหลอกลำห้วยคล้าฝายน้ำล้นหนองเข็ง ตำบลกฤษณา อำเภอขุขันธ์ นายชวน ธีระวัฒน์อุดม ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ด้านทรัพยากรและสิ่งล้อมจังหวัดศรีสะเกษ และนายเทอดศักดิ์ เขื่อนนิลศิริ รองผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดศรีสะเกษ ได้ร่วมกันเป็นประธานเปิดโครงเฉลิมพระเกียรติ 70 พรรษามหาวชิราลงกรณและ 90 พรรษาสมเด็จพระนางเจาสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ปล่อยปลา ปลูกต้นสน ต้นตะเคียน ต้นประดู่ พะยูงคืน ป่า ยางนาคืนถิ่น โดยมีได้รับความเมตตาจากพระอาจารย์บุญมี เตชะธัมโม เจ้าอาวาสวัดป่าหนองม่วง และมีนายทิวา รุ้งแก้ว ประธานคณะกรรมการประสานงานเพื่อพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษ นายมงคล อุทัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสำราญ ดร.ฐิตารีย์ ไตรสรณปัญญา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเกษมศาสน์ ศรีโพนทอง ที่ปรึกษา บริษัท พศช.จำกัด นำพี่น้อง 2 ฝั่งลุ่มน้ำห้วยคล้า ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชจิตอาสาและนักเรียนในเขตอำเภอขุขันธ์และอำเภอวังหิน ร่วมกันปลูกต้นไม้บริเวณ 2 ฝั่งลุ่มน้ำห้วยคล้าประมาณจำนวน 15,000 ต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษ 70 พรรษา 28 กรกฎาคม 2565 และเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจาสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษ 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้แก่จังหวัดศรีสะเกษ คืนชีวิตให้ลำห้วยคล้าและลดโลกร้อนด้วย

ดร.ฐิตารีย์ ไตรสรณปัญญา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สืบเนื่องมาจากเมื่อประมาณปีพ.ศ 2564 ดร.ฐิตารีย์ ไตรสปัญญาและคณะ ได้เดินทางไปพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านเฉลิมชัย ศรีอ่อน เพื่อของบประมาณมาพัฒนาขุดลอกคลองลำห้วยคล้าที่ตื้นเขินและมีวัชพืชขึ้นเป็นจำนวนมากต่อมาท่านสจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เดินทางมาตรวจราชการที่ จังหวัดศรีสะเกษ ได้อนุมัติงบประมาณเพื่อขุดลำห้วยขา 85 ล้านบาทรวมทั้งงบเดิมอีก 10 ล้านบาทเป็นทั้งหมด 95 ล้านบาทซึ่งงบทั้งหมดเริ่มดำเนินการ ตั้งแต่ เมื่อช่วงปี 2565 เรื่อยมา ต่อมาจากการลงพื้นที่เมื่อประมาณต้นเดือนกรกฎาคม 2565 ดร.ฐิตารีย์ ไตรสรณปัญญา ได้พบปัญหาลำห้วยคล้าช่วงหนองเข็ง เหล่าแค่ ซึ่งอยู่บริเวณตำบลศรีสำราญ ตำบลสำโรงตาเจียน ตำบลหัวเสือตำบลตะเคียนราม ได้เกิดปัญหาลำน้ำตื้นเขินและสัตว์เลี้ยงพลัดตกไปในโพรงหญ้าและวัชพืชทำให้เกิดการเสียหายปีหนึ่งล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงได้เรียนเชิญ ผอ.ชลประทานจังหวัดศรีสะเกษ ลงพื้นที่สำรวจกับกลุ่มผู้นำเพื่อหาสาเหตุที่เกิดขึ้นและวิธีแก้ไขซึ่งต่อมาได้มีการประชุมหาหรือร่วมกันเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2565 ได้ประชุม ณ สำนักงานชลประทานจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีผู้นำชุมชนและ

ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เข้าร่วมประชุมประมาณ 300-400 คนทุกคน ลงประชามติเห็นชอบเพื่อขับเคลื่อนในการของบประมาณโดยให้ชลประทานจังหวัดศรีสะเกษเป็นแกนหลักในการทำแผนงานออกแบบพื้นที่และทำงบประมาณ เพื่อขอให้ชลประทานโดยกรมชลประทานเป็นผู้ดำเนินการขุดลอกคลอง ซึ่งในครั้งนี้ ดร. จุ๋มจะเป็นผู้ประสานงานเพื่อทำเรื่องงบประมาณให้ได้เร็วที่สุด เพื่อให้ต่อเนื่องกับงบประมาณที่เคยขอไว้ก่อนหน้านี้ 600 ล้านบาท และจะเริ่มดำเนินการในปี 2567 นี้ เพื่อให้เป็นลุ่มน้ำขนาดใหญ่ สามารถเป็นที่กักเก็บน้ำและเป็นที่หลังท่องเที่ยวของชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และสิ่งแวดล้อมของจังหวัดศรีสะเกษ และมีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ในการทำการ

เกษตรกรรมและในการทำมาหากินของคนในพื้นที่ลุ่มน้ำแห่งนี้ ซึ่งดร.จุ๋ม ได้ขอความร่วมมือจากคนที่อยู่ในลุ่มน้ำและที่ได้รับผลกระทบให้มีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนให้สำเร็จให้จงได้ต่อไป

 

 

บุญทัน ธุศรีวรรณ//รายงาน