พระอาจารย์จรันเจ้าคณะตำบลคลีกลิ้งจัดงานประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่
หนุนการศึกษาโรงเรียนในเขตอำเภอศิลาลาด
เมื่อว้นที่ 2 มีนาคม 2565 ที่วัดดงก้าวกัลยาราม ตำบลคลีกลิ้ง อ.ศิลาลาด จ.ศรีสะเกษ พระอาจารย์ จรัน อนังคโณ เจ้าอาวาสวัดดงก้าวกัลยาราม เจ้าคณะตำบลคลีกลิ้ง อำเภอศิลาลาด ได้เป็นประธานจัดงานประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่หนุนการศึกษาโรงเรียนในเขตอำเภอศิลาลาด โดยมีนายกองตรี ไตรรัตน์ เครือบุดดีมหาโชค นายอำเภอศิลาลาด และนายมหินทร เทพิน เกษตรอำเภอศิลาลาด นำผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและพุทธศาสนิกชนอำเภอศิลาลาด ร่วมงานประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่เป็นจำนวนมาก และได้ความเมตาจากแม่ชีทศพร ร่วมงานประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่และมอบอาหารกล่องให้แก่พุทธศาสนิกชนที่ร่วมงานด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นอนุรักษ์วัฒนาธรรมประณีอีสานโบราณงานประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่ให้คงอยู่สืบไป เพื่อให้พุทธศาสนิกชนอำเภอศิลาลาดได้มีทำบุญอุทิศกุศลแก่บรรพบุรุษที่ล้วงลับไปแล้ว และเพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะของประชาชนในชนบทชาวอำเภอศิลาลาดด้วย
ในโอกาสนี้พระอาจารย์ จรัน อนังคโณ เจ้าอาวาสวัดดงก้าวกัลยาราม เจ้าคณะตำบลคลีกลิ้ง และนายกองตรี ไตรรัตน์ เครือบุดดีมหาโชค นายอำเภอศิลาลาด และแม่ชีทศพร ได้มอบเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การศึกษามูลค่า 150,000 บาท ให้แก่โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตอำเภอศิลาลาด จำนวน 5 แห่ง เพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาให้แก่นักเรียนในชนบทอำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมดังกล่าวได้ดำเนินการภายใต้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข โดยมีการจัดจุดคัดกรอง ตรวจวัดอุณหภูมิ เจลแอลกอฮอล์ เว้นระยะห่าง และสวมหน้ากากอนามัยอย่างเคร่งครัด
พระอาจารย์ จรัน อนังคโณ เจ้าอาวาสวัดดงก้าวกัลยาราม กล่าวว่า บุญกุ้มข้าวใหญ หรือบุญคุณลานนั้น เป็นบุญประเพณีของชาวอีสานที่แสดงให้เห็นจิตวิญญาณ ของชุมชนที่ดํารงอยูด้วยวิถีเกษตรกรรมมาช้านาน ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน ด้วยสํานึกในบุญคุณของข้าวที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนทุกคน นอกจากนี้เป็นการแสดงออกถึงพลังแห่งความร่วมแรงร่วมใจของชุมชน เพื่อสืบทอดจิตวิญญาณที่กล้าแกร่งของชาวนา มีการทําพิธีพราหมณ์บายศรีสู่ขวัญข้าวทุกปี เพราะชาวอีสานเชื่อว่า แม่พระโพสพ มีอํานาจที่สามารถดลบันดาลให้ข้าวเจริญงอกงาม นําความอุดมสมบูรณ์มาให้ ชาวนาที่บูชาเทวีแห่งข้าว ด้วยเหตุนี้ชาวนาจึงมีพิธีบูชาแม่พระโพสพก่อนที่จะลงมือทํานาหรือระหว่างตก กล้า จนข้าวตั้งท้องออกรวง ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวในที่สุด การทําพิธีบูชาแม่พระโพสพนั้นในสมัยต่อมา นิยมทํากันเมื่อเก็บเก ี่ยวข้าวเสร็จแล้ว โดยนําข้าวมากองไว้กลางลานนวดแล้วทําพิธีบายศรีข้าวหรือเมื่อนวด ข้าวเสร็จจะได้ข้าวเปลือกกองใหญ่กลางลานนวด ชาวอีสานเรียกกองข้าวเปลือกใหญ่ว่า กุมข้าวใหญ่ และจะทําพิธีทางพราหมณ์ตามประเพณีปฏิบัติของบรรพชนเรียกว่า“พิธีรับขวัญข้าว เพราะถือคติความเชื่อว่า ขณะที่เราทํานาเกี่ยวข้าวและนวดข้าวเราใช้เท้าเหยียบยํ่าข้าว จึงมีความจําเป็นที่จะต้องร่วมทําพิธีบูชาแม่พระโพสพเพื่อขอขมาจะได้เป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัวให้มีแต่ความผาสุกต่อไป
ข่าว/ภาพ … บุญทัน ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ