สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เข้ม มาตรการคัดกรองผู้ต้องกัก

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เข้ม มาตรการคัดกรองผู้ต้องกัก

 

ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เรื่องการควบคุมกํากับดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาพํานักอาศัยหรือท่องเที่ยวในประเทศไทย สํานักงานตํารวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ดํารงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. มอบหมายให้ สตม. ดําเนินการ ตรวจสอบชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในขณะที่พํานักในประเทศไทยกระทําความผิดกฎหมาย และก่อเหตุอันตรายต่อความสงบสุข และความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชน ทําให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศหรือกลุ่มคนร้ายข้ามชาติที่เข้ามาแฝงตัวกับคนไทยหรือต่างชาติ โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานใน การกระทําความผิด  สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง โดย พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผบช.สตม. พร้อมด้วย พล.ต.ต.ณฐพล แสวงกิจ,พล.ต.ต.สิทธิชัย โล่กันภัย,พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง,พล.ต.ต.ศิลปคมณ์ เอี่ยมวงศ์ รอง ผบช.สตม.

ตามที่ปรากฏข้อมูลข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์ กรณีห้องกักตัวเพื่อรอการส่งกลับ สตม. มีความเสี่ยงในการ แพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 นั้น สตม. ขอเรียนชี้แจงว่า กรณี ห้องกักตัวเพื่อรอการส่งกลับ ตม.จ.สงขลา เป็นข้อมูลในปี พ.ศ.2563 ปัจจุบัน สตม.ได้ดําเนินการเพิ่มประสิทธิภาพ และลดการแพร่ระบาดในห้องกัก สตม. โดยมีมาตรการ ดังนี้

1.มาตรการต่อผู้ต้องกัก
-มาตรการสูงสุดในการตรวจคัดกรองผู้ต้องกักที่รับตัวมาจาก สน.,สภ. และ ราชทัณฑ์ หน่วยบังคับใช้กฎหมาย จะต้องมีผลการตรวจโรคโควิด-19 มาพร้อมหนังสือนําส่งตัวคนต่างด้าวมาพร้อมด้วย อีกทั้งเพิ่มความเข้มงวดในการคัดกรองแรกรับ หากตรวจพบอุณหภูมิผู้ต้องกักสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส หรือมีอาการไข้สูง ไอ จาม เจ็บคอ ไม่สามารถ รับรู้กลิ่นหรือรส อย่างหนึ่งอย่างใด ให้รีบส่งตัวพบแพทย์ทันที และรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบโดยเร็ว
-มาตรการการแยกกักตัวสําหรับผู้ต้องกักแรกรับรายใหม่อย่างน้อย 15 วัน และตรวจวัดอุณหภูมิ ตรวจ อาการ และเฝ้าระวังอาการ ดูแลสุขภาพอนามัย โดยแพทย์ตรวจคนเข้าเมืองประจําห้องกัก พร้อมทั้งประสาน โรงพยาบาลใกล้เคียงในการส่งต่อและรักษากรณีป่วยหนัก
-มาตรการงดเยี่ยมผู้ต้องกักทุกกรณีจนกว่าจะมีคําสั่งเปลี่ยนแปลง แต่อนุญาตให้ผู้ต้องกักใช้โทรศัพท์ สาธารณะหรือทางระบบซูมเพื่อติดต่อญาติ หรือสถานทูต หรือองค์การต่างๆ ตลอดจนองค์กรระหว่างประเทศในการ ดูแลผู้ต้องกัก ได้แก่ UNHCR IOM UNICEF เป็นต้น

-กรณีผู้ต้องกักมีเหตุจําเป็นต้องออกไปภายนอกห้องกัก เช่น ไปพบแพทย์ ไปศาล เป็นต้น ให้สวมหน้ากาก อนามัย และล้างมือก่อนเข้า-ออกห้องกักทุกคร้ัง
-จัดให้มีคําแนะนําการระวังป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยจัดทําเป็นโปสเตอร์เป็นภาษาต่างประเทศ 10 ภาษา ติดให้ผู้ต้องกักทราบ และเปิดสื่อภาษาต่างๆ ให้ผู้ต้องกักฟังเป็นประจํา เพื่อให้ทราบถึงการป้องกันโรค
-ด้านการป้องกันและควบคุมโรค สถานกักตัวคนต่างด้าวจะประสานบุคลากรทางการแพทย์ที่รับผิดชอบ เช่น สาธารณสุขในพื้นที่ หรือ สปคม. กรมควบคุมโรค เพื่อให้การดําเนินการในการป้องกันและควบคุมโรคเป็นไปตาม มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข

2.มาตรการต่อเจ้าหน้าที่ตํารวจ
3.มาตรการผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้จัดหาอาหารผู้ต้องกัก ผู้ทําความสะอาดห้องกัก ฯลฯ หรือมาตรการต่อ บุคคลภายนอก ตามแนวทางของสาธารณสุขโดยเคร่งครัด (DMHTT)

สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ขอเรียนว่า การดูแลผู้ต้องกักเป็นไปตามมาตรฐานสากลและหลักมนุษยธรรม นอกจากมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ข้างต้น สตม. ยังมีมาตรการเพิ่มเติม เช่น กรณีที่มี ผู้ติดเชื้อห้องกักบางเขน สตม. จํานวน 400 ราย สตม. ได้ดําเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามชั่วคราว และได้ทําการรักษาหายเป็นปกติแล้วทุกราย และดําเนินการตามขั้นตอนการส่งกลับแล้ว  ปัจจุบันไม่มีผู้ต้องกักที่ติดเชื้อในห้องกัก สตม. แต่อย่างใด

สตม.ขอเรียนให้ท่านทราบว่า สตม. มีมาตรการในการตรวจสอบ กวดขัน และปราบปรามการกระทําความผิดใน ด้านต่างๆ รวมถึงการเฝ้าระวังบุคคลทั้งสัญชาติไทยและสัญชาติอื่นๆ ที่มีหมายจับและมีเดินทางเข้า-ออกประเทศไทย หากประชาชนท่านใดพบเห็นเบาะแสการกระทําความผิด กรุณาแจ้งมายัง สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง เลขที่ 507 ซ.สวนพลู แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 หรือที่หมายเลขโทรศัพท์ 1178 หรือที่ www.immigration.go.th จักขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง

สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน