จนท.เทศกิจ​ เขตพระนคร พร้อม จนท.ตำรวจ​สน.พระราชวัง​ ตรวจสอบ​ความพร้อมตลอดเเนวถนนเส้นทาง​เสด็จ​ เนื่องใน วันจักรี 6 เมษายน

จนท.เทศกิจ​ เขตพระนคร พร้อม จนท.ตำรวจ​สน.พระราชวัง​ ตรวจสอบ​ความพร้อมตลอดเเนวถนนเส้นทาง​เสด็จ​ เนื่องใน วันจักรี 6 เมษายน

 

วันที่ 6 เม.ย.64) เวลา 09.45 น. : นายสุรเดช อำนวยสาร ผู้อำนวยการเขตพระนคร มอบหมายให้ นายสัมฤทธิ์ สุมาลี ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตพระนคร สั่งการ​ให้ นายคณิต ชุมช่วย หัวหน้างานตรวจและบังคับ​การ (รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายเทศกิจเขตพระนคร​)​ นำกำลัง​ จนท.เทศกิจ ชุด​ 254 ร่วมกับ​ จนท.ตำรวจ​ สน.พระราชวัง​ ลงพื้นที่ จัดตั้งวางแผงเหล็ก​กั้น ตลอดแนวถนน ในเส้นทางเสด็จ​พระราช​ดำเนิน​พระบรมมหาราชวัง​ วัดพระแก้ว บริเวณ​สามแยก​ไฟแดง ฝั่ง​ตรงข้าม​ศาลหลักเมือง เขตพระนคร​ กรุงเทพฯ​

ทั้งนี้ วันจักรี ตรงกับวันที่ 6 เมษายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นวันที่ระลึกถึงมหาจักรีบรมราชวงศ์ พสกนิกรชาวไทยร่วมกันประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน และหน่วยงานราชการก็มีพิธีวางพานพุ่มถวายสักการะ ณ บรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

วันจักรีมีความสำคัญอย่างไรวันจักรี คือ วันที่พสกนิกรชาวไทยร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งเป็นพระปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์จักรี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 และเป็นวันที่ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชที่สำคัญ คือ ทรงย้ายเมืองหลวงราชธานี จากฝั่งธนบุรี มายังฝั่งพระนคร และการฟื้นฟูวัฒนธรรมไทยที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และอยุธยา นอกจากนี้ยังทรงตรากฎหมาย “ตราสามดวง” เพื่อใช้เป็นหลักบริหารบ้านเมือง

ประวัติวันจักรี มีที่มาอย่างไร
พ.ศ.2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์จักรี ต่อมาปี พ.ศ.2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 1-4 เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อมา และพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ รวมถึงประชาชน ได้ถวายบังคมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณปีละครั้ง โดยประดิษฐานบนพระบรมรูปไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พ.ศ.2461 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปรับปรุงซ่อมแซม และประดิษฐานพระบรมรูป 5 รัชกาล และมีพระบรมราชโองการประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ 6 เมษายน ปีนั้น และต่อมาโปรดฯ ให้เรียกวันที่ 6 เมษายน ว่า “วันจักรี” พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่สำคัญในประเทศไทย สถานที่ถวายพานพุ่มสักการะพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชในประเทศไทยที่สำคัญมี 2 แห่ง คือ

แห่งแรก พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ถ.ตรีเพชร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2475 ในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี ประดิษฐานอยู่ที่เชิงสะพานพุทธ ฝั่งเขตพระนคร สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) พระบรมรูปทรงเครื่องขัตติยาภรณ์ เสด็จประทับเหนือพระราชบัลลังก์ ออกแบบโดยสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ และหล่อโดยศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี พระบรมราชานุสาวรีย์นี้มีความสูง 4.60 เมตร ฐานกว้าง 2.30 เมตร เบื้องหน้ามีเครื่องบูชา พานพุ่มดอกไม้ และน้ำพุประดับอย่างสวยงาม

แห่งที่สอง พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต.อิสาณ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ พสกนิกรชาวเมืองบุรีรัมย์ ได้ร่วมกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งผู้สถาปนาเมืองบุรีรัมย์ และเป็นอนุสรณ์ศูนย์รวมจิตใจแห่งความภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ขณะที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยาจักรีในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงยกทัพมาปราบกบฏเมืองจำปาศักดิ์ และได้รวบรวมผู้คนตั้งเมืองขึ้น เรียกว่า “เมืองแปะ” โดยแต่งตั้งบุตรเจ้าเมืองผไทสมัน (พุทไธสง) ให้เป็นเจ้าเมือง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมือง “บุรีรัมย์” ในช่วงปลายรัชสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) หรือต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)

พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2541 มีพิธีเปิดในปี พ.ศ.2542 ประดิษฐานอยู่ใน อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ทางไป อ.ประโคนชัย สร้างขึ้นตามแบบนับฉลองพระองค์นักรบ ประทับบนช้างศึก จากจดหมายเหตุประชุมพงศาวดารภาค 7 ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ที่พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้สมเด็จพระมหากษัตริย์ศึกยกทัพไปปราบพระยานางรองที่สมคบคิดกับเจ้าโอ เจ้าอิน แห่งจำปาศักดิ์

เบื้องต้นผลการปฏิบัติ​งานวันนี้เป็นไปด้วยความเรียบ​ร้อย

Cr.ภาพ จากกรมการท่องเที่ยว/ข่าว ธีรพล ปลื้ม​ถนอม
สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน

You May Have Missed!

1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
องค์การสวนสัตว์ฯ เปิดบ้านต้อนรับพันธมิตรทำกิจกรรมร่วมกับ “หมูเด้ง” ชวนช่วยผู้ประสบอุทกภัยและดูแลสวัสดิภาพเพื่อนสัตว์
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
บพข. เปิดผลงานวิจัย 5 ปี พลิกโฉมการท่องเที่ยว – เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ยกระดับสู่ความยั่งยืน
1 Minute
เศรษฐกิจ
“อลงกรณ์ พอใจ” เอฟเคไอไอบิสซิเนส ฟอรั่ม  ประสบความสำเร็จเชื่อมโยงธุรกิจไทย-เกาหลี บรรลุข้อตกลงจับคู่ธุรกิจการลงทุนกิจการเทคโนโลยีชีวภาพ-สุขภาพ-สิ่งแวดล้อมพร้อมขยายความร่วมมือกับโกลบอลESG
0 Minutes
ข่าวภูมิภาค
พิธีทำบุญสารทเดือนสิบ ตามโครงการเสริมสร้างจริบธรรมคุณธรรม เสริมสร้างความรักชาติ และเสริมสร้างวินัยแก่คนในชาติ ของกรมการปกครอง