ทีมพลังรักษ์สหกรณ์ ชูนโยบาย 8 ระบบ พร้อมสานงานต่อก่องานใหม่ ยืนยันเคียงข้างสมาชิก
ขอสหกรณ์สมาชิกทั่วประเทศ โปรดไว้วางใจเลือก “ยกทีม”
วันที่ 25 มี.ค. 64 นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม ประธานฯสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย (สสท.) พร้อมด้วย พลตำรวจโท วิโรจน์ สัตยสัณห์สกุล ในนามคณะกรรมการบริหาร “ทีมพลังรักษ์สหกรณ์”และ ผู้สมัครในทีมพลังรักษ์สหกรณ์ ร่วมแถลงนโยบาย การลงสมัครเลือกตั้งประธานและคณะกรรมการดำเนินการ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทยจำกัด (ชสอ.) ณ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย (สสท.) โดยทั้งสองท่านยืนยันว่า บุคลากรของทีมมีความรู้ความสามารถและเป็นผู้แทนที่มาจากเขตพื้นที่หรือภูมิภาค เพื่อการมีส่วนร่วมที่เท่าเทียมกัน ครอบคลุมพื้นที่ 8 เขต กระจายในทุกกลุ่มวิชาชีพ เป็นการเลือกตั้งกรรมการเพื่อมาบริหาร องค์กรระดับชาติ มีภารกิจในการบริหารเงินทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์ทั้งประเทศ กว่าหนึ่งแสนหกหมื่นล้านบาท “ทีมพลังรักษ์สหกรณ์” ยืนหยัดกำหนดให้มีสัดส่วนผู้สมัครเป็น กรรมการ ชสอ. ในลักษณะแบบผสมผสานเพื่อความสมดุลของระบบ โดยเป็นสัดส่วนที่มาจากเขตพื้นที่ และนอกเขตพื้นที่สลับกันไปทุกปี เพื่อให้ทุกคนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการบริหาร ชสอ. บนพื้นฐานว่า “ต้องได้รับการเลือกตั้งจากสหกรณ์สมาชิกทั่วประเทศ” และทีมพลังรักษ์สหกรณ์ ยึดการทำงานเป็นทีม มิใช่ลักษณะของ ต่างคน ต่างมา ต่างคน ต่างทำ ยิ่งในสภาวะปัจจุบันที่ขบวนการณ์สหกรณ์ออมทรัพย์ ถูกจับตามองจากภาครัฐในเรื่องของทุนดำเนินการ ที่มีมากกว่า 3.2 ล้าน ๆ บาท จึงมีความพยายามของกลุ่มที่ไม่หวังดีกับขบวบการณ์สหกรณ์ ทั้งกลุ่มทุนที่สูญเสียประโยชน์ ต่างมุ่งที่จะ “จำกัดการเจริญเติบโตของกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์” ดังจะเห็นได้จากการออกกฎกระทรวง 13 ฉบับ ตามมาตรา 89/2 ได้สร้างผลกระเทือนต่อขบวนการสหกรณ์ออมทรัพย์อย่างรุนแรง จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการทำงานเป็นทีม ร่วมมือกันเป็นปึกแผ่น เพื่อก้าวผ่านภาวะวิกฤตินี้ไปให้ได้ “รวมกันเราอยู่ แยกหมู่เราตาย” เพื่อก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
นายปรเมศวร์ กล่าวอีกว่า ทีมพลังรักษ์สหกรณ์ ในฐานะผู้บริหาร ชสอ. 5 รุ่นที่ผ่านมา บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล โดยเฉพาะในช่วง ปี 2562 – 2564 ที่ พล.ต.ท.วิโรจน์ สัตยสัณหสกุล เป็นประธาน
ชสอ. ท่านได้ยึด หลักความถูกต้อง มากกว่าความถูกใจ บนพื้นฐานของการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมประเมินผล และสุดท้ายร่วมผลประโยชน์ ทีมพลังรักษ์สหกรณ์ จึงได้ “สรรหาคนดี มีฝีมือ มากด้วย
ความสามารถ” มาร่วมงานอย่างหลากหลายทั้งจากกลุ่มวิชาชีพ และ เขตพื้นที่ ส่งผ่านถึง รุ่นที่ 6 เพื่อสานงานต่อ ก่องานใหม่ ตั้งใจพัฒนา เพื่อความก้าวหน้าของ ชสอ. ภายใต้นโยบาย 8 ระบบ ประกอบด้วย
(1) ระบบการบริหารจัดการ
1) ชสอ.ต้องทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินของขบวนการสหกรณ์ออมทรัพย์
เพื่อให้แข่งขันกับสถาบันการเงินอื่น นำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่น ความมั่นคง ความปลอดภัย และยั่งยืนประกอบด้วย
1.1) สถาบันการเงิน “กลางของสหกรณ์ออมทรัพย์” เพื่อเป็นตัวกลางเชื่อมโยงธุรกิจการเงินระหว่างสหกรณ์
1.2) ศูนย์กลางบริหารสภาพคล่องของระบบการเงินสหกรณ์ ทำให้ขบวนการสหกรณ์มีสภาพคล่องเพียงพอที่จะปล่อยกู้กันเอง ลดผลกระทบต่อเสถียรภาพการเงินโดยรวม ลดการพึ่งพาจากธนาคาร (ปลดแอกBank)
1.3) ผลักดันให้เกิดกองทุนเสถียรภาพสหกรณ์ออมทรัพย์ สำหรับใช้แก้ปัญหากรณีสหกรณ์ประสบปัญหาทางด้านการเงิน เช่นกรณีของปัญหาคลองจั่น ปัญหาสหกรณ์สโมสรรถไฟ และปัญหาหุ้นกู้การบินไทย
2)เกณฑ์มาตรฐานการบริหารจัดการ ได้แก่ เกณฑ์มาตรฐานความมั่นคงทางด้านการเงิน การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสหกรณ์ เกณฑ์การบริหารความเสี่ยง และเกณฑ์ธรรมาภิบาล
3) เป็นผู้นำในการพิทักษ์ผลประโยชน์ของขบวนการสหกรณ์ การรักษาประโยชน์ที่กระทบจากการออกกฎกระทรวง ทั้ง 13 ฉบับ ตามมาตรา 89/2 โดยพัฒนาแนวทางการปฏิบัติให้สามารถเข้าสู่กระบวนการอย่างราบรื่น ให้ปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ไม่ใช่ถูกครอบงำ และการกำกับอย่างกระดิกตัวไม่ได้
4) เป็นผู้นำในการผลักดันการแก้กฎหมายให้เอื้อต่อขบวนการพัฒนาขบวนการสหกรณ์ เช่น แก้กฎหมายการดำรงตำแหน่งของกรรมการให้มีวาระ 3 ปี แก้ไขข้อบังคับการเป็นกรรมการ ชสอ.ไม่จำเป็นต้องเป็นกรรมการจากต้นสังกัด (แต่ต้นสังกัดต้องมีมติส่งให้เป็นผู้แทน) เพื่อแก้ไขปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน (Confict of Interest)
5) บริหารจัดการ ชสอ.อย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการพัฒนาโครงสร้างทางการเงิน เพื่อสร้างความมั่นคงและตันทุนทางการเงินต่ำ สหกรณ์สมาชิก และสมาชิกได้รับผลประโยชน์ที่เป็นธรรม
(2) ระบบสวัสดิการ สนับสนุนและส่งเสริม การจัดสวัสดิการของสหกรณ์สมาชิกเพื่อสร้างความมั่นคงแก่สมาชิกสหกรณ์ เช่น การจัดตั้งสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์เป็นฝ่ายหนึ่งของการจัดสวัสดิการ รวมถึงสวัสดิการอื่น ๆ ตั้งแต่ ตั้งครรภ์ เกิด จนถึงตาย
(3) ระบบพัฒนาบุคลากร
1) พัฒนาสถาบัน พัฒนาบุคลากรสหกรณ์ออมทรัพย์ เพื่อเป็นศูนย์กลางพัฒนาคนเข้าสู่ขบวนการสหกรณ์
2) พัฒนาบุคลากร สหกรณ์ออมทรัพย์ด้วยหลักสูตรมืออาชีพ ทั้งระบบ ประธาน คณะกรรมการดำเนินการ ฝ่ายจัดการ (ผู้จัดการ
การเงิน บัญชี เทคโนโลยี) ผู้ตรวจสอบกิจการ รวมทั้งสมาชิกสหกรณ์
3)พัฒนาหลักสูตรที่เอื้อต่อการพัฒนาคน
ทั้งหลักสูตรระยะสั้น ปานกลาง ระยะยาว และ Advance เช่น การบริหารเงินทุน การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน การบริหารเชิงกลยุทธ์ ด้วยสื่อที่หลากหลาย เช่น การเรียน Online
4) ส่งเสริมให้สหกรณ์ขนาดเล็กได้รับสิทธิ์เข้ารับการฝึกอบรม “ฟรี” อย่างทั่วถึง
(4) ระบบเครือข่ายและการมีส่วนร่วม
1) จัดสรรและกระจายงบประมาณลงสู่พื้นที่อย่างเพียงพอและเป็นธรรม เน้นจัดสรรเป็นงบสำหรับอบรมบุคลากร
2) ส่งเสริมให้เขตพื้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพตามบริบทของพื้นที่ เช่น หลักสูตรการฝึกอบรมที่เป็นความต้องการ
ของสหกรณ์สมาชิกเฉพาะที่ เฉพาะกลุ่ม โดยทาง ชสอ. สนับสนุนวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
3) จัดงบประมาณเพื่อเปิดพื้นที่การสะท้อนและรับฟังความคิดเห็นของสหกรณ์สมาชิกในรูปแบบ “สภาที่ปรึกษา”
(5) ระบบการออม
1)ส่งเสริมการออมแก่ขบวนการสหกรณ์ด้วยการกำหนดให้การออมเป็นวาระแห่งปี และจัดกิจกรรมส่งเสริมการออม
2) ร่วมมือกับเขตพื้นที่จัด Event การออมของสมาชิกอย่างต่อเนื่อง
3) ออกผลิตภัณฑ์การออมแก่สหกรณ์สมาชิก ให้มีความหลากหลาย และผลตอบแทนที่สูงกว่าท้องตลาดเพื่อจูงใจ
(6) ระบบสินเชื่อ
1)ให้ความสำคัญด้านบริการสินเชื่อแก่สหกรณ์สมาชิกเป็นลำดับแรกด้วยการจัดระบบสินเชื่อให้มีความหลากหลาย
และสามารถเข้าถึงได้อย่างคลอบคลุม
2) สร้างกลยุทธ์เพื่อจูงใจให้สหกรณ์สมาชิกใช้บริการสินเชื่อเพิ่มขึ้น
(7)ระบบการลงทุน
1) บริหารการลงทุนของ ชสอ.อย่างมืออาชีพ เพื่อสร้างความมั่นคง สร้างผลตอบแทน และ
รักษาสภาพคล่องทางการเงินที่สมดุล ภายใต้โครงสร้างทางการเงินตามเกณฑ์มาตรฐาน 2) ส่งเสริมพัฒนาและสนับสนุนบุคลากรของสหกรณ์สมาชิกให้มีความรู้ความสามารถในการบริหารการลงทุน เพื่อสร้างความมั่นคง ในรูปแบบสมาคมนักลงทุนในขบวนการสหกรณ์
3) เนันการลงทุนที่สร้างความมั่นคงมากกว่าอัตราผลตอบแทนเพื่อลดความเสี่ยง เช่น เน้นการลงทุนตราสารหนี้
(8) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
1) ยกระดับ ชสอ.เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาระบบ IT
2) มีศูนย์ข้อมูลกลาง DATA CENTER ในรูปแบบ BIG DATA เพื่อนำไปสู่การพัฒนาให้เป็นสารสนเทศ MIS
3) พัฒนาระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศสหกรณ์ซึ่งสามารถแสดงข้อมูลรายสหกรณ์ เกี่ยวกับ จำนวนสมาชิก ทุนเรือนหุ้น ทุนสำรอง จำนวนเงินรับฝาก จำนวนเงินให้กู้ยืม หนี้สิน เงินฝาก ประเภทบริการ ประเภทสินค้า ปัญหา ความต้องการ และอื่น ๆ ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานกลางในการพัฒนา สห
กรณ์ และการเชื่อโยงเครือข่ายการตลาด การผลิต และการเงินของสหกรณ์ โดยทุกสหกรณ์สามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลกลางได้ 4) สนับสนุนให้สหกรณ์สมาชิกสามารถเข้าถึงและใช้โปรแกรมสหกรณ์ โดยเฉพาะสหกรณ์ขนาดเล็กใช้ “ฟรี”
พลตำรวจโท วิโรจน์ สัตยสัณห์สกุล คณะกรรมการ “ทีมพลังรักษ์สหกรณ์” กล่าวว่า “ทีมพลังรักษ์สหกรณ์” ก่อกำเนิดขึ้นเพื่อดำเนินกิจกรรมและพัฒนา “ชสอ.” ด้วยการผนึกกำลังของบุคคลหลายฝ่าย ทั้งจาก
ส่วนกลาง จากภูมิภาค และจากทุกกลุ่มวิชาชีพ จนเกิดพลัง “สุขา สังฆัสสะ สามัคคี = ความสามัคในหมู่คณะทำให้เกิดสุข” ซึ่งเป็นจุดเริ่มของการการผนึกกำลังร่วมกัน ระหว่าง (1) สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศ
ไทย(สสท.) ที่เป็นองค์กรสูงสุดของขบวนการสหกรณ์ทั้งระบบ ที่มีบทบาทเป็นศูนย์กลางในการจัดการความรู้ ให้ความช่วยเหลือ และส่งเสริมกิจการสหกรณ์สมาชิก และการพิทักษ์รักษาผลประโยชน์สิทธิอันพึงมีพึงได้
ร่วมกับ (2) ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย (ชสอ.) ที่เป็นองค์กรสูงสุดของขบวนการออมทรัพย์ไทย มีบทบาท “ทางด้านเศรษฐกิจ” และ (3) สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์สหกรณ์สมาชิกของ ชสอ. ทั้ง 8
สมาคม 7 กลุ่มวิชาชีพ มีบทบาททาง “ด้านสวัสดิการ” เหล่านี้ล้วน เป็นจุดเริ่มต้นของ ความศรัทธา ความเชื่อมั่น และความมั่นใจ ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้มากที่สุดนำไปสู่การพัฒนาขบวนการสหกรณ์ ก่อให้เกิดความ
เข้มแข็งเป็นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ “สมาชิกสหกรณ์มีคุณภาพชีวิตที่ดี” ภายใต้เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ
1) พัฒนาบุคลากรของสหกรณ์ให้เป็นมืออาชีพมากกว่า “มีอาชีพเป็นกรรมการ”
2)สร้างความเข้มแข็งให้แก่ขบวนการสหกรณ์
3) เสริมสร้างระบบการบริหารจัดการ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล ที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
4) พัฒนาระบบการเงินที่เกื้อหนุนต่อการพึ่งพาตนเองและสร้างความร่วมมือระหว่างสหกรณ์
5) สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการของสหกรณ์
6) พัฒนาและปรับปรุงกฎหมายของสหกรณ์ให้เอื้อต่อการส่งเสริมพัฒนาขบวนการสหกรณ์ เป้าหมายเหล่านี้ เป็นไปตาม
เจตนารมณ์ของมวลสมาชิกที่มีต่อทีม “ซื่ออตรง มั่นคง ปลอดภัย ยั่งยืน ” ทีมพลังรักษ์สหกรณ์ จะทำงานด้วยความมุ่งมั่น จะไม่ทำให้ท่านผิดหวัง ตามที่ท่านให้ความไว้วางใจ
ดังนั้น วันที่ 12 มิถุนายน 2564 ประชุมใหญ่สามัญประจำปี ชสอ. โปรดเลือก “ทีมพลังรักษ์สหกรณ์ ยกทีม” ตำแหน่งประธานกรรมการ ชสอ. โปรดเลือก ดร.มะณู บุญศรีมณีชัย ประธานสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขหนองคาย จำกัด และ เลือกคณะกรรมการนอกเขตเลือกตั้ง 1 คน คือ รศ.ทพ.สุรินทร์ สูอำพันธ์ รองประธานกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลทันตกรรมคณะทันตแพทย์มหิดล เลือกคณะกรรมการที่มาจากเขตเลือกตั้งอีก 8 คน จากเขตต่าง ๆ ประกอบด้วย
1. พลตำรวจโท วรวิทย์ ลิปิพันธ์ รองประธานกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจแห่งชาติ จำกัด เขต กทม. พื้นที่ 1
2. ดร.วันทนา บ่อโพธิ์ กรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์บริษัท ทีโอที จำกัด เขต กทม. พื้นที่2
3.นายประกิต ประทุมกาญจน์ รองประธานกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์บริษัทธนบุรีประกอบรถยนต์ จำกัด เขตพื้นที่ภาคตะวันออก
4.นายนรงค์ บัวชุม ประธานกรรมการ
สหกรณ์ออมทรัพย์ครูราชบุรี จำกัด เขตพื้นที่ตะวันตก
5.ดร.เอนก ล่วงลือ ประธานกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนนทบุรี จำกัด เขตพื้นที่ภาคกลาง
6.นายภควัฒน์ พงษ์เดชวัฒนาพร ประธานกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูปัตตานี จำกัด เขตพื้นที่ภาคใต้ 7.นายชัยนาม นันทกาณุวัฒน์ ประธานกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ ครูอุตรดิตถ์ จำกัด เขตพื้นที่ภาคเหนือ 8.ดร.ธานี ก่อบุญ ประธานกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสกลนคร จำกัด เขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ