“เกษตรฯ.” ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ พลิกโฉมหน้าภาคตะวันออก มอบ AIC 5 จังหวัดจันทบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว
เดินหน้าสร้างอุตสาหกรรมเกษตรอาหารโมเดลซิลิคอนวัลเลย์เน้นเทคโนโลยีเกษตรพร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ “กัญซ่า” และโดรนเกษตรเมดอินไทยแลนด์
พร้อมเร่งวางโรดแม็ปกลยุทธ์ โลจิสติกส์เกษตรระบบรางเปิดประตูตะวันออกสู่อินโดจีนและตลาดโลก
วันที่ 17 มีนาคม64 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC)เปิดเผยว่าในการขับเคลื่อนศูนย์นวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยี (AIC) สัญจร พื้นที่เขตตรวจราชการที่ 9 ใน 5 จังหวัด ประกอบด้วย จันทบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรีและ สระแก้ว ที่มี นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ผศ.ไวกูณฑ์ ทองอร่าม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ผศ.ดร.วิชุดา จันทร์ข้างแรม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตสระแก้ว นายชรัตน์ เนรัญชร ตัวแทน Young Smart Farmer ผลไม้ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ตัวแทนภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคเกษตรกร เข้าร่วมในการประชุมที่มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีโดยมีการจัดนิทรรศการแสดงเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมของศูนย์ AIC ทั้ง 5 จังหวัด เพื่อที่จะได้นำไปพิจารณาต่อยอดและทำ Business matching การสนับสนุนทุนวิจัยและนำเข้าสู่ Innovation Catalog ที่จะใช้ขับเคลื่อนการพัฒนาการเกษตรต่อไป
ทั้งนี้ในส่วนการดำเนินงานของศูนย์ AIC ทุกแห่งที่ได้พัฒนาและนำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีเกษตรที่โดดเด่น เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาภาคการเกษตรในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาการผลิตอากาศยานไร้คนขับของศูนย์ AIC จันทบุรีที่ผลิตขึ้นใช้เองภายในประเทศ (Made In Thailand) เพื่อใช้ในการเกษตรกรรมแม่นยำ (Precious Agriculture) และสนับสนุนการเป็น Silicon valley เมืองหลวงแห่งผลไม้ การแปรรูปผลไม้ของมหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก โมเดลการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสู่ฟาร์มเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ของศูนย์AICนครนายก การพัฒนาระบบฟาร์มอัจฉริยะ(Smart Farming)ของวิทยาลัยชุมชนซึ่งเป็นศูนย์ AIC
ขณะที่จังหวัดตราด การพัฒนาพันธุ์กุ้งก้ามกรามกุ้งขาวของมหาวิทยาลัยบูรพาตอบโจทย์ประมงเพาะเลี้ยงและอุตสาหกรรมอาหารการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “กัญซ่า” เครื่องดื่มแนวใหม่ (functional drink) จากกัญชาของศูนย์ AIC ปราจีนบุรี โดยประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาล เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ต่อไปเพื่อชูจุดเด่น “ปราจีนบุรีเมืองแห่งสมุนไพร”โดยได้มอบนโยบายการขับเคลื่อนกระทรวงภายใต้กรอบ “5 ยุทธศาสตร์ เฉลิมชัย” 1.ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต 2. ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 3.ยุทธศาสตร์ “3’s” (Safety-Security-Sustainability) เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคง และเกษตรยั่งยืน 4.ยุทธศาสตร์การบริหารเชิงรุกแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะโมเดล “เกษตร-พาณิชย์ทันสมัย” และ 5.ยุทธศาสตร์เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวทางศาสตร์พระราชาเป็นหลักด้วย
นอกจากนั้นนายอลงกรณ์ยังกล่าวความก้าวหน้าของคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.) ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงและตอบโจทย์ตลอดห่วงโซ่ของผลผลิตการเกษตร ด้วยว่าขณะนี้ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร (Food & Agro industry promotion subcommittee) และคณะอนุกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระดับภาค5ภาคภายใต้2โครงการหลักคือ 1) โครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารใน18กลุ่มจังหวัดเพื่อกระจายการลงทุนอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารเพิ่มการแปรรูปสร้างมูลค่าสินค้าเกษตรครอบคลุมทุกจังหวัดทุกกลุ่มจังหวัดตามศักยภาพและอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ และ 2) โครงการเกษตรอัจฉริยะเกษตรแม่นยำ2ล้านไร่โดยใช้เทคโนโลยีและเกษตรแปลงใหญ่เป็นแกนขับเคลื่อนร่วมกับกิจการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่(Big Brothers) โดยในเขตกลุ่มจังหวัดดังกล่าวมีศักยภาพสูงมากในการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรผลไม้ สมุนไพร ประมง พืชอนาคต กัญชงกัญชา เครื่องจักรกลเกษตรเป็นต้นโดยมีต้นแบบจากเขตอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปครบวงจรในจังหวัดชลบุรีและในเขตระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (Eastern Economic Corridor:EEC) พร้อมมอบหมายให้คณะ กรกอ.ภาคตะวันออกขับเคลื่อนโครงการสร้างนิคมอุตสาหกรรม เขตผู้ประกอบการอุตสาหกรรมหรือเขตชุมชนอุตสาหกรรมนับเป็นเขตอุตสาหกรรมอาหารเป็นโซนที่ 9 ซึ่ง AICจั นทบุรีสนใจที่จะพัฒนาซิลิคอนวัลเลย์ (SILICON VALLEY) ผลไม้ภายใต้คอนเซ็ปท์ “มหานครผลไม้” ในรูปแบบเดียวกับที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดดำเนินการสร้าง SILICON VALEY แห่งเทคโนโลยีในแคลิฟอเนียสหรัฐอเมริกา
อย่างไรก็ตามการพัฒนากลุ่มจังหวัดดังกล่าวจะต้องผนึกศักยภาพกับทาง EEC 3 จังหวัด +5 จังหวัดตามแผนพัฒนาเชื่อมโยงภาคการเกษตรโดยใช้ศักยภพ การเป็นประตูเศรษฐกิจสู่ตลาดอินโดจีนได้แก่กัมพูชา ลาวและ เวียดนามที่มีตลาดรองรับ ด้วยประชากรกว่า 120 ล้านคนซึ่งอยู่ติดพรมแดนภาคตะวันออกคือจันทบุรี ตราดและสระแก้วพร้อมทั้งเชื่อมภาคตะวันออก-เชื่อมโลกด้วยเส้นทางโลจิสติกส์การขนส่งสินค้าไปทุกมณฑลในจีนและผ่านจีนสู่ภูมิภาคเอเซีย, ยุโรป และรัสเซียด้วยระบบรางโดยผ่านด่านโมฮ่านเส้นทาง ไทย-ลาว-จีน และผ่านด่านผิงเสียงบนเส้นทาง ไทย-ลาว-เวียดนาม ซึ่งจะเป็นระบบการขนส่งใหม่รับมือมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิดในประเทศที่ต้องขนส่งสินค้าผ่านและในประเทศคู่ไปด้วยเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาภาคตะวันออกสู่มิติใหม่ๆ อย่างเต็มรูปแบบ