จิตอาสาพระราชทานอำเภอเบญจลักษ์ ทำแนวป้องกันไฟป่า ในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านโนนสำโรง

จิตอาสาพระราชทานอำเภอเบญจลักษ์ ทำแนวป้องกันไฟป่า ในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านโนนสำโรง

 

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564 ที่ป่าชุมชนบ้านโนนสำโรง หมู่ที่ 5 ต.ท่าคล้อ อ.เบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ นายธรรมศักดิ์ สว่างวงษ์ รักษาราชการแทนนายอำเภอเบญจลักษ์/ ผู้อำนวยการศูนย์จิตอาสาพระราชทานอำเภอเบญจลักษ์ ได้เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมจิตอาสา” ทำแนวป้องกันไฟป่า”อำเภอเบญจลักษ์ โดยมีนายทิวา รุ้งแก้ว ประธานชมรมคนรักในหลวงจังหวัดศรีสะเกษ นายสมาน มังษชาติ ปลัดอำเภอเบญจลักษ์ จิตอาสาพระราชทาน 904 นางจุฬาลัก์ กันยามัย ปลัด อบต.ท่าคล้อ นายประดิษฐ์ ธรรมคง ผอ..รพ.สต.ท่าคล้อ ร.ต.นพพร คิสาลัง ผช.น.ฝกร.ฉก.ทพ.3 และนายจำเนียร โชคภัคดี กำนันตำบลท่าคล้อ นำจิตอาสาพระราชทานอำเภอเบญจลักษ์จำนวน 150 คน ร่วกันทำแนวป้องกันไฟป่า ป่าชุมชนบ้านโนนสำโรง และได้รับความเมตตาจากท่านเจ้าอาวาสวัดบ้านสำโรง ทำการบวชต้นไม้ให้ด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการอนุรักษ์ป่าให้ยังคงเกิดประโยชน์กับประชาชนในปัจจุบันและลูกหลานในอนาคตรวมทั้งเป็นการสร้างจิตสำนึกให้ชุมชนมีความรัก และเกิดความหวงแหนป่าชุมชนของตนเอง เพื่อตัดช่วงความต่อเนื่องของเชื้อเพลิง เป็นการป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามเข้าไปในพื้นที่อื่น หรือป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามออกมาจากพื้นที่ที่กำหนด ในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม ต่อไป


นายธรรมศักดิ์ สว่างวงษ์ รักษาราชการแทนนายอำเภอเบญจลักษ์/ ผู้อำนวยการ ศูนย์จิตอาสาพระราชทานอำเภอเบญจ กล่าวว่า ป่าชุมชนบ้านโนนสำโรง/ หมู่ที่ 5 ต.ท่าคล้อ อ.เบญจลักษ์มีพื้นที่ 57 ไร่ เป็นป่าช้า ที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์ ในการทำมาปนกิจ/ ต่อมาเมื่อปี2516 ได้มีการสร้างวัดขึ้นในหมู่บ้าน จึงเลิกใช้ประโยชน์ทางด้านฌาปนกิจตั้งแต่นั้นมา และถูกปล่อย ให้เป็นที่รุกร้างว่างเปล่า ไม่ได้ทำประโยชน์กลายเป็นป่าเสื่อมโทรม ต่อมาเมื่อปี 2555 ได้มีการเข้ามา บำรุงรักษาป่าโดยการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ โดยการขับเคลื่อนของนายทิวา รุ้งแก้ว ประธานชมรมคนรักในหลวงจังหวัดศรีสะเกษ และภาคีเครือข่ายในจังหวัดศรีสะเกษ ธนาคารการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาเบญจลักษ์ และชาวบ้านในชุมชนต่อเนื่องเป็นต้นมา ซึ่งพื้นที่ป่าดังกล่าว จึงกลายเป็นป่าไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ โดยมีชาวบ้านโนนสำโรงและชุมชนโดยรอบได้ใช้ประโยชน์จากป่าผืนนี้มาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการเก็บเห็ดป่า การเก็บพืชสมุนไพร ผักพื้นบ้าน และไข่มดแดง รวมถึงใช้เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติของนักเรียนในโรงเรียน

ดังนั้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ป่าให้ยังคงเกิดประโยชน์กับประชาชนในปัจจุบันและลูกหลานในอนาคตรวมทั้งเป็นการสร้างจิตสำนึกให้ชุมชนมีความรัก และเกิดความหวงแหนป่าชุมชนของตนเอง ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริร่วมกับผู้นำชุมชน ชาวบ้าน และคณะกรรมการป่าชุมชน ได้ตระหนักถึงปัญหาในเรื่องของการเกิดไฟป่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ จึงได้จัดทำกิจกรรม ทำแนวป้องกันไฟป่า ซึ่งเป็นสิ่งกีดขวางตามธรรมชาติหรือที่มนุษย์สร้างขึ้น/เพื่อหยุดยั้งไฟป่า และเป็นเส้นทางตรวจไฟป่า หรือเป็นแนวตั้งรับในการดับไฟป่า โดยจะกำจัดเชื้อเพลิงที่จะทำให้เกิดไฟป่าออกไป เช่น ใบไม้หญ้า เพื่อตัดช่วงความต่อเนื่องของเชื้อเพลิง เป็นการป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามเข้าไปในพื้นที่อื่น หรือป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามออกมาจากพื้นที่ที่กำหนด ในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม ต่อไป

ข่าว/ภาพ…… บุญทัน ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ